สุขภาพ » ปัญหาสำหรับคุณพ่อมือใหม่เมื่อภรรยาเริ่มตั้งครรภ์(1)

ปัญหาสำหรับคุณพ่อมือใหม่เมื่อภรรยาเริ่มตั้งครรภ์(1)

23 ธันวาคม 2012
3150   0

ปัญหาสำหรับคุณพ่อมือใหม่เมื่อภรรยาเริ่มตั้งครรภ์(1)

เมื่อภรรยาตั้งครรภ์ขึ้นมาสมาชิกใหม่ในครอบครัวพร้อมที่จะลืมตามาดูโลก ล้วนแต่ส่งผลกระทบถึงสามีหรือว่าที่คุณพ่อมือใหม่ด้วยกันทั้งนั้น จากการวิจัยพบว่า ว่าที่คุณพ่อมือใหม่มักจะมีปัญหาในการปรับตัวในระหว่างที่ภรรยาตั้งท้องได้เช่นเดียวกับผู้ที่ตั้งครรภ์เอง และจะมีต่อเนื่องไปจนคลอด ดังนั้นว่าที่คุณพ่อมือใหม่ จึงต้องทำความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงทั้งทางสรีระ จิตใจและอารมณ์ ของคุณแม่ ซึ่งจะช่วยให้ทั้งสองฝ่ายสามารถปรับตัวเข้าหากันได้ดี

1. กลัวการมีเพศสัมพันธ์

เป็นประเด็นสุดยอดความกังวลใจของคุณพ่อมือใหม่มากที่สุดเมื่อภรรยาตัวเองเริ่มตั้งครรภ์ มีความวิตกกังวลว่่าการทำการบ้าน…กับคุณแม่จะเป็นอันตรายต่อลูกในท้อง จนบางคู่ตกลงเขียนสนธิสัญญางดกิจกรรมจ้ำจี้ฉบับชั่วคราว เพราะกังวลว่าการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงเวลานี้ อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อลูกในท้องซึ่งเป็นความรู้สึก (ไปเอง) ของทั้งคุณพ่อและคุณแม่มือใหม่หลายๆ คู่เลยทีเดียว รวมถึงความรู้สึกทางเพศของคุณพ่อมือใหม่หลายคนที่อาจจะเปลี่ยนไป เนื่องจากรูปร่างของภรรยามีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น

การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างตั้งครรภ์ จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อลูกในท้องแต่อย่างใด เพราะธรรมชาติได้สร้างถุงน้ำคร่ำที่เหนียวแน่น คอยโอบอุ้มลูกในท้องของคุณไว้ ช่วยป้องกันการกระแทกกระเทือนได้เป็นอย่างดี  คุณทั้งคู่ก็ยังสามารถกุ๊กกิ๊กกันได้ตามปกติ โดยมีข้อควรระวังบางประการ ดังต่อไปนี้

1.1 ข้อควรระวัง
1. หลีกเลี่ยงท่าที่ต้องกดทับท้องของคุณแม่โดยตรง
2. ในช่วงเวลาตั้งครรภ์ เต้านมและหัวนมของคุณแม่จะบอบบาง การจับต้องลูบไล้นั้นควรเป็นการสัมผัสโดยเบาๆ ด้วยมือเท่านั้น
3. ระมัดระวังเรื่องความสะอาด และใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง จะช่วยป้องกันการติดเชื้อต่างๆ หลังการทํากิจกรรมได้

1.2 ช่วงเวลาต้องห้าม 
3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ 
ที่การปฏิสนธิเพิ่งจะเริ่มต้นก่อตัว เริ่มสร้างอวัยวะต่างๆ ร่างกายของลูกจึงบอบบางมาก หากได้รับการกระทบกระเทือนในช่วงนี้ อาจเป็นอันตรายต่อลูกได้ ควรงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์ไว้ก่อน เพื่อป้องกันการแท้ง
1 เดือนก่อนครบกําหนดคลอด เนื่องจากช่วงเวลานี้ปากมดลูกอ่อนตัวมาก การมีเพศสัมพันธ์ในช่วงเวลานี้อาจไปกระตุ้นให้มดลูกเกิดการหดตัว คุณแม่อาจมีอาการ   เจ็บครรภ์ก่อนกําหนดคลอดจริงได้
6 สัปดาห์หลังคลอด เป็นช่วงเวลาที่มดลูกยังเข้าอู่ไม่หมด หากทํากิจกรรมในช่วงเวลานี้ ออกจะดูใจร้ายไปหน่อย คุณแม่อาจอึดอัด ปวดหน่วงที่ท้องน้อย และเจ็บแผลที่เพิ่งคลอดได้ ขอให้คุณพ่อบ้านที่แสนดีอดใจรออีกเพียงนิดเดียวเท่านั้นเอง

1.3 ท่าแนะนํา

Spooning position เป็นท่าที่ค่อนข้างสบายเพราะไม่มีแรงกดบนหน้าท้องหญิงตั้งครรภ์และมีโอกาสเคลื่อนไหวได้ ฝ่ายชายจะอยู่ทางด้านหลังของหญิงตั้งครรภ์และเลือกมุมในการสอดใส่ พยายามหลีกเลี่ยงการนอนตะแคงขวาหากเลือกใช้ท่านี้


 

Side by side position ท่านี้จะช่วยให้การสัมผัสระหว่างทั้งคู่มากกว่าท่า spooning แต่การจะสอดใส่ก็ต้องมีการพลิกแพลงเล็กน้อย โดยอาจต้องใช้ขาไขว้กันไปมาเพื่อช่วยในการสอดใส่ ท่านี้จะคล้ายท่า spooning ตรงที่

ไม่มีการกดน้ำหนักตัวลงบนหญิงตั้งครรภ์

 

Woman on top position ประโยชน์ของท่านี้คือฝ่ายหญิงกำหนดได้เองว่าต้องการให้เป็นไปในมุมไหน ลึกแค่ไหน แต่ยิ่งอายุครรภ์มากขึ้นอาจจะรู้สึกว่าท่านี้จะทำให้รู้สึกเหนื่อยมากขึ้น รวมถึงกรณีเรื่องการทรงตัว ซึ่งอาจจะทำให้หญิงตั้งครรภ์พอใจกับการอยู่ด้านล่างมากกว่า

 


 

 

Rear entry position เป็นท่าที่หญิงตั้งครรภ์คุกเข่าคลาน โดยฝ่ายชายจะสอดใส่จากทางด้านหลัง ประโยชน์ของท่านี้คือการสอดใส่จะไม่ลึกจนเกินไปและไม่มีการกดน้ำหนักตัวลงบนหญิงตั้งครรภ์ ท่านี้อาจจะใช้เมื่ออยู่บนเตียงหรือปรับร่วมกับท่าถัดไป

 

Edge of the bed position ท่านี้หญิงตั้งครรภ์จะอยู่บริเวณขอบเตียง โดยฝ่ายชายอยู่นอกเตียงซึ่งอาจจะคุกเข่าหรืออยู่ในท่ายืนก็ได้ และอาจจะใช้ร่วมกับท่า rear entry positionท่านี้ไม่มีการกดน้ำหนักตัวลงบนหญิงตั้งครรภ์เช่นกัน

วันนี้ได้ท่าไปก่อน ไว้บทความหน้าเราจะมาต่อกันเรื่อง ปัญหาที่เกิดจากการเปลี่ยนเเปลงของคุณแม่กันบ้าง

ขอบพระคุณข้อมูลดีๆจาก ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

http://www.med.cmu.ac.th

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

www.nakhu.com แหล่งชุมนุมของคนชอบเที่ยว โดยรูปภาพและบทความที่จัดทำขึ้นทั้งหมดในเว็บไซต์ขอสงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย ห้ามผู้ใดทำซ้ำหรือเผยแพร่เชิงพาณิชย์ในทุกสื่อ ไม่ว่าจะเป็นบางส่วนหรือทั้งหมดโดยไม่ได้รับอนุญาต