กรณีศึกษา » กรณีศึกษา โรคเชื้อราในช่องหู Otomycosis

กรณีศึกษา โรคเชื้อราในช่องหู Otomycosis

22 มิถุนายน 2015
17082   0

2

ตัวอย่าง กรณีศึกษา Otomycosis โรคเชื้อราใรช่องหู

ชื่อนักศึกษา  –                                                                      วันที่  21 เมษายน  2558

สถานที่ฝีกปฏิบัติงาน  แผนกผู้ป่วยนอก

ผู้ให้ข้อมูล  ผู้รับบริการ

ข้อมูลทั่วไป

เพศ หญิง     อายุ   56  ปี     สถานภาพสมรส คู่   อาชีพ ทำนา, เย็บผ้า

เชื้อชาติ ไทย        สัญชาติ ไทย         รายได้ครอบครัว/เดือน 15,000   บาท

แหล่งประโยชน์   สิทธิบัตร บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า

ที่อยู่ปัจจุบัน    –

 

1.การประเมินภาวะสุขภาพ

1.1 อาการสำคัญ   ( Chief Complaint )

คันหูข้างขวา เป็นมา 1  สัปดาห์

1.2. ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน   ( Present  Illness )

                1  เดือนก่อนมา มีอาการหูข้างขวาอื้อ ได้ยินไม่ชัด ไปรักษาที่คลินิกใกล้บ้าน แพทย์บอกมีขี้หูอุดรูหู  จึงแคะออกให้  กลับมาบ้านยังมีอาการหูอื้ออยู่ ไม่ดีขึ้น

1 สัปดาห์ก่อนมาโรงพยาบาล ยังมีอาการหูอื้อร่วมกับอาการคันหู ไม่ปวดหู ไม่มีของเหลวไหลออกมาผิดปกติ ไปรักษาที่คลินิกแห่งเดิม ได้ยาแก้อักเสบมารับประทาน อาการคันหูไม่ดีขึ้น จึงมาโรงพยาบาล

1.3  ประวัติอื่นๆที่สัมพันธ์กับการเจ็บป่วย(Relevant history)

                –  ขณะมีน้ำหนองไหลออกจากหูได้ใช้ไม้พันสำลีเช็ดในรูหู

                –  ก่อนมีอาการหูอื้อไม่เคยเจ็บลงมุดน้ำ หรือมีไข้ หวัด เจ็บคอ

– ไม่เคยถูกตบตีหรือถูกแรงกระแทกเกี่ยวกับหูหรือได้รับเสียงกระทบดังๆ

1.4 ประวัติเจ็บป่วยในอดีต   (Past Illness)

–  ไม่เคยได้รับอุบัติเหตุร้ายแรงใดๆ

–  ปฏิเสธการแพ้ยา  อาหาร หรือสารเคมีทุกชนิด

–  ปฏิเสธโรคประจำตัว เช่น  โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง ,โรคหัวใจ,หรือโรคทางกรรมพันธุ์

–  ไม่เคยผ่าตัดใดๆ

 

1.5 ประวัติครอบครัว

–  มีสมาชิกในครอบครัว  6  คน  ประกอบด้วย ปู่  ย่า  ลูกเขย  ผู้ป่วย   หลานสาวและหลานชาย

–  ปู่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน

–  ย่าป่วยเป็นโรคเบาหวานและโรค พาคินสัน

–  สามี และบุตรทั้ง2 คน มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว

–  สมาชิกในครอบครัวสนิทสนม รักใคร่กันดี

1

 

1.6  ประวัติส่วนตัวและอุปนิสัย (Personal history and habits)

อุปนิสัย  :    รื่นเริง  สนุกสนาน   ใจเย็น

อารมณ์   :    อารมณ์ดี ไม่ค่อยหงุดหงิด ไม่เคยปัญหาทะเลาะเบาะแว้งกับใคร

การพักผ่อน :  นอนหลับสบายทุกคืน  เข้านอนเวลาประมาณ 23-22.00 น.  ตื่นนอนประมาณ

04.30  น.

      การรับประทานอาหาร :  ส่วนใหญ่ชอบรับประทานอาหารพื้นบ้านทั่วไป   ส่วนใหญ่รับประทานอาหารจืด

เนื่องจากปู่และย่าป่วยเป็นโรคเบาหวาน ส่วนมากประกอบ

อาหารรับประทานเอง   รับประทานอาหารตรงเวลา

         การออกกำลังกาย : ไม่เป็นรูปแบบที่แน่นอน  ส่วนใหญ่จะทำงานบ้าน ทำนา รับจ้าง

ทั่วไป  และดูแลปู่และย่า ที่มีโรคประจำตัวทั้งคู่

   อาบน้ำ :  วันละ 1 ครั้ง  ตอนเย็น

        การขับถ่าย  ปัสสาวะวันละ  5 – 6   ครั้ง  ถ่ายปกติ  อุจจาระ  1- 2 วัน/ ครั้ง  มีท้องผูกเป็น

และแสบร้อนท้องเป็นบางครั้ง ผู้ป่วยชอบใช้ไม้พันสำลีแคะหูเป็นประจำ

ยา  :  ให้ประวัติเมื่อมีการเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆ จะเข้ารับการรักษาที่สถานีอนามัยใกล้บ้าน

งานอดิเรก                :  เมื่อมีเวลาว่างจะดูโทรทัศน์

กิจกรรมทางศาสนา  :  ร่วมทำบุญในช่วงเทศกาลงานบุญต่างๆ

การศึกษา  :  จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ประวัติทางเพศ  :  ไม่เคยเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

 ความเชื่อเกี่ยวกับการรักษาและการเจ็บป่วย :  มีความเชื่อทั้งทางด้านการรักษาแพทย์แผน

โบราณ บางครั้งใช้สมุนไพรในการรักษาโรค   และแพทย์แผนปัจจุบัน  เวลา

เจ็บป่วยจะไปหาหมอที่คลินิก  หรือ โรงพยาบาล

          ความสัมพันธ์ในครอบครัวและสังคม  เป็นที่รักของครอบครัวและญาติพี่น้อง  ช่วยเหลืองาน

ในสังคมเป็นอย่างดี

          สบร้อนท้องเป็นลานเป็นโรคเบาหวาน และย่างรับระทานงแคะออกให้ หลังจากนั้น 1 วันการเผชิญความเครียด  มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเจ็บป่วย เนื่องจากไม่เคยเจ็บป่วยเจ็บ

มาก่อน กลัวจะหูหนวก  ลดความวิตกกังวลโดยการใช้ การพูดคุยกับสามี ญาติพี่

น้องและเพื่อนบ้าน เพื่อขอคำปรึกษา และบางครั้งก็เครียดเรื่องการดูแลปู่กับย่าที่

ชรา และมีโรคประจำตัว

1.7  ประวัติการมีประจำเดือน

      ผู้ป่วยเคยคุมกำเนิดโดยวิธีกินยาคุมกำเนิด  ตอนนี้หมดประจำเดือนแล้ว

 

การทบทวนอาการตามระบบ  (System Review)

         ลักษณะทั่วไป:  หญิงไทย  วัยกลางคน   อายุ  56   ปี  รูปร่างสมส่วน  แต่งกายสุภาพ  สะอาด

เดินมาที่ห้องตรวจเอง รู้สึกตัวดี  ถามตอบรู้เรื่อง

         ผิวหนัง        : ผิวคล้ำ  ไม่มีบาดแผล ไม่มีจ้ำเลือด ไม่มีรอยแผลเป็น ไม่มีก้อน  มีความยืดหยุ่นดี

ไม่บวม  เล็บและขนปกติ

         ศีรษะ            : รูปทรงโครงสร้างของศีรษะและใบหน้าปกติ  สมมาตรดี ไม่มีก้อน  ไม่มีร่องรอย

บาดเจ็บ  ไม่พบบาดแผล  ผมดำ

          ตา                 : ตามองเห็นชัดเจนทั้งสองข้าง  ไม่เคยเป็นโรคตาแดง หรือโรคเกี่ยวกับตา

          หู   : ใบหูสมมาตรทั้งสองข้าง ไม่เคยได้รับอุบัติเหตุทางหู ไม่บวม ดึงใบหูไม่เจ็บ ไม่มี

สิ่งคัดหลั่งออกจากหู ไม่เคยเป็นโรคหูน้ำหนวก หูข้างขวาได้ยินไม่ค่อยชัดเท่าที่ควร  หูข้างซ้ายได้ยินชัดเจน

         คอ                : ไม่มีต่อมน้ำเหลืองที่คอโต  ไม่มีก้อนในลำคอ

จมูก              :  การได้กลิ่นปกติ  ไม่มีเลือดกำเดาออก  ไม่มีน้ำมูก  รูปร่างปกติ

          ปากและฟัน : ไม่มีฟันผุ  ไม่เคยมีเลือดออกตามไรฟัน

ระบบทางเดินหายใจ : การหายใจปกติ ไม่หอบเหนื่อย

          ระบบไหลเวียนเลือด : ไม่มีอาการตัวเขียว เล็บเขียว หรือบวม  ไม่เจ็บแน่นหน้าอก

          ระบบทางเดินอาหาร  :  ไม่ปวดท้อง  ไม่มีถ่ายดำ  ไม่มีกดเจ็บ  ไม่มีก้อน ไม่มีบาดแผล

          ระบบทางเดินปัสสาวะ: ปัสสาวะปกติ  สีใส ไม่แสบขัด

          ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ไม่เคยมีกระดูกหัก หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรงไม่มีปวดบวม

ตามข้อไม่เคยประสบอุบัติเหตุจนทำให้ข้อเคลื่อนหรือกระดูกหัก

          ระบบประสาทและทางจิต :  ไม่มีประวัติแขนขาอ่อนแรง ไม่มีอาการชาตามใบหน้าหรือแขน

ขา  ไม่มีอาการชักไม่มีอาการทางระบบประสาท

 

การตรวจร่างกายทั่วไป ( Physical Examination )

          Vital  signs: T=  36.5 C , P= 82  ครั้ง/min regular, R= 20  ครั้ง/min , Weight = 60 kg.

Height=  160  cm.

          General Appearance: A  middle  age  thai  women  , good consciousness, looking well ,

co-operate.

         Skin & Nail  :  Skin  black-red.  Good  skin  turgor  no  freckle  no  rashes  and  no

ecchymosis , no koilonychias , no pitting nails

          Head :        No evidence of head trauma, symmetry, normal facial expression

          Eyes :          No abnormal mass , no conjunctivitis, no subconjunctival hemorrhage.

          Ear :           White and black fungal debris at right ear, mild  hearing  loss at right  ear, no discharge.

Nose : external configuration symmetrical, no discharge, mucous membrane pink not

Injected . septum not deviated. turbinate not injected.

          Mouth and throat : Lip no dry lip, tongue normal movement,  pharynx not injected ,

                Tonsil not enlarged, soft palate and hard palate no lesion

         Neck :         Normal position of trachea , no enlarged thyroid gland, no abnormal mass ,

no stiffness of neck , no neck vein engorged.

          Chest – Lung  : Symmetrical   chest   contour   , Normal   lung   expansion ,

Normal  vocal  Resonance  , Normal  breath  sound RR=20 /min, no crepitation , no wheezing , no rhonchi , no stridor . heart  sound  normal,  no  murmurs, heart rate 80/ min.

          Abdomen  :  no superficial vein dilated, soft, no  tenderness.

          Spine and back : no kyphosis  ,  CVA not tenderness

          Extremities :   no deformities , no petechiae or ecchymoses.

          Rectal  exam : normal stool , no mass, no tender

          Genitaria : normal no abnormal discharge

          Nervous  system : good consciousness, speech normal, well co-operation, sensation  normal, muscle power grade  5 all

 

  1. ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ ( Laboratory Data )

– ใช้ Otoscope ส่องดูที่รูหูข้างขวาพบ White and black fungal debris

 

Assessment

  1. สรุปปัญหา ( Problem list )
  2. คันหูข้างขวา
  3.   หูข้างขวาอื้อ

 

การวินิจฉัยแยกโรค (Differential Diagnosis)

จากอาการ อาการแสดง การตรวจร่างกายและการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ทำให้คิดถึงโรค ต่อไปนี้ ซึ่งจำเป็นต้องวินิจฉัยจำแนก (Differential Diagnosis) ได้แก่

  1. Otomycosis
  2. Otitis media
  3. Impacted cerumen
  4. Tympanic membrane perforation

 

                ลักษณะเฉพาะโรคอาการของโรคตามทฤษฎี ข้อมูลผู้ป่วยที่สัมพันธ์กับโรค
1. Otomycosisหูชั้นนอกอักเสบจากเชื้อรา (otomycosis) พบได้บ่อยพอควรโดยมักจะมีพยาธิสภาพบริเวณช่องหู (ear canel) และเยื่อแก้วหู (tympanic membrane). เชื้อราที่พบบ่อย คือAspergillus และ Candida

อาการอาการที่เด่นคือ มีอาการคันหู มักมีอาการหูอื้อ แน่นในหู เสียงดังในหู อาการเจ็บมัก ไม่ค่อยพบ ยกเว้นเมื่อมีการอักเสบเนื่องจากการติดเชื้อแบคทีเรียร่วม การตรวจหูจะพบลักษณะเป็นก้อนสกปรกสี เทาหรือขาวคล้ายกระดาษชุบน้ำ ถ้าเกิดจากเชื้อ Aspergillus niger จะพบจุดสปอร์(spore) สีดํารวมด้วย บางครั้ง อาจเห็นเป็น filament และสปอร์ได้หลังจากทําความสะอาดรูหูแล้ว จะพบรูหูแดง มักไม่ค่อยบวม

Positive Data1.มีอาการคันหู

2.มีอาการหูอื้อ แน่นในหู

3. อาการเจ็บมัก

4.การตรวจหูจะพบลักษณะเป็นก้อนสกปรกสี ขาวและดำ มีลักษณะของเชื้อราชัดเจน

5.ผู้ป่วยเป็นเบาหวาน ทำให้มีภูมิต้านทานต่ำ

Negative Data

 

 

 

2. Otitis media มักเกิดร่วมกับการติดเชื้อในบริเวณทางเดินหายใจส่วนต้น ได้แก่ ไข้หวัด ต่อมทอนซิลอักเสบ  ภาวะแทรกซ้อนของหัด ไข้หวัดใหญ่  ไอกรน  ทำให้เชื้อโรคในบริเวณคอผ่านท่อยูสเตเชียน เข้าไปในหูชันกลาง เกิดการอักเสบ ทำให้เยื่อบุผิวภายในหูชั้นกลางและท่อยูสเตเชียนบวม และมีหนองขังอยู่ในหูชั้นกลาง  ในที่สุดเยื่อแก้วหู ก็จะเกิดการทะลุเป็นรูหนองที่ขังอยู่ภายในก็จะไหลออกมากลายเป็นหูน้ำหนวก

อาการ     หูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน จะมีอาการเกิดขึ้นฉับพลันหลังจากเป็นไข้หวัด เจ็บคอ หรือเป็นโรคติดเชื้อของระบบหายใจอื่นๆ โดยจะมีอาการปวดในรูหู(แต่ดึงรูหูจะไม่เจ็บมากขึ้น) หูอื้อมีไข้สูง หนาวสั่น

สิ่งตรวจพบ     หูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน ในระยะแรกอาจมีไข้  การตรวจดูหูโดยใช้เครื่องส่องหู(otoscope) จะเห็นเยื่อแก้วหูโป่งออก และเป็นสีแดงเรื่อๆ     ในระยะต่อมา มีอาการทะลุของเยื่อแก้วหูทะลุเป็นรู และมีหนองไหล (ในระยะนี้ผู้ป่วยจะไม่มีไข้ และหายปวดหู)

 

Positive Data–                   พบหูอื้อข้างขวา

Negative Data

–                   ไม่มีประวัติการติดเชื้อในบริเวณทางเดินหายใจส่วนต้นมาก่อน

–                   ไม่พบของเหลวไหลออกมาผิดปกติ

–                   ไม่พบอาการปวด ตึง ในหู

–                   การตรวจดูหูโดยใช้เครื่องส่องหู(otoscope) ไม่พบเยื่อแก้วหูโป่งออก หรือเป็นสีแดงเรื่อๆ

โรคที่คาดว่าน่าจะเป็น ข้อมูลสนับสนุน/เหตุผล
2.              Impacted cerumenขี้หู (Cerumen หรือ Ear wax) เกิดจากสารไขมันที่ผลิตจากต่อมเหงื่อ (Sebaceous gland) และต่อมพิเศษ (Cerumenous gland) ในช่องหู โดยประกอบด้วย ผิวหนัง/เยื่อบุช่องหูที่หลุดลอก (Keratin) และสารที่ผลิตจากต่อมทั้งสองข้างต้น

อาการ จากมีภาวะขี้หูอุดตัน ได้แก่คันหู หูอื้อ ปวดหู การได้ยินลดลง มีเสียงดังในหู จากการเคลื่อนที่ไปมาของขี้หู เมื่อใช้เครื่องส่องหู ตรวจดู  จะพบมีขี้หูอุดเต็มรูหู

Positive Data–  4 สัปดาห์ก่อนมีขี้หูอุดรูหู

–  มีอาการหูอื้อ

–  mild  hearing  loss at right  ear

– มีอาการคันหู

Negative Data

–                   การตรวจดูหูโดยใช้เครื่องส่องหู(otoscope) ไม่พบขี้หูอุดตัน

3. Rupture eardrum (Tympanic membrane perforation )แก้วหูทะลุมักเกิดจากการ แคะหู เขี่ยหู การพยายามนำสิ่งแปลกปลอมออกจากหู การบาดเจ็บจากแรงกระแทกที่หู (เช่น การตบหู ซึ่งทำให้มีการเพิ่มของความดันภายในช่องหูชั้นนอก) การบาดเจ็บที่กะโหลกศีรษะ (ทำให้กระดูกบริเวณหลังหูหัก) การได้ยินเสียงดังจากวัตถุระเบิด หรือประทัดที่อยู่ใกล้ๆ และการมีความดันภายนอกหูจากสาเหตุต่างๆสูงเกินไป เช่น ในการดำน้ำ เป็นต้น

สาเหตุ  เกิดได้จากหลายสาเหตุ คือ                                                             1.  จากการกระทบกระแทก (Traumatic tympanic membrane perforations) : เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด เช่น การปั่นหูลึกเกินไปจนโดนเยื่อแก้วหู, เสียงประทัดที่ดังเกินไป, การมีความดันภายนอกสูงเกินไป เป็นต้น                                                          2. เกิดตามหลังการติดเชื้อในหูชั้นกลาง : เกิดในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในหูชั้นกลางเรื้อรังหรือรักษาไม่ดี ทำให้หนองในช่องหูชั้นกลางมีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ความดันในหูชั้นกลางสูงขึ้น จนดันให้เยื่อแก้วหูทะลุตามมา

อาการ   ผู้ป่วยจะมีอาการหูอื้อ หูตึง ซึ่งเกิดขึ้นทันทีภายหลังได้รับบาดเจ็บ บางคนอาจมีอาการปวดในรูหู หรือมีเลือดไหลออกจากหู

 

Positive Data–                   มีอาการหูอื้อข้างขวา

–                   มีประวัติใช้ไม้พันสำลีปั่นหู

Negative Data

–                   การตรวจดูหูโดยใช้เครื่องส่องหู(otoscope) ไม่พบการฉีกขาดหรือการทะลุของเยื่อแก้วหู

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Discussion 

จากการซักประวัติพบว่า  1  เดือนก่อนมา มีอาการหูข้างขวาอื้อ ได้ยินไม่ชัด ไปรักษาที่คลินิกใกล้บ้าน แพทย์บอกมีขี้หูอุดรูหู  จึงแคะออกให้  กลับมาบ้านยังมีอาการหูอื้ออยู่ ไม่ดีขึ้น 1 สัปดาห์ก่อนมาโรงพยาบาล ยังมีอาการหูอื้อร่วมกับอาการคันหู ไม่ปวดหู ไม่มีของเหลวไหลออกมาผิดปกติ ไปรักษาที่คลินิกแห่งเดิม ได้ยาแก้อักเสบมารับประทาน อาการคันหูไม่ดีขึ้น จึงมาโรงพยาบาล

จากการซักประวัติพบว่า เคยใช้ไม้พันสำลีเช็ดในรูหูบ่อยครั้ง ไม่เคยป่วยเป็นไข้ เป็นหวัด หรือติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนต้นมาก่อน ไม่ปวดหู  ตรวจร่างกายผู้ป่วยไม่มีไข้ ไม่มีน้ำหนองไหล จึงตัด Otitis media  ออก สงสัยอีก 2 โรค คือ Wax  blockage เนื่องจากยังมีอาการหูอื้อและเคยมีประวัติขี้หูอุดรูหู และ Rupture eardrum (Tympanic membrane perforation )ดังนั้น จึงต้องใช้ผลการตรวจพิเศษช่วยในการวินิจฉัย

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ /การตรวจพิเศษ

ใช้เครื่องส่องหู(otoscope)  พบเชื้อราในรูหู

Impression / Diagnosis                   

Otomycosis  การติดเชื้อราในหู

 

Plan

  1. Plan for treatment

–  ป้าย Clotrimazole Cream 1 หลอด

–   Chlorpheniramine 1×3 ๏  pc     20 tab.

–   Ketoconazole 1×1 ๏  pc    30 tab.

 

Plan for Education

 

Plan for education เหตุผล
1. แนะนำพยาธิสภาพของโรค สาเหตุของการเกิดโรค การรักษา,การป้องกันเกิดซ้ำ2. แนะนำการรับประทานยาฆ่าเชื้อราให้ครบตามแผนการรักษา

 

3. แนะนำไม่ให้แคะหู, ปั่นหู

 

 

 

4.แนะนำไม่ให้ดำน้ำหรือว่ายน้ำในแม่น้ำลำคลอง

ใช้สำลีอุดรูหูเวลาอาบน้ำ

5.  แนะนำอาการที่ควรรีบมาพบแพทย์ เช่นไข้สูงปวดหูรุนแรงมาก ชักเกร็ง หรือยังมีอาการหูอื้อไม่หาย

– เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง- เพื่อรักษาเชื้อโรคได้ครอบคลุมป้องกันอาการดื้อยาและป้องกันการกลับเป็นซ้ำ

– เพื่อป้องกันการนำเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายและทำให้ช่องหูเป็นแผลอักเสบอาจทำให้เกิดโรครุนแรงได้ เช่น ฝีในสมองเป็นต้น

– เพื่อไม่ให้น้ำเข้ารูหูป้องการติดเชื้อในรูหูได้

– เพื่อให้ผู้ป่วยปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง ป้องการเกิดภาวะรุนแรงได้

 

 

การวางแผนเพื่อการติดตามการรักษาและส่งต่อ ( Follow up / Referral plan )

นัด F/U อีก 2 สัปดาห์

ผลการติดตามการรักษา วันที่ 28 เมษายน 2558 พบว่า ผู้ป่วยมีอาการคันหูลดลง แต่ยังคงมีอาการหูอื้ออยู่ จึงทำการตรวจหูด้วย otoscope พบว่าเชื้อราที่หูลดจำนวนลง จึงอธิบายกลไกการเกิดโรคและแนวทางการรักษาให้สามีและผู้ป่วยรับทราบ  แพทย์ก็นัดรับยาต่อไปอีก 1 เดือน  เพื่อการรักษาที่ต่อเนื่อง ต่อไป

 

Plan  for  treatment เหตุผล

 Clotrimazole Cream

 

ข้อบ่งชี้
รูปแบบ Cream ใช้รักษา Cannidiasis ที่เกิดจาก Cannida albican และ ใช้รักษากลากลำตัว กลากขาหนีบ โรคน้ำกัดเท้า
อาการข้างเคียง
ผิวหนังร้อนแดง ปวดแสบปวดร้อน เกิดเป็นเม็ดตุ่มพอง บวม คัน ลมพิษและระคายเคือง
คำเตือน ข้อห้ามใช้ และข้อควรระวัง
1. ระวังอย่าให้สัมผัสกับตา
2. หยุดเมื่อมีอาการระคายเคืองหรือแพ้3. ยังไม่มีรายงานเกี่ยวกับความปลอดภัยจากการใช้ยาในหญิงมีครรภ์ หรือระยะให้นมบุตร

 

 

 

 

Plan  for  treatment เหตุผล
– Chlorpheniramine  1×3 ๏  pc     20 tab. ข้อบ่งชี้ยานี้เป็นสารต้านฮิสตามีน ใช้เพื่อช่วยบรรเทาอาการไข้ละอองฟาง (มีสาเหตุจากการแพ้สารพวกละอองเกสรดอกไม้ ฝุ่นละออง หรือสารอื่นในอากาศ) อาการแพ้ และหวัด ได้แก่ อาการจาม น้ำมูกไหล ตาแดง คันที่ตาและน้ำตาไหล คันจมูกและลำคอ

โดยทั่วไปยานี้ควรใช้ในผู้ใหญ่และเด็กอายุ 2 ปีขึ้นไป ไม่ควรใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี เพราะอาจมีอาการข้างเคียงที่รุนแรงได้

การใช้ยาในเด็กอายุ 2-6 ปี จะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ และต้องใช้ยาอย่างระมัดระวังในเด็กอายุ 6-11 ปี

ข้อควรระวัง

ข้อควรระวังในการใช้ ยาคลอเฟนิรามีน คือ

– หลีกเลี่ยงการทำงานกับเครื่องจักรหรือการขับขี่ยวดยานพาหนะ เพราะยานี้มีฤทธิ์ทำให้รู้สึกง่วงนอน

– ระวังการใช้ยากับผู้ที่แพ้ยาชนิดนี้

– Ketoconazole 1×1 ๏  pc    30 tab..  ข้อบ่งชี้ยานี้ใช้เพื่อรักษาการติดเชื้อรา เช่น กลากที่ลำตัว, กลากที่ขาหนีบ, เกลื้อน, รังแค และการติดเชื้อราในร่างกาย

ข้อควรระวัง

ข้อควรระวังในการใช้ยาคีโตโคนาโซล คือ

1. ระวังการใช้ยาในผู้ที่ป่วยที่เป็นโรคตับ

2.ห้ามใช้ยาชนิดรับประทานในหญิงตั้งครรภ์

3.ห้ามใช้ยากับผู้ที่แพ้ยานี้

·

 

 

บรรณานุกรม

 

นงณภัทร  รุ่งเนย. (2550). การประเมินภาวะสุขภาพสำหรับพยาบาลเวชปฏิบัติ. เพชรบุรี: มุมหนึ่ง พรินติ้ง.

 

ประไพ โรจน์ประทักษ์. (2551). เวชปฏิบัติทางการพยาบาล (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: บริษัทธนาเพรส จำกัด.

 

วราภรณ์ บุญเชียง. (บรรณาธิการ). (2556). การรักษาพยาบาลโรคเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงใหม่: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

 

ธีรพร รัตนาเอกชัย และสุภาภรณ์ ศรีร่มโพธิ์ทอง. (2551). ตำราหู คอ จมูก. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

 

วันดี ไข่มุกด์. (2555). โรคของหูชั้นนอก External ear diseases. สงขลา: คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

 

ธิดา นสานนท์, ปรีชา มนทกานติกุล และสุวัฒนา จุฬาวัฒนทล. (2552). คู่มือการใช้ยาสำหรับบุคลากรสาธารณสุข. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: บริษัท ประชาชน จำกัด.

 

สุรเกียรติ  อาชานานุภาพ. (2553). ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 1. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี

กรุงเทพฯ.

 

สุรเกียรติ  อาชานานุภาพ. (2553). ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 2. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี

กรุงเทพฯ.

 

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

www.nakhu.com แหล่งชุมนุมของคนชอบเที่ยว โดยรูปภาพและบทความที่จัดทำขึ้นทั้งหมดในเว็บไซต์ขอสงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย ห้ามผู้ใดทำซ้ำหรือเผยแพร่เชิงพาณิชย์ในทุกสื่อ ไม่ว่าจะเป็นบางส่วนหรือทั้งหมดโดยไม่ได้รับอนุญาต