เก็บมาเล่า » หัวใจความสาเร็จของการทางานให้เข้าถึงใจชุมชน

หัวใจความสาเร็จของการทางานให้เข้าถึงใจชุมชน

25 กันยายน 2015
11509   0

ดาวน์โหลด (1)

บทความสรุปสังเคราะห์บทเรียนการพัฒนาและเสริมศักยภาพชุมชนเพื่อการจัดการสุขภาพ

ภายใต้โครงการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิเขตเมืองและเขตชนบท โดยใช้เครื่องมือการจัดการความรู้

……………………………………………………………………….. ………………………………………………………………………….

บทเรียนจากงานชุมชน : หัวใจความสำเร็จของการทำงานให้เข้าถึงใจชุมชน

การเข้าถึงและเข้าใจชุมชน เพื่อสร้างและพัฒนาศักยภาพของชุมชนให้เข้มแข็งมีพลัง จนสามารถ

จัดการตนเองด้านสุขภาพได้ คนทำงานกับชุมชนต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิดในการทำงานร่วมกับชุมชนให้ได้ก่อน ว่า

เราเข้าไปทำงานชุมชน ไม่ได้ไปทำให้หรือทำแทนชุมชน แต่เราเข้าไปเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของ

ชุมชนซึ่งมีอยู่แล้ว ให้ชุมชนสามารถช่วยตนเองได้ อีกทั้ง เราต้อง วางเป้าหมายการทำงาน คือ มี

ประเด็นหรือประเด็นปัญหา และกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนก่อน จากนั้นจึงเข้าไปทำงานกับชุมชนด้วยความ

เข้าใจ

เราจะเรียนรู้ เข้าถึง เข้าใจชุมชน และนำทุนทางสังคมมาใช้ประโยชน์ในการทำงาน ได้อย่างไร ความ

ไว้วางใจของชุมชนที่มีต่อเรา นี่คือหัวใจของความสำเร็จ แล้วจะสร้างความไว้วางใจให้เกิดขึ้นได้อย่างไร ….

มีคำตอบจากประสบการณ์ตรงของคนทำงาน

1.ท่าที บุคลิกลักษณะเฉพาะตัวของคนทำงานชุมชน (เรียนรู้แล้วเลียนแบบได้)

1.1 คนทำงานชุมชน (โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ) ต้องเปิดใจกว้าง รับฟังความคิด ความเห็นที่

แตกต่างระหว่างเรากับชุมชน “รับฟังด้วยความนอบน้อม ” “ฟังให้ได้ยินเสียงชุมชน ” ไม่ใช่

“ฟังแต่ไม่ได้ยินหรือฟังไปอย่างนั้นเอง ” ตามหลักของสุนทรียสนทนา หรือตามตารานพ

ลักษณ์ “ต้องให้ความสำคัญกับคำพูดของชาวบ้าน” “คำพูดของชาวบ้านมีความหมาย”

1.2 เข้าหาชุมชนด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน “เราไม่ได้เก่งทุกเรื่อง” “ต้องยอมให้ชาวบ้านสอน

ได้

1.3 ไม่ใช้อำนาจ (ของความเป็นเจ้าหน้าที่ภาครัฐ) “ไม่ชี้นิ้ว” “ไม่สั่งการ” “ไม่ตัดสิทธิ์” “ไม่

หักล้าง

1.4 เชื่อมั่นศักยภาพของชุมชนว่า “เขาทำได้”

1.5 เข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนทั้ง “งานบุญ งานบ้าน งานวัด” และ “เป็นผู้ให้” คนทำงานชุมชน

ต้องระลึกอยู่ตลอดเวลาว่า “เราไม่ได้ทำตามหน้าที่” แต่ “เราทำงานที่หน้า” (หมายถึง หน้า

งานของเรา ไม่เฉพาะมีตามบทบาทหน้าที่ทางราชการ แต่ เมื่อชุมชนมีงานอะไร ขอความ

ช่วยเหลือ ขอความร่วมมือ แม้จะไม่ใช่งาน ตามบทบาทหน้าที่ของเรา เราสามารถตอบสนองได้

ทุกที่ ทุกเวลาที่)

1.6 เราต้องมีทัศนคติ “เชิงบวก ” มองชุมชนอย่างเห็นคุณค่า โดยเฉพาะ ทุนทางสังคมและ

วัฒนธรรม เราต้องเรียนรู้และเข้าให้ถึงซึ่งคุณค่า สาระ ฐานคิดที่อยู่เบื้องหลังของวัฒนธรรมนั้น

(โดยการเข้าร่วมกิจกรรมทางวัฒนธรรมชุมชน คุยกับคนเฒ่าคน แก่ หรือกลุ่มแกนนำชุมชน เป็น

ต้น) แล้วนำจุดเด่นหรือจุดร่วมนั้นมาผสมผสาน คู่ขนานการทำงานของเรา

2.ทีมทำงานในองค์กรมีความเข้มแข็ง มีเป้าหมาย มีแนวคิดและวิถีการทำงานในทิศทางเดียวกัน มี 2

ประเด็นที่สำคัญ คือ

2.1 สร้างสัมพันธภาพที่ดีให้คนในองค์กร (รพ.สต.)“เป็นครอบครัวเดียวกัน” “ที่นี่คือบ้านของ

เราด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การมีกิจกรรมร่วมกันบ่อยๆ ทานอาหารกลางวันกินกันเอง หรือการ

ปลูกผัก เลี้ยงปลา ไว้กินกันเองใน รพ.สต. เป็นต้น

2.2 สร้างความรู้สึกร่วมให้เกิดขึ้นในองค์กรให้ได้ว่า “งานสำเร็จได้เพราะเราทุกคนช่วยกัน”

  1. การสร้างกระบวนการเรียนรู้ในชุมชน

3.1 มีประเด็นที่สามารถนำมาสู่การสร้างความเป็นเจ้าของร่วมกัน เห็นเป้าหมายเดียวกัน ซึ่งทำใน

เรื่องที่เป็นวิถีของชุมชน ชุมชนจะมีข้อตกลง มีความรักสิ่งที่ทำ เป็นเจ้าของจับมือกันทำ

3.2 มีพื้นที่แลกเปลี่ยนในการพูดคุยร่วมกัน ในพื้นที่เปิดสถานีอนามัยให้กลายเป็นแหล่งพบปะของ

คนในชุมชน ชุมชนรู้สึกสถานีอนามัยเป็น “บ้าน”

3.3 มีของจริงในพื้นที่ที่นำมาสู่การพูดคุยเรียนรู้ร่วมกันได้

ดาวน์โหลด

  1. เราในฐานะ รพ.สต.จะสร้างความสัมพันธ์กับท้องถิ่นอย่างไร “ให้เนียน”

4.1 ต้องเป็นกลางทางการเมือง นักการเมืองท้องถิ่นเขามาแล้วก็ไป แต่ “เรายังอยู่กับ

ชาวบ้านต้อง “เอา ชาวบ้านเป็นหลัก” และไม่ควรแสดงความคิดเห็นทางการเมือง

4.2 ต้องเรียนรู้ความเป็นตัวตนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ของเราว่า นายกองค์กร

ปกครองส่วนท้องถิ่นมีบุคลิกลักษณะอย่างไร ปลัดเป็นอย่างไร เพื่อเราจะเข้าหาเขาได้ถูกจริต

ในขณะเดียวกัน ตัวเราเองก็ต้องรู้ว่ามีอะไรดี หรือมีอะไรที่จะไปช่วยท้องถิ่นได้ (ท้องถิ่นก็หวัง

ให้เราช่วยในบางเรื่องเหมือนกัน)

4.3 ใช้วิธีการเข้าหาแบบ “ตีสนิท” “พูดคุยทุกเวทีที่เจอกัน” ถ้ายังยากอยู่ก็ต้อง “เข้าทางเครือ

ญาติของผู้บริหารท้องถิ่น

4.4 ให้ความสำคัญกับท้องถิ่น ยกย่อง เชิดชู ท้องถิ่น โดยชวนเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน ตั้งเป็น

คณะทำงาน บางเรื่องให้ท้องถิ่นเป็นพระเอก เช่น ตั้งเป็นคณะกรรมการพัฒนาสาธารณสุข

ระดับตำบล คณะกรรมการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล แต่ทั้งนี้ต้องให้ท้องถิ่น

ได้แสดงบทบาทให้มากด้วย

4.5 วางแผนการทำงานร่วมกันโดยใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ หรือกระบวนการทำแผนแบบ

อื่นๆ ที่เน้นให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วม และเป็นเจ้าของงานสุขภาพ

4.6 ทำงานแบบ “เอาแรงกัน” เราต้องทำงานเชื่อมโยงกับงานอื่นๆ (ของท้องถิ่น) เราไม่ใช่

เจ้าภาพเดียว

  1. เสริมศักยภาพการทำงานชุมชนในคนรุ่นใหม่

ศักยภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขรุ่นเก่า มาจากการมีวิถีชีวิตร่วมกับคนในชุมชน ได้พึ่งพา

อาศัยกันตั้งแต่เรื่องกิน อยู่ ทำงาน เรียนรู้จากการเข้าร่วมกิจกรรม รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ทำให้เกิด

การเรียนรู้ชุมชนอย่างธรรมชาติ ทำทุกเรื่องในสถานที่ทำงาน แต่ความเจริญของสังคมทำให้เจ้าหน้าที่

สาธารณสุขรุ่นใหม่มีโอกาสเรียนรู้ชุมชนน้อยลง “ ไม่มีพื้นฐานชีวิตในสังคมชุมชนที่อยู่ “ ในวัยเด็กมุ่งเรียน

แต่กลับมีความสามารถในด้านเทคโนโลยี่ เมื่อเข้าสู่งานที่มีระบบการแบ่งงานทำตามตำแหน่งหน้าที่ ได้ผลัก

ให้เกิดขอบเขตการทำงานเฉพาะเรื่อง เจ้าหน้าที่สาธารณสุขรุ่นใหม่ทำตามหน้าที่มีตัวเลขมีเป้าหมาย ทำให้

ขาดการสัมผัสและเรียนรู้ร่วมกับชุมชน การพัฒนาคนรุ่นใหม่ในการทำงานชุมชน ควรมี

5.1 มีพี่เลี้ยงเข้ามาช่วยดูแลและเตรียมความพร้อมที่จะเรียนรู้ในชุมชน

5.2 สัมผัสวิถีชีวิต รู้จักชุมชนอย่างลึกซึ้ง โดยใช้ความจริง ชีวิตจริง ในพื้นที่พาเรียนรู้

5.3 “พาทำ” ทำให้เห็น ทำเป็นตัวอย่าง ว่าทำงานอย่างไรจนได้ใจและได้ศรัทธาจากชุมชน

5.4 ปรับแนวคิด ทัศนคติ ในเรื่องชุมชนมีศักยภาพ โดยสร้างโอกาส ผลักดันให้ ได้ไปพูดคุยเรียนรู้

กับปราชญ์ ผู้นำในชุมชน

5.5 ทำให้คนรุ่นใหม่ได้เห็นคุณค่าตนเอง จากการลงไปทำงานในชุมชน

5.6 พาไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวทีอื่นๆ

  1. ทำงานชุมชนอย่างมีสุขอย่างไร

6.1 พื้นฐานดูแลตนเองให้มีสุขภาพกายแข็งแรง มีการบริหารจิตใจตนเอง มีสมาธิ ปล่อยวางและ

เบิกบาน

6.2 ดูแลครอบครัวให้อบอุ่นร่วมใช้ชีวิตเรียนรู้ทำงานในชุมชนด้วยกัน

6.3 ทำที่งานให้น่าอยู่ สร้างบรรยากาศเอื้อเฟื้อช่วยเหลือ มีความเป็นพี่น้อง

6.4 เป็นนักเรียนรู้ สร้างโอกาสเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา

6.5 เห็นคุณค่าตนเองในการทำงานชุมชน

6.6 การทำงานชุมชน เป็น “บุญ” อย่างหนึ่ง

เป็นไงบ้างครับ เทคนิคการทำงานในชุมชนที่เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ไม่ยากเลยใช่ไหมครับ

เพียงแต่เราจะพร้อมที่จะก้าวมาอยู่ตรงจุดนี้เมื่อไหร่ เท่านั้นเอง ขอให้ทุกท่านโชคดี

มีความสุขกับการทำงานในชุมชนครับ

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

www.nakhu.com แหล่งชุมนุมของคนชอบเที่ยว โดยรูปภาพและบทความที่จัดทำขึ้นทั้งหมดในเว็บไซต์ขอสงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย ห้ามผู้ใดทำซ้ำหรือเผยแพร่เชิงพาณิชย์ในทุกสื่อ ไม่ว่าจะเป็นบางส่วนหรือทั้งหมดโดยไม่ได้รับอนุญาต