กรณีศึกษา » กรณีศึกษา Vaginal Candidiasis นรีเวชกรรมสูติ-นรีเวช

กรณีศึกษา Vaginal Candidiasis นรีเวชกรรมสูติ-นรีเวช

21 มิถุนายน 2015
30031   0

3

ชื่อนักศึกษา  –                                                                                     วันที่  25 กุมภาพันธ์  2558

สถานที่ฝีกปฏิบัติงาน  แผนกผู้ป่วยนอก –

ผู้ให้ข้อมูล  ผู้รับบริการ

ข้อมูลทั่วไป

ผู้ป่วย    หญิงไทย                HN   1435 อายุ   39   ปี   

สถานภาพสมรส     คู่    อาชีพ   แม่บ้าน    รายได้ครอบครัว/เดือน    10,000   บาท

ที่อยู่ปัจจุบัน    –

แหล่งประโยชน์   สิทธิบัตร บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า

ผู้ให้ข้อมูล          ผู้รับบริการ

 

การประเมินภาวะสุขภาพ

Subjective

 

  1. อาการสำคัญ

มีตกขาวคล้ายแป้งเปียก คันช่องคลอด เป็นมา 3 วัน

  1. ประวัติการเจ็บป่วยในปัจจุบัน

1 เดือนก่อนมา มีตกขาวเป็นตะกอนคล้ายแป้งเปียก ไม่มีกลิ่นเหม็น มีอาการปวดหน่วงท้องน้อยร่วมด้วยในบางครั้ง ไม่คัน ทานยาพาราเซตามอล อาการปวดท้องน้อยดีขึ้น

3 วันก่อนมา เริ่มมีอาการคันและแสบช่องคลอด ตกขาวมากขึ้น จึงมา รพ.สต.พร้อมเข้าร่วมรณรงค์คัดกรองมะเร็งปากมดลูก

  1. ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต : ปฏิเสธโรคติดต่อร้ายแรง เช่น TB ,โรคเอดส์ – ไม่มีประวัติแพ้ยา อาหาร และสารเคมี

-ไม่เคยได้รับอุบัติเหตุร้ายแรงใดๆไม่เคยผ่าตัดใดๆ

3.1 ประวัติอื่นๆ ที่สัมพันธ์กับการเจ็บป่วย

– ประวัติการตั้งครรภ์ Para2-0-0-2

– ใช้น้ำยาล้างช่องคลอดเป็นประจำ

– ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่ รพ.สต.วันที่ 25 ก.พ. 2558

3.2 ประวัติการคุมกำเนิด 

– คุมกำเนิดโดยใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดต่อเนื่องมา 15 ปี

– ประจำเดือนมาสม่ำเสมอ LMP 6กุมภาพันธ์ 2558 มา 4 วัน

3.3 ประวัติการมีเพศสัมพันธ์

– ปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงนี้เนื่องจากสามีทำงานที่ต่างจังหวัด กลับมาเยี่ยมบ้านปีละ 1- 2 ครั้ง

  1. ประวัติครอบครัว ( Family History )

–  บุคคลในครอบครัวไม่เคยป่วยด้วยโรคติดต่อร้ายแรง

– ไม่มีประวัติบุคคลในครอบครัวป่วยเป็นโรคติดต่อทางพันธุกรรม

ในครอบครัวมีสมาชิกทั้งหมด 2 คน คือผู้ป่วย สามี  ซึ่งมีสุขภาพแข็งแรงดี สามีเป็นคนหารายได้จุนเจือครอบครัว

 2

 

  1. ประวัติทางจิตสังคม ( Psychosocial History )

ประวัติส่วนบุคคล

การศึกษา : จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

อุปนิสัย : พูดจาสุภาพ ยิ้มแย้มแจ่มใส มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี

การรับประทานอาหาร : รับประทานอาหารได้ทุกชนิด ส่วนมากจะเป็นอาหารพื้นบ้านอีสาน ชอบรับประทานอาหารรสจัด ทานผักและผลไม้ตามฤดูกาล ทานอาหารครบ 3 มื้อ ไม่ตรงเวลา

การพักผ่อน : พักผ่อนนอนหลับวันละ 6 – 8 ชั่วโมง หลับสนิทดี ปฏิเสธการใช้ยานอนหลับ

การออกกำลังกาย : ออกกำลังกายด้วยการเต้นแอร์โรบิคทุกวัน และทำงานบ้านทั่วไป

สุขวิทยาส่วนบุคคล : อาบน้ำวันละ 2 ครั้ง แปรงฟันวันละ 2 ครั้ง เช้า – เย็น สระผมสัปดาห์ละ 2 – 3 ครั้ง  ใช้น้ำยาสวนล้างช่องคลอดเป็นประจำ

ดื่มแอลกอฮอล์บางครั้งเมื่อทะเลาะกับสามี หรือเครียด ไม่สูบบุหรี่ ดื่มชา  กาแฟ บ่อยครั้ง

การขับถ่าย : ถ่ายอุจจาระวันละ 1 ครั้ง ปัสสาวะปกติไม่แสบขัด ไม่ขุ่น สีเหลืองฟาง วันละ 5 – 6 ครั้ง

ประวัติทางจิตสังคม

– อาชีพหลักคือเป็นแม่บ้าน

– เศรษฐกิจรายได้จากการทำงานของสามีส่งมาให้  เพียงพอใช้ในครอบครัว

– ค่านิยมความเชื่อ มีความเชื่อเกี่ยวการรักษาแผน ปัจจุบันเมื่อเจ็บป่วยจะมารับการรักษาที่

สถานีอนามัยใกล้บ้านและรับบริการที่โรงพยาบาล

– การเผชิญความเครียดเมื่อมีปัญหาครอบครัวหรือทะเลาะกับสามี สามารถแก้ปัญหาได้บางเรื่อง ถ้าแก้ไขไม่ได้จะดื่มสุราเพื่อแก้ปัญหา

– ความสัมพันธ์ในครอบครัว มีปัญหาทะเลาะกันบ้างกับสามี ครอบครัวรักใคร่กันดี กับเพื่อนบ้าน  ไม่เคยมีปัญหาทะเลาะกัน

 

6.การทบทวนประวัติ ( Review  System )

สุขภาพทั่วไป       หญิงไทยรูปร่างสมส่วน สูงผิวขาว แต่งกายสุภาพ สะอาด พูดคุยรู้เรื่องดี

ผิวหนัง                  ผิวขาว ผิวเรียบ ชุ่มชื่นดี ไม่มีผื่นคัน ไม่มีรอยแผลเป็น

ศีรษะ                     ไม่มีบาดแผล ตุ่ม ก้อน ไม่เคยได้รับอุบัติเหตุกระทบกระเทือนที่ศีรษะ

ตา                           ไม่มีอาการตาพร่ามัว  สามารถมองเห็นได้ชัดเจนดี

หู                             ได้ยินชัดเจนดี ไม่เคยเป็นหูน้ำหนวก ไม่เคยหูอื้อ

จมูก                    รับกลิ่นได้ปกติดี  ไม่เคยมีอาการคัดจมูกหรือเป็นภูมิแพ้ ไม่เคยเป็นไซนัสอักเสบ

ช่องปาก                               ริมฝีปากไม่ซีด ไม่มีอาการปวดฟัน ฟันไม่ผุ  ลิ้นเคลื่อนไหวปกติ

คอ                           คลำไม่พบก้อนที่คอ เคลื่อนไหวได้ปกติ ไม่มีอาการคอแข็ง

ต่อมน้ำเหลือง      ต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ ขาหนีบไม่บวมโต

เต้านม                   ไม่พบก้อนบริเวณเต้านมทั้ง 2 ข้าง

ท้อง                        คลำไม่พบก้อน ไม่มีอาการกดเจ็บ มีแผลเป็นจากรอยผ่าตัดเนื้องอกในมดลูก

ระบบหายใจ         ไม่มีอาการหายใจลำบาก ไม่เจ็บหน้าอก  หายใจไม่หอบ ไม่เคยเป็นโรคหอบหืด

ระบบหัวใจและหลอดเลือด     ไม่เคยเจ็บหน้าอก หรือบวม ไม่เคยเป็นลมหน้ามืด

ระบบทางเดินอาหาร                  ไม่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร การขับถ่ายปกติ ไม่เคยผ่าตัดช่องท้อง

ระบบทางเดินปัสสาวะ               ปัสสาวะไม่แสบขัด สีเหลืองฟางใส

ระบบอวัยวะสืบพันธุ์          ประจำเดือนมาสม่ำเสมอ  ไม่มีต่อมน้ำเหลือโตที่โคนขาหนีบ

LMP 12 กุมภาพันธ์  2558

กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ   ไม่เคยมีกระดูกแขนขาหัก ไม่มีอาการปวดหลัง ไม่มีอาการปวดข้อ

ระบบทางประสาท           พูดจาปกติสบตาเวลาพูดคุย จำชื่อ ที่อยู่ อายุ และทุกคนในครอบครัวได้ดี

ระบบโลหิต                       ไม่มีจุดจ้ำเลือดตามผิวหนัง ไม่มีเลือดออกตามไรฟัน เวลาเป็นแผลเลือดจะหยุดง่าย

ระบบประสาท                     ไม่มีอาการแขนขาอ่อนแรง ไม่เคยมีอาการชา ไม่เคยมีอาการชัก

อาการทางจิตประสาท        สีหน้าวิตกกังวลจากอาการตกขาว

 

Objective

  1. การตรวจร่างกาย ( Physical Examination )

Vital signs                            T =  36.8 . C    P = 84  / min    R = 22 / min   BP = 134/83 mmHg

Nutrition status                   BW = 46  kgs.  Height = 158 cms.    BMI = 18.43

General appearance           Thai woman  , age 39 years old  , good consciousness , Married status

Skin & Nails                       Normal skin contour and texture.  no  echymosis. no petechiae

Hair                                        Normal texture and distribution

Head & Face                       Normal size and shape , no evidence of trauma , No abnormal  facies

Eyes                                       Normal eyes contour, conjunctiva  not  pale , Sclera  no jaundice  and   not  injected  , Pupils  2  mm. react to light both eye

Ears                                        External ear no mass or lesion ear canal no abrasion or inflammation or tender ness , no discharge, hearing   normal

Nose                                       No discharge mocous membrane pink not injected turbinate pink

Mouth and throat               Lip not pale  Tongue midline.  Pharynx not injected , tonsil   not enlarged.

Neck                                      No stiffness , Trachea normal , not deviated , thyroid gland note enlarged       No engorged neck vein

Breasts                                 No  mass , nipple  no  discharge . no engorgement.

Lymph nodes                      No palpable lymph nodes

Respiratory and Circulation system       Pulse 84 / min, regular. Heart sound normal, no murmurs                                                        Chest normal shape and movement, symmetry, Normal breath sound

Abdomen                              Abdomen soft , not tender , no guarding , liver and spleen not palpable,

Normal bowel sounds. No mass.

Lymph nodes                      No palpable lymph nodes

Urinary system                   Normal

Extremity and muscle system         No edema , no deformities of Spine and other bones , no stiff neck , range of  motion normal

Neuro system                      Good consciousness , speech normal , Muscle power gr V , well co-operation

Genital organ

 PV       MIUB                      No inflammation , No Cystocele  Rectocele

Vagina                 Curd – like discharge , yellowish discharge

Cervix                  Soft , os closed , pink ,  no polyp. cervix motion not  pain.

Uterus                    Nornal size

Adnexa                 tender at right side

Cal-De-Sac          No bulging

Other                     Pap smear

 

  1. ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ ( Laboratory Data )

Pap smear           รอผลตรวจ

Assessment

  1. สรุปปัญหา ( Problem list )

1.ตกขาวคล้ายแป้งเปียก ร่วมกับอาการคันช่องคลอด

  1. การวินิจฉัยโรค (Differrential Diagnosis )

จากอาการ อาการแสดง การตรวจร่างกายและการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ทำให้คิดถึงโรค ต่อไปนี้ ซึ่งจำเป็นต้องวินิจฉัยจำแนก (Differential Diagnosis) ได้แก่

  1. Candidiasis
  2. Trichomoniasis
  3. Non-specific bacterial vaginitis
การวินิจฉัยโรค อาการของโรคตามทฤษฎี ประวัติ/การตรวจร่างกาย
1. Candidiasis

 

สาเหตุ      เกิดจากเชื้อ  Candida  albicans  ซึ่งเป็นเชื้อราชนิดหนึ่ง   และมีสาเหตุชักนำให้เกิด  Candida  vaginitis ได้งายขึ้น   เช่น การตั้งครรภ์  โรคเบาหวาน  ภูมิคุ้มกันต่ำ การเจ็บป่วยเรื้อรัง  การใช้ยาปฏิชีวนะ,  corticosteroid,  metronidazole หรือยาเม้ดคุมกำเนิด เป็นเวลานานๆ  และในคนอ้วนมากๆ

อาการและอาการแสดง   อาการคันมักเป็นอาการที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์      ซึ่งอาจทุเลาลงขณะมีระดู  เนื่องจากภาวะความเป็นด่างในช่องคลอด  นอกจากนั้นยังทำให้เกิดอาการปัสสาวะขัด , dysparunia และตกขาว  เมื่อตรวจภายใน จะพบว่าตกขาวมีลักษณะคล้ายตะกอนนม (Curd-like appearance)  สีขาว อวัยวะภายนอก มีลักษณะอักเสบ  แดง  อาจมีผื่น แบบ  macules,  vesicles  หรือ  pustule ถ้าแตกจะเกิดการอักเสบของแบคทีเรียซ้ำเติมได้

– จากการซักประวัติและตรวจร่างกาย พบว่าผู้ป่วยมีตกขาวสีขาวปนเหลือง คล้ายตะกอนนม (Curd-like appearance) และมีอาการอักเสบ มีแผลแดงๆรอบช่องคลอดร่วมด้วย จากอาการที่ตรวจพบผู้ป่วยเข้าได้กับโรคนี้มากที่สุด
การวินิจฉัยโรค อาการของโรคตามทฤษฎี ประวัติ/การตรวจร่างกาย
2. Trichomonas vaginitis

 

 

 

 

 

สาเหตุ  เกิดจากเชื้อโปรโตซัว Trichomonas vaginalis และพบว่ามีประวัติตกขาวเป็นฟอง สีเหลือง-เขียวและมีกลิ่นเหม็น มีอาการคันช่องคลอด  ปวดแสบขัด ออกร้อนเวลาปัสสาวะ  มักมี strawberry cervix ถ้ามีเชื้อจำนวนมาก มีประวัติตกขาวมีกลิ่นเหม็น และมีอาการคันช่องคลอด นึกถึงโรคนี้รองลงมา จากการตรวจภายใน ไม่พบลักษณะตกขาวเป็นฟอง มีกลิ่นเหม็น ที่เป็นอาการเด่นของการติดเชื้อโปรโตซัวTrichomonasและไม่พบอาการแสบร้อนขณะปัสสาวะ
3. Non-specific bacterial vaginitis

 

อาการช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียที่ไม่จำเพาะชนิด

สาเหตุ  เชื่อว่าเชื้อที่เป็นสาเหตุสำคัญ คือ Gardnerella  vaginalis  และเชื้อ  Chlamydia  trachomatis

อาการ และอาการแสดง   มีมูกปนหนอง ( mucopurulent   vaginal  discharge )  อาจมีอาการปากมดลูกอักเสบ หรือ cervical  erosion  ร่วมด้วย นอกจากนั้นอาจมีปัสสาวะลำบาก

– คิดถึงโรคนี้รองลงมาอีก เพราะการติดเชื้อในช่องคลอดที่ไม่สามารถทราบเชื้อได้ ต้องมีอาการหลายอาการ ที่ไม่สามารถแยกชนิดของโรคได้

 

Impression / Diagnosis                                   

Vaginal  Candidiasis

 

Discussion การอภิปรายปัญหา

จากอาการสำคัญที่ผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 39 ปี มาด้วยอาการตกขาวคล้ายแป้งเปียก ร่วมกับอาการคันช่องคลอด ทำให้นึกถึงโรคทางระบบสืบพันธุ์ของสตรี ซึ่งต้องแยกให้ออกว่า อาการตกขาวที่ผู้ป่วยมานั้นเป็นตกขาวปกติหรือเกิดจากการติดเชื้อชนิดใดชนิดหนึ่งหรือไม่ ซึ่งในผู้ป่วยรายนี้พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงคือการสวนล้างช่องคลอดด้วยน้ำยาทำความสะอาดเป็นประจำทำให้เชื้อประจำถิ่นที่เป็นประโยชน์ในช่องคลอดถูกชำระล้างออกไปด้วย ทำให้กลไกการป้องกันตนเองจากเชื้อโรคในระบบสืบพันธ์มีประสิทธิภาพลดลง ประกอบกับผู้ป่วยรับประทานยาคุมกำเนิดมาเป็นเวลานาน 15 ปี ทำให้มีระดับเอสโตรเจนจากยาคุมกำเนิดสูงในระยะเวลาที่นาน จะทำให้สมดุลของจุลชีพที่อยู่ในช่องคลอดเปลี่ยนแปลงไป ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เหมาะต่อการขยายพันธุ์ของยีสต์หรือเชื้อรา จึงทำให้ผู้ป่วยมีอาการตกขาวคล้ายแป้งเปียกร่วมกับคันช่องคลอดตามมา

เชื้อราในช่องคลอด  (Vaginal Candidiasis )

เชื้อที่เป็นสาเหตุได้แก่ Candida albicans แต่ก็อาจจะเกิดจากเชื้ออื่นก็ได้เกิดจากการที่เชื้อราในช่องคลอดเจริญมากเนื่องจากความเป็นกรดเสียไป โรคนี้ไม่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการติดเชื้อรา                                                                  

  1. การใช้ยาปฏิชีวนะ อย่างพร่ำเพื่อ เป็นสาเหตุประการสำคัญที่ทำให้เกิดโรคนี้ ยาปฏิชีวนะมีหน้าที่ในการกำจัดเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคก็จริง แต่ในขณะเดียวกันก็อาจไป ทำลายเชื้อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ตามปกติบริเวณช่องคลอดและทำให้เชื้อรา Candida แบ่งตัวเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว

(เพราะเชื้อรา Candida ไม่ถูกทำลายโดยยาปฏิชีวนะเช่นเดียวกับแบคทีเรีย)

  1. การใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด มีโอกาสมากที่จะติดเชื้อรา Candida เพราะยาเม็ดคุมกำเนิดจะไปเพิ่มระดับฮอร์โมน ที่มีชื่อว่า Estrogen  ซึ่งไหลเวียนอยู่ในร่างกาย ซึ่งจะกระตุ้นการเจริญเติบโตของเชื้อรา Candida เพราะว่าฮอร์โมน Estrogen จะไป เพิ่มระดับของน้ำตาล ในร่างกาย ซึ่งเชื้อรา Candida ใช้เป็นอาหาร จึงเป็นสาเหตุทำให้สตรีจำนวนมากติดเชื้อราในช่องคลอดก่อนจะมีระดู เพราะในระหว่างนี้ระดับฮอร์โมน Estrogen จะขึ้นสูงสุด
  2. การตั้งครรภ์ ท่านก็มีโอกาสติดเชื้อรามากกว่าสตรีที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ เพราะระดับของ ฮอร์โมน Estrogen ระหว่างการตั้งครรภ์ เป็น “ สภาวะที่เหมาะสม ” เป็นอย่างมากต่อการเจริญเติบโตของเชื้อรา Candida
  3. หากท่านเป็น เบาหวาน ท่านก็จะติดเชื้อราได้ง่ายเช่นกัน เพราะว่า ระดับน้ำตาลในเลือดสูง จากโรคเบาหวาน จะกระตุ้นการเจริญเติบโตของเชื้อราได้เป็นอย่างดี
  4. การบาดเจ็บ หรือ การระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อบริเวณช่องคลอด ( เช่น การคลอดบุตร , การร่วมเพศ , การสอดใส่ผ้าอนามัย หรือ การใส่ห่วงคุมกำเนิด) สามารถทำได้เกิดการอักเสบของช่องคลอดได้เช่นกัน

อาการและอาการแสดง

  1. ตกขาวมากขึ้น
  2. ตกขาวเป็นเมือกขาว
  3. คันและแสบบริเวณช่องคลอด
  4. เจ็บเมื่อมีเพศสัมพันธ์
  5. การแบ่งชนิดของโรคเชื้อราในช่องคลอด

สามารถแบ่งการติดเชื้อออกเป็นการติดเชื้อที่ไม่มีโรคแทรกซ้อน และการติดเชื้อที่มีโรคแทรกซ้อน โดยมีเกณฑ์ดังต่อไปนี้

ไม่มีโรคแทรกซ้อน โรคแทรกซ้อน
1. เป็นเชื้อราที่ช่องคลอดนานๆครั้ง 1. เป็นเชื้อราในช่องคลอดบ่อย
2. มีการอักเสบไม่มาก 2. มีการอักเสบมาก
3. เกิดเชื้อ Candida albican 3. เกิดจากเชื้ออื่น
4. ผู้ป่วยไม่มีโรคประจำตัว 4. ผู้ป่วยมีโรคเบาหวาน โรคมะเร็ง ตั้งครรภ์ และโรคเอดส์

การวินิจฉัย

– จากประวัติที่มีตกขาวสีขาวและคันอวัยวะเพศ

– นำตกขาวมาละลายด้วยน้ำยา KOH จะพบใยเชื้อรา

– การเพาะเชื้อขึ้นเชื้อรา

– pH<4.5

การรักษา

ตกขาวจากเชื้อราที่ไม่มีโรคแทรกซ้อน ใช้ยาเหน็บหรือยาทาที่มีส่วนผสมของยาฆ่าเชื้อรา สำหรับผู้ที่เป็นครั้งแรกอาจจะไม่สามารถวินิจฉัย แต่หากเป็นครั้ง 2-3  ก็พอจะทราบอาการและอาจจะหายาทาเองเป็นยาในกลุ่ม miconazole หรือ clotrimazole เป็นยาเหน็บหรือยาทาก็ได้  สำหรับคู่ที่มีเพศสัมพันธ์ไม่จำเป็นต้องรักษา

การรักษาเชื้อราในช่องคลอดที่มีโรคแทรก

เป็นเชื้อราในช่องคลอดบ่อย หมายถึงเป็นเชื้อราในช่องคลอดมากกว่า 4 ครั้ง/ ปีผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีโรคประจำตัว ต้องมีการเพาะเชื้อเพื่อยืนยันการวินิจฉัย เชื้ออาจจะเป็นเชื้อราชนิดอื่นเช่น Candida glabrata การรักษาเริ่มต้นอาจจะต้องรักษาให้นานกว่าปกติ ยาทาอาจจะต้องทานาน 7-14 วัน ส่วนยารับประทานอาจจะต้องรับประทานนาน 3 วัน สำหรับผู้ที่เป็นซ้ำบ่อยๆต้องให้ยาเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำได้แก่ ยาเหน็บช่องคลอด clotrimazole (500-mg dose vaginal suppositories อาทิตย์ละครั้ง)หรือยารับประทาน ketoconazole (100-mg dose วันละครั้ง), fluconazole (100–150-mg dose สัปดาห์ละครั้ง) , หรือ itraconazole (400-mg doseเดือนละครั้ง หรือ 100-mg dose วันละครั้ง) ในรายที่เป็นรุนแรง มีการอักเสบแคมใหญ่ มีบวม เกาจนเป็นรอยพวกนี้ต้องทายาหรือสอดยานาน 7-14 วัน ส่วนยารับประทานให้รับประทาน 2 ครั้งห่างกัน 3 วัน ช่องคลอดอักเสบที่เกิดจากเชื้อราชนิดอื่น ควรจะปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวหากเป็นยาทาต้องใช้เวลา 7-14 วันและควรจะรับประทานยาร่วมด้วย

 

Plan

  1. Diagnostic

แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นเชื้อราในช่องคลอด ให้ยาไปรับประทานที่บ้านและแนะนำการดูแลอวัยวะสืบพันธุ์ เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ

  1. Therapeutic or Treatment
  2. Clotrimazole vaginal (100 mg) PV   1 x hs  6 วัน
  3. Clotrimazole cream 1% ทาบางๆ เช้า – เย็น

 

  1. Education
  2. แนะนำการใส่ชุดชั้นในควรจะเป็นชนิดที่ทำจากผ้าฝ้ายและไม่ควรจะรัดแน่นเพราะจะทำให้อากาศถ่ายเทไม่สะดวก ควรซักตากในที่อากาศถ่ายเทดี แสงแดดส่องถึง และไม่ควรใช้ชุดชั้นในร่วมกับผู้อื่น ไม่ควรสวมกางเกงชั้นในนอน
    2. แนะนำในการใช้ผ้าอนามัยแผ่นเล็กไม่มีความจำเป็นจะต้องใช้ ถ้ามีตกขาวมากควรเตรียมชุดชั้นในไปเปลี่ยน หรือซื้อหาชนิดที่มีการเสริมผ้าฝ้ายตรงเป้ากางเกงให้หนาขึ้น จะได้ซึมซับตกขาวได้ดี กลับถึงบ้านแล้วรีบซักทำความสะอาดทันทีจะชำระตกขาวออกไปได้ดีขึ้น
    3. ถ้าจะใส่ถุงน่องควรเป็นชนิดใส่ถึงแค่ต้นขาหรือหัวเข่าก็น่าจะพอแล้ว
    4. การล้างทำความสะอาดจุดซ่อนเร้น ควรทำเฉพาะภายนอกเท่านั้น น้ำสะอาดเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในการชำระล้างทำความสะอาด และถ้ามีกลิ่นอับมากจะใช้สบู่อ่อน หรือสบู่เหลวอนามัย ทำความสะอาดเฉพาะที่เพื่อเพิ่มความมั่นใจก็ไม่ว่ากัน แต่อย่าสวนล้างน้ำ หรือน้ำยาทำความสะอาดเข้าไปภายใน
    5. ไม่ควรจะใช้ยาสอดรักษาเชื้อราด้วยตนเอง เพราะอาจใช้ไม่ครบขนาดทำให้เชื้อราเกิดการดื้อยาได้ในภายหลัง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อได้รับยารักษาเชื้อราให้ครบขนาดจะดีกว่า และควรไปตรวจติดตามผลการรักษาด้วยว่าหายขาดแล้ว
    6. ยาปฏิชีวนะที่รับประทานเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นยาปฏิชีวนะรักษาอาการสิวอักเสบ หรือการรักษาการอักเสบติดเชื้อเรื้อรังบริเวณอื่นที่ต้องรับประทานยาปฏิชีวนะเป็นเวลานานๆ จะทำให้เสี่ยงติดเชื้อราได้ง่ายขึ้น เพราะยาปฏิชีวนะจะไปทำลายแบคทีเรีย “ แลคโตแบซิลลัส ” ที่เป็นมิตรและอาศัยอยู่ภายในช่องคลอดและทวารหนัก
    7. การรับประทานโยเกิร์ต หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแบคทีเรียแลคโตแบซิลลัสจะช่วยทำให้มีแบคทีเรียดังกล่าวภายในระบบทางเดินอาหาร และช่องคลอดมากขึ้น นอกจากช่วยทำให้อาหารย่อยดีแล้ว ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการป้องกันเชื้อราในระบบอวัยวะเพศด้วย
    8. การรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด เป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งของการเกิดเชื้อราในส่วนสงวน ผู้หญิงที่รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดอยู่ จึงต้องรักษาสุขอนามัยของอวัยวะเพศให้ดีเพื่อป้องกันเชื้อรา

 

สรุป

               หญิงไทย อายุ 39 ปี มารับการรักษาด้วยอาการ  มีตกขาวคล้ายแป้งเปียก ร่วมกับอาการคันช่องคลอด ไม่มีกลิ่น จากการตรวจภายใน  พบตกขาวเป็นตะกอนขาวคล้ายตะกอนนมปนตกขาวสีเหลือง ไม่มีกลิ่นเหม็น  Labia Majora  เป็นรอยแดงเล็กน้อย  แพทย์ให้การวินิจฉัย เป็นช่องคลอดอักเสบจากเชื้อรา แพทย์ให้ยาทาและยาเหน็บ และแนะนำมาตรวจซ้ำถ้าอาการไม่ดีขึ้น

 

บทเรียนจากกรณีศึกษา          

                อาการตกขาวในช่องคลอด เป็นภาวะปกติที่พบได้ในหญิงวัยเจริญพันธ์  แต่กรณีศึกษามีตกขาว

ที่ผิดปกติมีตะกอนคล้ายตะกอนนม แต่ไม่มีอาการคัน โรคไม่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง แต่จะมีอาการเป็นที่น่ารำคาญ  ไม่มีผลกระทบต่อการมีเพศสัมพันธ์ ไม่จำเป็นต้องรักษาคู่นอน ควรแนะนำให้ผู้ป่วยเปลี่ยนวิธีคุมกำเนิดและงดสวนล้างช่องคลอดด้วยน้ำยาทำความสะอาด

บทบาทของพยาบาลเวชปฏิบัติ นอกจากจะให้ความสำคัญกับการซักประวัติ การตรวจร่างกาย การให้ข้อมูลกับแพทย์ แล้ว การให้คำแนะนำในการ ปฏิบัติตัวที่ถูกต้องและเหมาะสม ทำให้ป้องกันการติดเชื้อในระบบสืบพันธุ์ได้ เพราะถ้ามีตกขาวและปล่อยไว้ หรือไม่รักษาความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ ก็มีโอกาสที่ทำให้เกิดเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้

 

 การสืบค้นเรื่องยา

  1. Cotrimazole vaginal (100 mg)  vaginal      suppro   1 x hs

ประเภท                 ยาต้านเชื้อราที่ใช้ภายนอกร่างกาย

ข้อบ่งใช้                 รักษาการติดเชื้อราหรือฝ้าขาวในช่องปาก ลดการเกิดเชื้อราในผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือด

ขาว เปลี่ยนไตที่มีภูมิ ต้านทานต่ำจากการใช้สารเคมีบำบัด รังสีรักษา สเตียรอยด์ ใช้

รักษาการติดเชื้อของผิวหนัง มีทั้งครีมและ Ointment ใช้รักษาเชื้อราในช่องคลอด

การออกฤทธิ์         ต้านเชื้อรา ออกฤทธิ์กว้าง นอกจากนี้ยังมีผลต่อแบคทีเรีย ขัดขวางการสร้าง Ergo

sterol ซึ่งมีความสำคัญในการสร้าง cell membrane ของเชื้อราทำให้การดูดซึมอาหารที่

จำเป็นของเชื้อราเสียไป ยามีทั้งครีม สารน้ำ ผล และเม็ดสำหรับสอดในช่องคลอด

ผลข้างเคียง          ผิวหนังอาจบวมแดง  แสบ  และคัน

 

  1. Cotrimazole cream

ข้อบ่งใช้

ยานี้เป็นยาปฏิชีวนะประเภทยาฆ่าเชื้อรา ใช้รักษาโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อราเป็นวง ๆ (ringworm) และการติดเชื้อกลาก (tinea infections) เช่น โรคคันในร่มผ้า (jock itch) และโรคเชื้อราตามง่ามเท้า (athletes foot)

วิธีใช้ยา

ยานี้อยู่ในรูปแบบครีม ใช้สำหรับทาภายนอกห้ามรับประทาน โดยทั่วไปให้ทายาวันละ2ครั้งเป็นเวลา2-8สัปดาห์ หรือให้ใช้ยานี้ตามวิธีใช้ที่ระบุบนฉลากอย่างเคร่งครัด โดยห้ามใช้ยาในขนาดที่มากหรือน้อยกว่าที่ระบุและหากมีข้อสงสัยให้สอบถามแพทย์หรือเภสัชกร

โดยทั่วไปทาครีมให้เป็นชั้นบาง ๆ บนผิวหนังส่วนที่เกิดโรค และควรล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังใช้ยา ยกเว้นแต่การติดเชื้อเกิดที่มือหรือเล็บให้ล้างเฉพาะก่อนใช้ยา

ไม่ควรปิดทับหรือปิดบริเวณที่ติดเชื้อด้วยผ้าพันแผลชนิดที่อากาศผ่านเข้าไม่ได้ เช่น ผ้าพันแผลพลาสติก ควรทาติดต่อกันตามแพทย์สั่งให้ครบระยะเวลาในการรักษา แม้ว่าอาการของโรคเริ่มจะดีขึ้น และควรทาให้ตรงเวลาทุกครั้ง

 

ข้อควรระวัง

1.เมื่อท่านแพ้ยา Clotrimazole และยาอื่น ๆ

2.การตั้งครรภ์ การวางแผนในการตั้งครรภ์ หรือการให้นมบุตร ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ

3.เมื่อมีการใช้ยาอื่น ๆ ทั้งยาที่แพทย์สั่งจ่ายและยาที่ใช้เอง วิตามิน อาหารเสริมและยาสมุนไพรที่ท่านใช้อยู่ในขณะนี้หรือกำลังจะใช้

4.ภูมิคุ้มกันบกพร่องจากหรือติดเชื้อไวรัส HIV

5.เป็นโรคเบาหวาน

6.เคยติดเหล้า

7.ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์เป็นประจำ

อาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา

1) อาการอันไม่พึงประสงค์ที่ต้องแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทันที

มีดังนี้ คัน แสบร้อน แดง บวม ปวดท้อง เป็นไข้

2) อาการอันไม่พึงประสงค์อื่นที่อาจเกิดระหว่างใช้ยา หากเป็นต่อเนื่อง หรือ รบกวนชีวิตประจำวัน ให้ แจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทราบ

มีดังนี้ ระคายเคืองที่ผิวหนัง ผิวหนังไหม้หรือคัน

 

 

เอกสารอ้างอิง

นงณภัทร  รุ่งเนย. (2550). การประเมินภาวะสุขภาพสำหรับพยาบาลเวชปฏิบัติ. เพชรบุรี: มุมหนึ่ง พรินติ้ง.

 

วราภรณ์ บุญเชียง. (บรรณาธิการ). (2556). การรักษาพยาบาลโรคเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงใหม่: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

 

พรรณนิภา  ธรรมวิรัช และประอรนุช  ตุลยาธร. (2546).  การพยาบาลนรีเวช. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ:   โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์.

 

เมธาพันธ์  กิจพรธีรานันท์, จิตติมา  รุจิเวชพงศธร, และภาวิน พัวพรพงษ์. (บรรณาธิการ). (2553). สูตินรีเวชวิทยาพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: ไฮเอ็ดพับลิชชิ่ง.

 

วีรศักดิ์  วงศ์ถิรพร, มณี  รัตนไชยานนท์, ประสงค์  ตันมหาสมุทร, มงคล  เบญจาภิบาล, และไอรีน  เรืองขจร.  (บรรณาธิการ). (2554). ตำรานรีเวชวิทยา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: พี. เอ. ลีพวิ่ง.

 

กำพล ศรีวัฒนกุล  และคนอื่นๆ. (2541). การใช้ยาฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสยามสปอร์ต

ชินดิเคท จำกัด.

 

สุรเกียรติ  อาชานานุภาพ. (2553). ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 1. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี

กรุงเทพฯ.

 

สุรเกียรติ  อาชานานุภาพ. (2553). ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 2. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี

กรุงเทพฯ.

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

               

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

www.nakhu.com แหล่งชุมนุมของคนชอบเที่ยว โดยรูปภาพและบทความที่จัดทำขึ้นทั้งหมดในเว็บไซต์ขอสงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย ห้ามผู้ใดทำซ้ำหรือเผยแพร่เชิงพาณิชย์ในทุกสื่อ ไม่ว่าจะเป็นบางส่วนหรือทั้งหมดโดยไม่ได้รับอนุญาต