กรณีศึกษา » กรณีศึกษา Cystitis by เจนนี่

กรณีศึกษา Cystitis by เจนนี่

26 พฤษภาคม 2015
19670   0

ชื่อนักศึกษา  นาย-                                   วันที่  31  มีนาคม  2558

ผู้ให้ข้อมูล  ผู้รับบริการ

ข้อมูลทั่วไป    ผู้ป่วยหญิงไทย   อายุ   40    ปี

สถานภาพสมรส     สมรส    อาชีพ   เกษตรกรรม       รายได้ครอบครัว/เดือน    15,000  บาท

แหล่งประโยชน์  บัตรประกันสุขภาพประเภท  เสียค่าธรรมเนียม

 

การประเมินภาวะสุขภาพ

Subjective

1.อาการสำคัญ

ปัสสาวะแสบขัด เป็นมา 2 วัน

 

2.ประวัติการเจ็บป่วยในปัจจุบัน

2 วัน ก่อนมา มีอาการปวดหน่วงท้องน้อย ปัสสาวะกะปริดกะปรอย  ปัสสาวะแสบขัดตอนถ่ายสุด ปัสสาวะไม่มีเลือดปน ไม่มีไข้ ซื้อยาหญ้าหนวดแมวมารับประทานเพื่อขับปัสสาวะ อาการไม่ดีขึ้น จึงมา รพ.

 

3.ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต

         มีเจ็บป่วยเล็กๆน้อย ส่วนใหญ่จะเป็นเป็นไข้ ปวด ศีรษะ มีน้ำมูกใส ซื้อยามารับประทานเอง  จะมีปัญหาบ้างเรื่องกระเพาะปัสสาวะอักเสบ  แต่ไม่เคยมีปัสสาวะ เป็นลักษณะคล้ายกรวดทรายปนออกมา

ปฏิเสธการเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงหรือการเจ็บป่วยหนักที่ต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล   ปฏิเสธการผ่าตัด ไม่มีประวัติ แพ้ยา แพ้อาหาร

1

 

  1. ประวัติส่วนบุคคลและจิตสังคม (personal and Psycho social history)

      อุปนิสัย  :       รื่นเริง  สนุกสนาน   ใจเย็น

อารมณ์   :     อารมณ์ดี ไม่ค่อยหงุดหงิด ไม่เคยปัญหาทะเลาะเบาะแว้งกับใคร

การพักผ่อน :  นอนหลับสบายทุกคืน  เข้านอนเวลาประมาณ 23-22.00 น.  ตื่นนอนประมาณ

04.30  น.

      การรับประทานอาหาร :  ส่วนใหญ่ชอบรับประทานอาหารพื้นบ้านทั่วไป   ส่วนใหญ่

รับประทานอาหารจืด เนื่องจากปู่และย่าป่วยเป็นโรคเบาหวาน ส่วนมากประกอบ

อาหารรับประทานเอง   รับประทานอาหารตรงเวลา

         การออกกำลังกาย : ไม่เป็นรูปแบบที่แน่นอน  ส่วนใหญ่จะทำงานบ้าน ทำนา รับจ้าง

ทั่วไป  และดูแลปู่และย่า ที่มีโรคประจำตัวทั้งคู่

   อาบน้ำ :  วันละ 1 ครั้ง  ตอนเย็น

        การขับถ่าย  ปัสสาวะวันละ  3 – 5   ครั้ง ผู้ป่วยชอบอั้นปัสสาวะ อุจจาระ  1- 2 วัน/ ครั้ง  มีท้องผูกเป็นและแสบร้อนท้องเป็นบางครั้ง ผู้ป่วยชอบใช้ไม้พันสำลีแคะหูเป็นประจำ

ยา  :  ให้ประวัติเมื่อมีการเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆ จะเข้ารับการรักษาที่สถานีอนามัยใกล้บ้าน

งานอดิเรก                :  เมื่อมีเวลาว่างจะดูโทรทัศน์

กิจกรรมทางศาสนา  :  ร่วมทำบุญในช่วงเทศกาลงานบุญต่างๆ

การศึกษา  :  จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ประวัติทางเพศ  :  ไม่เคยเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

 

 

 ความเชื่อเกี่ยวกับการรักษาและการเจ็บป่วย :  มีความเชื่อทั้งทางด้านการรักษาแพทย์แผน

โบราณ บางครั้งใช้สมุนไพรในการรักษาโรค   และแพทย์แผนปัจจุบัน  เวลา

เจ็บป่วยจะไปหาหมอที่คลินิก  หรือ โรงพยาบาล

          ความสัมพันธ์ในครอบครัวและสังคม  เป็นที่รักของครอบครัวและญาติพี่น้อง  ช่วยเหลืองาน

ในสังคมเป็นอย่างดี

          สบร้อนท้องเป็นลานเป็นโรคเบาหวาน และย่างรับระทานงแคะออกให้ หลังจากนั้น 1 วันการเผชิญความเครียด  มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเจ็บป่วย เนื่องจากไม่เคยเจ็บป่วยเจ็บ

มาก่อน กลัวจะหูหนวก  ลดความวิตกกังวลโดยการใช้ การพูดคุยกับสามี ญาติพี่

น้องและเพื่อนบ้าน เพื่อขอคำปรึกษา และบางครั้งก็เครียดเรื่องการดูแลปู่กับย่าที่

ชรา และมีโรคประจำตัว

 

  1. การทบทวนประวัติ (Review of system )

ลักษณะทั่วไป:  ไม่มีเบื่ออาหาร น้ำหนักไม่ลดหรือเพิ่มจากเดิม นอนไม่ค่อยหลับ ไม่มีไข้            ผิวหนัง    : ผิวคล้ำ  ไม่มีบาดแผล ไม่มีจ้ำเลือด ไม่มีรอยแผลเป็น ไม่มีก้อน  มีความยืดหยุ่นดี

ไม่บวม  เล็บและขนปกติ

         ศีรษะ            : รูปทรงโครงสร้างของศีรษะและใบหน้าปกติ  สมมาตรดี ไม่มีก้อน  ไม่มีร่องรอย

บาดเจ็บ  ไม่พบบาดแผล  ผมดำ

                          ตา                 : ตามองเห็นชัดเจนทั้งสองข้าง  ไม่เคยเป็นโรคตาแดง หรือโรคเกี่ยวกับตา

          หู   : ใบหูสมมาตรทั้งสองข้าง ไม่เคยได้รับอุบัติเหตุทางหู ไม่บวม ดึงใบหูไม่เจ็บ ไม่มี

สิ่งคัดหลั่งออกจากหู ไม่เคยเป็นโรคหูน้ำหนวก หูข้างขวาได้ยินไม่ค่อยชัดเท่าที่ควร  หูข้างซ้ายได้ยินชัดเจน

                          คอ                : ไม่มีต่อมน้ำเหลืองที่คอโต  ไม่มีก้อนในลำคอ

          จมูก              :  การได้กลิ่นปกติ  ไม่มีเลือดกำเดาออก  ไม่มีน้ำมูก  รูปร่างปกติ

          ปากและฟัน : ไม่มีฟันผุ  ไม่เคยมีเลือดออกตามไรฟัน

ระบบทางเดินหายใจ : การหายใจปกติ ไม่หอบเหนื่อย

          ระบบไหลเวียนเลือด : ไม่มีอาการตัวเขียว เล็บเขียว หรือบวม  ไม่เจ็บแน่นหน้าอก

          ระบบทางเดินอาหาร  :  ไม่ปวดท้อง  ไม่มีถ่ายดำ  ไม่มีกดเจ็บ  ไม่มีก้อน ไม่มีบาดแผล

          ระบบทางเดินปัสสาวะ: ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม ไม่มีเลือดปน

          ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ไม่เคยมีกระดูกหัก หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรงไม่มีปวดบวม

ตามข้อไม่เคยประสบอุบัติเหตุจนทำให้ข้อเคลื่อนหรือกระดูกหัก

          ระบบประสาทและทางจิต :  ไม่มีประวัติแขนขาอ่อนแรง ไม่มีอาการชาตามใบหน้าหรือแขน

ขา  ไม่มีอาการชักไม่มีอาการทางระบบประสาท

 

 

 

 

Objective

  1. การตรวจร่างกาย (physical Examination )

vital  Sign  :        T. 37.2 C  PR  86 /min  RR  22 /min, BP=110/65 mmHg.

Nutrition  status : BW  55 kg.  BH  158 cm.  BMI  22.04

General  appearance  :  A Thai female ,   look  weak.

Skin  :  normal  color, no  rash , no lesion  

Head  :  normal  shape  and  size  no  mass

Eyes  :  normal  vision  conjunctiva  not  pale, No  scleral  icterus. Pupils round and equal

R = L. 3  mm. React  to light.

Ears  :  canal  normal shape  and  size,  no discharge

Nose  :  septum  midline   external  configuration  normal  no  discharge

Mouth  :  mucosa  membrane  pink , tonsil  not  enlarge , Pharynx  not  injected

Neck  :  Trachea  not  deviated ,Thyroid  not  enlarge,   not  stiff  neck, Lymph nodes  no palpable

Chest   :  lung  clear  normal  breath  sound

Heart    ;  heart  sound  normal  no  murmur , PMI  at 5th ICS

Musculoskeletal  no  joint  deformities

Neurological  :  good  consciousness, muscle  power  good

Abdomen : mild  tenderness  at  LLQ , no  guarding & rigidity 

Anus and Rectum :  ไม่ได้ตรวจ

 

  1. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ / การตรวจพิเศษ ( Laboratory data )  

ผลตรวจ  Urine  Analysis

–   WBC      10-20  cells/HPF

–   Squamous  epithelial  cell   1-2   cells/HPF

–   Bacteria     numerous

 

Assessment

 

  1. สรุปปัญหา ( problem list  )
  2. ปัสสาวะบ่อย แสบขัด
  3. ปวดท้องน้อย

 

การวินิจฉัยแยกโรค (Differential Diagnosis)

จากอาการ อาการแสดง การตรวจร่างกายและการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ทำให้คิดถึงโรค ต่อไปนี้ ซึ่งจำเป็นต้องวินิจฉัยจำแนก (Differential Diagnosis) ได้แก่

  1. Cystitis (กระเพาะปัสสาวะอักเสบ)

เกิดจากเชื้อแบคทีเรียโดยเข้าไปทางท่อปัสสาวะ  พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายเนื่องจากท่อปัสสาวะสั้นและอยู่ใกล้ทวารหนัก  อาการมีปัสสาวะกะปริบกะปรอย  ปวดขัดหรือแสบร้อนเวลาถ่ายปัสสาวะ  อาจมีอาการปวดท้องน้อยร่วมด้วย  ปัสสาวะกลิ่นเหม็น  สีใส บางครั้งอาจขุ่น

พยาธิสรีรวิทยา

เมื่อเกิดการติดเชื้อขึ้น  จะมีการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะเฉพาะชั้น  มิวโคซา  และสับมิวโคซา เท่านั้น  เนื้อเยื่อชั้นมิวโคซาจะบวมแดงทั่วไปหรืบวมเป็นหย่อมๆ  บางแห่งอาจมีเลือดออกชั้นมิวโคซาและสับมิวโคซา  เนื่องจากการฉีกขาดของเนื้อเยื่อที่ขยายตัวมากเมื่อมีการบวมถ้ามีการอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะส่วนล่างร่วมด้วย  และไม่ได้รับการบำบัด  จะทำให้มีการลุกลามไปถึงกล้ามเนื้อรอบๆกระเพาะปัสสาวะด้านนอก  มีพังผืดเกิดขึ้น  ทำให้กระเพาะปัสสาวะหดเล็กลง  ความจุของกระเพาะปัสสาวะก็จะเล็กลงด้วย

 

อาการและอาการแสดง

ประมาณร้อยละ  10  ไม่มีอาการแสดง  ส่วนมากจะมีอาการปัสสาวะลำบาก  ปัสสาวะแสบขัด  ปัสสาวะบ่อยแต่ออกกะปริดกะปรอย  ปวดท้องน้อย  สีของปัสสาวะขุ่น  มีเลือดปน  มีกลิ่นเหม็น  ผู้ป่วยอาจมีไข้หรือไม่มีไข้ก็ได้

ผู้ป่วยรายนี้มาด้วยอาการปัสสาวะ  กะปริดกะปรอย แต่ไม่มีอาการปัสสาวะสะดุด มีอาการปวดแสบเวลาสุด  ไม่มีไข้  มีอาการปวดท้องน้อยเล็กน้อยผล U/A  WBC = 10-20  cells/HPF จึงน่าจะเป็น    Cystitis (กระเพาะปัสสาวะอักเสบ) มากที่สุด

 

  1. 2. Urethral stricture  (ท่อปัสสาวะตีบ)

มีสาเหตุจากการได้รับบาดเจ็บที่ท่อปัสสาวะ  หรือจากการติดเชื้อ  ทำให้ท่อปัสสาวะมีการอักเสบและกลายเป็นแผลเป็น  จนทำให้ท่อปัสสาวะตีบ  ผู้ป่วยมีอาการปัสสาวะลำบาก  ออกทีละน้อย  ออกเป็นหยด  หรือถ่ายไม่ออกเลย  ส่วนมากเกิดในผู้ชาย

ผู้ป่วยรายนี้มาด้วยอาการปัสสาวะบ่อย  กระปริดกระปรอย  ปวดแสบเวลาสุด  จึงไม่นึกถึงโรคนี้

 

  1. Vesicular stone ( นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ )

พบบ่อยในคนทุกอายุ จำแนกเป็นสาเหตุภายในและภายนอกร่างกาย

  1. สาเหตุภายในได้แก่  พันธุกรรม  ร่างกายสร้างกรดยูริคมากกว่าปกติ  หรือบริโภคอาหารที่มี

พิวรีนมาก  ภาวะที่ร่างกายขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะมากผิดปกติ  โรคเก๊าท์  โรคที่เกิดจากการอักเสบติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ   ภาวะที่ร่างกายไดรับเคมีบำบัด

  1. สาเหตุภายนอกได้แก่  อาหารที่ขาดสารโปรตีน  ขาดตัวยับยั้งการเกิดนิ่วเช่น  ซิเตรท  ไพโรฟอสเฟต   การดื่มน้ำน้อย

อาการ  

ปัสสาวะครั้งแรกพุ่งแรง  ยังไม่ทันสุด  สายปัสสาวะก็หยุดชะงักทันที  มีอาการปวดร้าวไปที่หัว-

เหน่าอย่างมาก  ปวดร้าวไปยังเรคตัม  ฝีเย็บ  นอกจากนี้ยังมีอาการปัสสาวะบ่อยเพราะมีการรบกวนโดยก้อนนิ่ว

ผู้ป่วยรายนี้มาด้วยอาการปัสสาวะบ่อย  กระปริดกระปรอย แต่ไม่มีอาการปัสสาวะสะดุด ปวดแสบเวลาสุด  จึงไม่นึกถึงโรคนี้

 

  1. Pelvic Inflammatory  Disease ( PID )

คือการอักเสบติดเชื้อของเยื่อบุโพรงมดลูก  ท่อนำไข่พารามีเตรียม เยื่อบุช่องท้องเส้นอุ้งเชิงกราน  และอวัยวะที่ติดอยู่กับอวัยวะสืบพันธุ์ภายใน  ตลอดจนลำไส้ใหญ่ส่วน  rectum, cecum,sigmoid  พบได้ในระยะเฉียบพลันและเรื้อรัง

สาเหตุ  ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผ่านช่องคลอด  เข้าไปทางปากมดลูกขึ้นไปในโพรงมดลูก  ทำให้มดลูกอักเสบและลุกลามไปในท่อรังไข่ ทำให้กลายเป็นปีกมดลูกอักเสบ ส่วนใหญ่พบในหญิงวัยเจริญพันธุ์  15 – 45  ปี

อาการและอาการแสดง  ในรายที่เป็นเฉียบพลัน  จะมีอาการไข้สูงหนาวสั่น  ปวดท้องน้อยเฉียบพลัน  เจ็บบริเวณปีกมดลูกทั้งสองข้าง  แต่อาจเป็นข้างเดียวก็ได้  จะมีอาการปวดมากเวลาเคลื่อนไหว  ผู้ป่วยมักจะนอนในท่าชันเข่า  มักมีอาการคลื่นไส้อาเจียน  และท้องเสียร่วมด้วย  อาจมีปัสสาวะขัด  ตกขาวมีกลิ่นเหม็น  และมีเลือดปนหนองออกทางช่องคลอดได้  กรณีเป็นเรื้อรัง  อาจมีอาการปวดหน่วงท้องน้อย  เป็นๆหายๆเรื้อรัง  อาจมีไข้ต่ำๆหรือไม่มีไข้ได้

สำหรับผู้ป่วยรายนี้ มาด้วยอาการปวดท้องน้อยด้านเดียวคือด้านซ้าย  ปัสสาวะแสบขัด  ไม่มีไข้  ไม่มีคลื่นไส้อาเจียน  และไม่มีตกขาว  จึงไม่น่าจะเป็นโรคนี้

 

 

Impression/ Diagnosis

  Cystitis

 

Discussion

1.ปัสสาวะบ่อย  แสบขัด ปวดท้องน้อย

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ส่วนมากเกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดเดียวกับที่อยู่ในลำไส้ของคน
เราโดยเข้าไปทางท่อปัสสาวะ โรคนี้พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายหลายเท่า เนื่องจากท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้น และอยู่ใกล้ทวารหนักซึ่งเป็นแหล่งที่มีเชื้อโรคมาก เชื้อโรคจึงเข้าทางท่อปัสสาวะของผู้หญิงได้ง่ายกว่าผู้ชาย
ผู้หญิงแทบทุกคนมีโอกาสเป็นโรคนี้ ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยสูงอายุ พบมากในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์(โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 2-3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์) หรือผู้หญิงที่ชอบอั้นปัสสาวะนาน ๆอาจพบเป็นโรคแทรกของผู้ป่วยเบาหวาน นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมากโต หรือพบภายหลังการสวนปัสสาวะ ผู้หญิงที่แต่งงานใหม่ หรือหลังร่วมเพศ อาจมีอาการขัดเบาแบบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ แพทย์เรียกว่า โรค ฮันนีมูน (Honeymoon’s cystitis) สาเหตุเกิดจากการฟกช้ำจากการร่วมเพศ แล้วทำให้มีอาการอักเสบของท่อปัสาวะ ผู้ชายมีโอกาสเป็นโรคนี้น้อยมาก ถ้าพบมักมีความผิดปกติอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น ต่อมลูกหมากโตหรือมีก้อนเนื้องอกในกระเพาะปัสสาวะ หรือมีความผิดปกติทาง โครงสร้างของทางเดินปัสสาวะ

กระเพาะปัสสาวะอักเสบเป็นได้ทุกวัย ส่วนใหญ่จะเกิดเฉพาะเพศหญิง เกิดจากการกลั้นปัสสาวะ ปวดปัสสาวะแล้วไม่สามารถเข้าห้องน้ำได้ ทำให้แบคทีเรียเอาชนะกลไกการป้องกันเชื้อโรคบริเวณเยื่อบุผิวของกระเพาะปัสสาวะ คือการปริแตกของสารที่ชื่อว่า Glycoaminoglycan (GAG ) และเชื้อส่วนใหญ่ คือเชื้อ E.coli ชนิดเดียวกับที่พบในระบบทางเดินอาหาร  เดินทางจากทวารหนักเข้าสู่ท่อปัสสาวะ ท่อปัสสาวะในผู้หญิงมีความยาวเพียง 4 ซม. จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมจึงไม่พบโรคนี้ในเพศชาย หรืออาจพบได้ในคนที่มีลักษณะนิสัยชอบดื่มน้ำน้อย ทำให้ระยะเวลาในการปวดปัสสาวะห่างขึ้น แบคทีเรียจึงมีเวลาในการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนขึ้น มีมากพอที่จะก่อโรคได้ ทำให้เกิดอาการแสบขัดในเวลาปัสสาวะ และมีการปัสสาวะบ่อยมากกว่าปกติ ซึ่งเป็นกลไกธรรมชาติของร่างกายในการขับเอาเชื้อโรคที่มีอยู่ในระบบทางเดินปัสสาวะ

 

Plan

  1. การวางแผนเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรค ( Diagnostic plan )

  1. การวางแผนเพื่อการรักษา ( Therapeutic plan )

–  Norfloxacin  400  mg.  1×2  จำนวน  3 วัน  เพื่อรักษาการติดเชื้อ  ใช้เวลาสั้นเพื่อไม่ให้ยากด normal   Flora  ของผู้ป่วย

–  Paracetamol  500 mg  1 tab. prn.

– Hyoscine 1×3 ๏ tid pc.

  1. การวางแผนเพื่อให้ความรู้และข้อมูลในการดูแลสุขภาพ ( Educational plan )

–     แนะนำให้ดื่มน้ำต้มสุก  > 3000 cc/day

–    ให้ความรู้เรื่องโรคและอาการแสดงของโรค

–     ควรถ่ายปัสสาวะทันทีเมื่อปวด  เพื่อจะได้มีแบคทีเรียในปัสสาวะลดลง

–     หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำชา  กาแฟ  โกโก้  น้ำอัดลม  เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์  เพราะสารในเครื่อง

ดื่มเหล่านี้จะกระคุ้นให้ปัสสาวะบ่อยขึ้น

  • แนะนำวิธีป้องกันไม่ให้เป็นซ้ำอีกโดยการทำความสะอาดก้นหลังถ่ายอุจจาระควรเช็ดด้านหน้าไปด้านหลัง ไม่ใช้  bubble  bath  ให้ระคายเคือง    vagina  และฝีเย็บ  หลีกเลี่ยงการสวมใส่ชุดชั้นในที่ทำจากไนล่อน  เพื่อไม่ให้ก้น อบ  และเกิดความชื้น  ควรสวมใส่เสื้อผ้าหลวมๆ

 

4. การวางแผนเพื่อติดตามการรักษาและการส่งต่อ ( Follow up /  Referral  plan )

นัด  Follow  up  3  วัน  เพื่อติดตามการรักษา  และการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย

 

 

การค้นคว้ายา

Norfloxacin

 

รูปแบบ                                  ยาเม็ดขนาด  100,200  และ  400  มก.

 

กลไกการออกฤทธิ์              ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย  โดยยาจะยับยั้งเอนไซม์  DNA  gyrase  ทำให้มีผลต่อการแบ่งตัวของ  DNA  ยามีผลทำลายเชื้อในทางเดินปัสสาวะ  และมีผลทำลายเชื้อแกรมบวก  เช่น  เชื้อ  Mycoplasma,  legionella  และ  Mycrobacterium  แต่ไม่ค่อยได้ผลในการทำลายเชื้อ  Pseudomonas  ยากลุ่มนี้ดูดซึมได้ดีเมื่อให้โดยวิธีรับประทาน  ยาสามารถกระจายได้ดีในเนื้อเยื่อต่างๆ  ทั่วร่างกาย  ยาบางส่วนถูกขับออกทางไต  ในสภาพที่ยังมีฤทธิ์  แต่บางส่วนจะถูกทำลายโดยตับ

ข้อบ่งใช้                               1.รักษาโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ

2.รักษาโรคหนองในและแผลริมอ่อน

3.รักษาโรคติดเชื้อในทางเดินอาหาร  เช่น  อุจจาระร่วง

 

ขนาดและวิธีใช้                   1.รักษาโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะชนิดเฉียบพลัน  และไม่มีภาวะแทรกซ้อน  ให้ขนาด  200 –  400  มก. วันละ  2  ครั้ง  เป็นเวลา  7 – 10  วัน

2.การรักษาโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะชนิดเรื้อรัง  หรือเป็นๆ หายๆ  หรือมีภาวะแทรกซ้อน  ให้ขนาด  400  มก.  วันละ  2  ครั้ง  เป็นเวลา  10 – 21  วัน  ยานี้ควรให้  1  ชั่วโมง  ก่อนอาหาร  หรือ  2  ชั่วโมงหลังอาหาร  และควรลดขนาดยาลงครึ่งหนึ่งในผู้ป่วยที่เป็นโรคไตอย่างรุนแรง

3.การรักษาโรคหนองในชนิดไม่มีภาวะแทรกซ้อนและแผลริมอ่อน  ให้ขนาด  800  มก. เพียงครั้งเดียว

4.การรักษาโรคติดเชื้อทางเดินอาหาร  ให้ขนาด  400  มก.  วันละ  2  ครั้ง  เป็นเวลา  3 – 5  วัน

 

ฤทธิ์ข้างเคียงและอาการไม่พึงประสงค์         กล้ามเนื้ออ่อนแรง  คลื่นไส้  อาเจียน  ปวดศีรษะ  เวียนศีรษะ  และทำให้เกิดความผิดปกติในการเจริญเติบโตของกระดูก  ดังนั้น  จึงไม่ควรใช้ในเด็กที่ยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่

 

ข้อควรระวัง                         ไม่ควรใช้ยานี้กับเด็ก  หญิงมีครรภ์  หญิงให้นมบุตร  ผู้ป่วยโรคลมชัก  ผู้ป่วยโรคตับและผู้ป่วยโรคไต

 

ปฏิกิริยาต่อกันระหว่างยา                

1.การให้ร่วมกับยาลดกรดในกระเพาะอาหาร  จะทำให้การดูดซึมของ  Norfloxacin ลดลง

2.การให้  probenecid  ร่วมกับ  Norfloxacin  จะทำให้การขจัดยา  Norfloxacin  ลดลงครึ่งหนึ่ง

3.มีรายงานว่าการให้  Theophyline, Phenytoin  ร่วมกับ  Norfloxacin  จะทำให้ความเข้มข้นของ  Theophyline, Phenytoin  ในเลือดสูงขึ้น  จึงควรระวังเมื่อให้ร่วมกัน

 

Paracetamol

 

รูปแบบ                                  1. ยาเม็ด  325  มก., 500 มก.

  1. ยาน้ำเชื่อม 120 มก./ 5 มล.
  2. ยาฉีด 300  มก. / 2 มล.

 

การออกฤทธิ์                         ตำแหน่งและกลไกการออกฤทธิ์ระงับปวดยังไม่ทราบแน่ชัด  แต่ลดไข้โดยไปออกฤทธิ์โดยตรงต่อศูนย์ควบคุมความร้อนในHypothalamus ทำให้ขยายหลอดเลือดที่ผิวหนัง และขับเหงื่อ  ซึ่งมีผลเพิ่มการระบายความร้อนออกจากร่างกาย  และมีฤทธิ์ยับยั้งฤทธิ์ของ  Endogenous pyrogen ที่ศูนย์ควบคุมความร้อนด้วย

 

ผลข้างเคียง                         ไม่มีอาการข้างเคียงหรืออาการพิษที่รุนแรง  อาจมีอาการผื่นขึ้น  และมีอาการแพ้ได้บ้าง  แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจเกิดภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ  เกร็ดเลือดต่ำ  หรือเกิดภาวะขาดเม็ดเลือดทุกชนิด  อาการพิษจะเกิดขึ้นเมื่อได้รับยาเกินขนาด  โดยมีความสัมพันธ์กับขนาดยาที่ได้รับ  อาจทำให้ถึงแก่ชีวิต  เนื่องจากตับถูกทำลาย  มีผลทำลายไต  และทำให้เกิดโคม่าเนื่องจากน้ำตาลในเลือดต่ำ  อาการพิษต่อตับจะเกิดขึ้น  เมื่อได้รับยาครั้งเดียว   10 – 15 กรัม ในขนาด 20 – 25 กรัม หรือมากกว่า ทำให้ถึงตายได้ อาการพิษเริ่มต้นภายในเวลา 24 ชม. โดยมีอาการคลื่นไส้  อาเจียน  ปวดเกร็งกล้ามเนื้อท้อง ท้องเดิน

 

ข้อควรระวัง                         1. ไม่ควรใช้ยาเกินขนาดและวิธีใช้รักษา หรือใช้ยาติดต่อกันนานเกิน 10 วัน

  1. ควรใช้ยาอย่างระมัดระวังในผู้ป่วยโรคตับ หรือไตทำงานไม่ปกติ
  2. ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่แพ้ยานี้

 

Hyoscine [butylbromide]

ชื่อสามัญ  Hyoscine [butylbromide]
รูปแบบยา  ยาฉีด 20 มิลลิกรัม/1 มิลลิลิตร, ยาเม็ด 10 มิลลิกรัม/เม็ด, ยาน้ำ 5mg/5ml.
ยานี้ใช้สำหรับ

  1. ยานี้ใช้บรรเทาอาการปวดเกร็งช่องท้อง ซึ่งมีสาเหตุจากการหดเกร็งกล้ามเนื้อที่บริเวณกระเพาะอาหารหรือกระเพาะปัสสาวะ
  2. ยานี้ใช้รักษากลุ่มอาการลำไส้แปรปรวน (Irritable bowel syndrome: IBS)
  3. ยานี้ใช้เพื่อลดการหลั่งของเหลวในปอด

วิธีใช้ยา

  1. ยานี้อยู่ในรูปแบบยาเม็ด ใช้สำหรับรับประทาน โดยให้ใช้ยานี้ตามวิธีใช้ที่ระบุบนฉลากยาอย่างเคร่งครัด โดยห้ามใช้ยาในขนาดที่มากหรือน้อยกว่าที่ระบุ และหากมีข้อสงสัยให้สอบถามแพทย์หรือเภสัชกร
  2. ให้กลืนยาทั้งเม็ด ห้ามบดหรือเคี้ยวเม็ดยา
    สิ่งที่ควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทราบ

1.การแพ้ยาไฮออสซีน (Hyoscine) หรือแพ้ยาอื่นๆ

  1. ยาอื่นๆ ทั้งยาที่แพทย์สั่งจ่ายและยาที่ใช้เอง วิตามิน อาหารเสริม และยาสมุนไพรที่ท่านใช้อยู่ในขณะนี้หรือกำลังจะใช้
  2. มีหรือเคยมีภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ หรืออุณหภูมิในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น
  3. การตั้งครรภ์ การวางแผนในการตั้งครรภ์ หรือการให้นมบุตร
  4. มีหรือเคยมีประวัติโรคตับ โรคไต โรค Porphyria (โรคเลือดชนิดหนึ่ง) โรคลมชัก โรคต้อหิน โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ( Myasthenia gravis) โรคกระเพาะอาหาร หรือ ต่อมลูกหมากโต
    อาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา
    1) อาการอันไม่พึงประสงค์ที่ต้องแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทันที
    มีดังนี้ ปวดตา ตาแดง หรือการมองเห็นผิดปกติ หัวใจเต้นเร็ว หรือช้าผิดปกติ ถ่ายปัสสาวะลำบาก หรือเจ็บเมื่อถ่ายปัสสาวะ

2) อาการอันไม่พึงประสงค์อื่นที่อาจเกิดระหว่างใช้ยา หากเป็นต่อเนื่อง หรือ รบกวนชีวิตประจำวัน ให้ แจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทราบ
มีดังนี้ ปากแห้ง ผิวแห้ง ท้องผูก ตาสู้แสงไม่ได้

 

บรรณานุกรม

 

โครงการสวัสดิการ  สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข. (2541). การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุเล่ม 1.  นนทบุรี:  บริษัท  ยุทธรินทร์ การพิมพ์ จำกัด.

 

บัญชา สถิระพจน์, ประเจษฎ์ เรืองกาญจนเศรษฐ์, อินทรีย์ กาญจนกูล, อำนาจ ชัยประเสริฐ, อุปถัมภ์

ศุภสินธิ์ และพรรณบุปผา ชูวิเชียร. (2555). ESENTAL NEPHROLOGY. กรุงเทพฯ: นำอักษร การพิมพ์.

 

อมร เปรมกมล. (2554). อีสานรวมมิตร ระบาดวิทยาและการควบคุมโรค. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

 

พงศธร คชเสนี, ธนันดา ตระการวนิช, สิริภา ช้างศิริกุลชัย และทวีพงษ์ ปาจรีย์. (2555). Nephrology Board Review 2012. กรุงเทพฯ: เท็กซ์แอนด์เจอร์นอล พับลิเคชั่น จำกัด.

 

จำนง นพรัตน์. (2555). ระบบขับถ่ายปัสสาวะและการตรวจปัสสาวะ. สงขลา: คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

 

ธิดา นสานนท์, ปรีชา มนทกานติกุล และสุวัฒนา จุฬาวัฒนทล. (2552). คู่มือการใช้ยาสำหรับบุคลากรสาธารณสุข. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: บริษัท ประชาชน จำกัด.

 

สุรเกียรติ  อาชานานุภาพ. (2553). ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 1. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี

กรุงเทพฯ.

 

สุรเกียรติ  อาชานานุภาพ. (2553). ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 2. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี

กรุงเทพฯ.

 

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

www.nakhu.com แหล่งชุมนุมของคนชอบเที่ยว โดยรูปภาพและบทความที่จัดทำขึ้นทั้งหมดในเว็บไซต์ขอสงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย ห้ามผู้ใดทำซ้ำหรือเผยแพร่เชิงพาณิชย์ในทุกสื่อ ไม่ว่าจะเป็นบางส่วนหรือทั้งหมดโดยไม่ได้รับอนุญาต