ข้อมูลทั่วไป นาคู » ประวัติความเป็นมา ภูมิลำเนาเดิมของชาวอำเภอนาคู

ประวัติความเป็นมา ภูมิลำเนาเดิมของชาวอำเภอนาคู

27 พฤศจิกายน 2013
4585   0

ประวัติความเป็นมา ภูมิลำเนาเดิมของชาวอำเภอนาคู 

บริเวณพื้นที่ที่ตั้งอำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ ด้วยการสืบความไถ่ถามและสืบค้นหลัก

ฐานเอกสาร สภาพพื้นที่ หลักฐานที่เป็นคำบอกเลาสืบต่อ ๆ กันมาหลายชั่วอายุคน

มีข้อมูลบางประการที่พอจะนำมาเรียบเรียงเป็นเรื่องราวเล่าขานพอเป็นเอกสารค้นคว้าสีบไป ดังนี้

ชนชาติต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย นอกจากชาวไทยแล้ว ยังมีคนไทย ในกลุ่มชน

อื่น ๆ อีกหลายกลุม เช่น ไทพวน หรือลาวพวน ย้อ กะเลิง กะโซ่ กะตาก ซ่ง หรือโซ่ง ข่า ภูไท

หรือพุไท ชนเผ่าต่าง ๆ ดังกลาวนึ้ มึถึ่นฐานเดิมอยู่ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงประเทศลาวซึ่งมีลักษณะ

ทางภาษาแตกต่างกัน

view_resizing_images

หุบเขาภูพานด้านทิศตะวันตก หมู่บ้านที่ตั้งอยู่ก่อนแล้วมี 3 หมู่บ้าน คือ บ้านนาคู บ้าน

นาขาม และบ้านนาคอง เดิมได้อพยพมาจากเมีองนาน้อยอ้อยหนู หรือน้ำน้อยอ้อยหนู

เมีองน้ำน้อยอ้อยหนูเป็นหัวเมีองใหญู่เมืองหนึ่งในเขตสิบสองจุไทตอนใต้ กาลครั้งหนึ่งเกิดทุพภิกขภัย

ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ราษฎรอัตคัดขัดสนไม่ได้ประกอบการทำนาทำไร่จึงเกิดการขาดแคลนเดือด

ร้อนทั่วไป เจ้าเมืองจึงคิดแก้ไขด้วยวิธีอพยพ หรือไม่ก็มีราษฎรถูกกดขี่ข่มเหงจากเจ้าเมือง จึงเกิดการ

ทะเลาะกันขึ้นกับนายครัวผู้เป็นหัวหน้า นายครัวจึงเกลี้ยกล่อมเอาพรรคพวกของตนออกจาก

เมีองน้ำน้อยอ้อยหนู อพยพลงมาทางตอนใต้มาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของเจ้าเมีองนครเวียงจันทน์

เมีองน้ำน้อยอ้อยหนูมีชนเผ่าหลายเผ่าหลายภาษา การอพยพลงมาคงจะอพยพมาเป็น

หมวดหมู่ ซึ่งแต่ละเผ่าลงมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารเจ้าเมีองเวียงจันทน์ และได้สอบถามอาชีพที่

เคยทำเมี่อครั้งอยู่เมีองน้ำน้อยอ้อยหนู เมี่อได้ทราบว่าพวกใดเคยทำไร่ข้าวและทำสวนก็ให้อพยพ

ไปตั้งบ้านเรีอนอยู่ตอนใต้ฝั่งตะวันออกแม่น้ำโขงติดต่อเขตแดนญูวน เพราะมีภูเขามากแล้วรวม

เป็นหมู่บ้านเป็นเมืองตามเผ่าพันธุ์และภาษา เช่น เมิองวัง เมีองพิณ เมืองนอง เมืองตะโปน (เซโปน)

เมืองเชียงร่ม และเมีองผาบัง เป็นต้น แต่ก็ยังมีบางครอบครัวอพยพข้ามแม่น้ำโขงมาตั้งบ้าน

เรือนอยูทางตะวันตก (ฝั่งขวา) รวมกันเป็นหมู่บ้าน แล้วทำนาทำไร่บางส่วนก็อพยพเป็นหมวด

เป็นหมู่กันลงมาเรื่อย ๆ สันนิษฐานว่า บ้านบก และบ้านด้วยนายม มักอพยพลงมาในรูปลักษณะนี้

พอลึกถึงหุบเขาภูพานเห็นชัยภูมิที่เหมาะสมก็ตั้งบ้านเรือนอยู่ในทำเลที่ตนชอบ

687545-img-1372317256-17

กลุ่มชนต่าง ๆ ที่อพยพมาจากฝั่งโขงตะวันออกประเทศลาว ได้อพยพเข้ามาอยูใน

สยามประเทศ เนี่องด้วยเหตุผลในการสงครามบ้าง ถูกกดขี่ข่มเหงไม่ได้รับความเป็นธรรมจาก

ผู้ปกครองบ้านเมืองบ้าง และประสพทุพภิกขภัยฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลบ้าง ถูกกวาดต้อนมา

และติดตามญูาติพี่น้องมาภายหลังบ้าง ต่าง ๆ คราวกันตามสมัยและเหตุการณ์เท่าที่ค้นพบหลัก

ฐานมีดังต่อไปนี้

เมื่อพุทธศักราช 2384 กลุ่มอุปฮาด ขุนเทพ และขุนมีสิทธิ์ เป็นครัวอพยพมาจาก

บ้านบกและกลุ่มโคตรหลักคำ พรหมดวงสี และหมอลำพอมอน เป็นครัวอพยพมาจาก

บ้านด้วยนายมเมืองฝั่งตะวันออกประเทศลาว เป็นหัวหน้าผู้นำอพยพ สาเหตุที่อพยพมานั้น

คือ การทำสงคราม ถูกกดขี่ข่มเหงจากผู้ปกครอง และอีกอย่างหนึ่ง เป็นเพราะรัฐราโชบาฮ

ของรัชกาลที่ 1 พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์จะให้ประชาชนอพยพมาฝั่งตะวันตกให้มากที่สุด

เพื่อตัดกำลังพลของนครเวียงจันทน์

ในระหว่างประชาชนเกิดความเดือดร้อนดุจเปลวเพลิงเผาผลาญูระส่ำระส่าย

อยู่นั้น ญูวนจะถือโอกาสเกลี้ยกล่อมเอาไป จึงปล่อยให้ราษฎรอพยพข้ามแม่น้ำโขงมายังฝั่ง

ตะวันตกตามสมัครใจ

taipuan1

เมื่อเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น นายครัวบ้านบก จึงรวบรวมพรรคพวก ญูาติมิตร และ

บุตรภรรยา มาบรรจบครบกันกับครอบครัวบ้านด้วยนายม และครอบครัวเมืองเซโปน อพยพ

มาจากฝั่งตะวันออกประเทศลาว จึงพร้อมกันข้ามแม่น้ำโขง ข้ามห้วยหนองคลองบึง ข้ามป่าดง

พงพี ข้ามโขดสิงขร อพยพเรื่อยมา เลือกหาภูมิลำเนาที่เหมาะเพี่อตั้งหลักแหล่งทำมาหากิน เมี่อ

ครัวบ้านบก ครัวบ้านด้วยนายม และครัวเมีองเซโปน ข้ามแม่น้ำโขงมายังฝั่งตะวันตกแล้ว ถึง

หว่างเขาภูพานข้างทิศตะวันตก ครัวเหล่านั้นได้ตั้งค่ายพักแรมปะปนกันอยู่ในหุบเขาภูพาน เพื่อ

ชะลอการหาชัยภูมิที่เหมาะสมในการตั้งภูมิฐานบ้านช่อง เมี่อเห็นทำเลอันเหมาะสมแล้วก็แยก

ย้ายกันตั้งบ้านเรีอนตามสายญาติพี่น้อง ตั้งเคหะสถานในทำเลที่ตนชอบ

การเลอกทำเลที่ตั้งถิ่นซานบ้านช่องอันเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกที่ตั้งชุมชนในอดีต ดังนี้

1. สภาพทางธรรมชาติ นับเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการเลือกที่ตั้งถิ่นฐาน สภาพ

ทางธรรมชาติมีหลายประการ ได้แก่

1.1 สภาพภูมิประเทศ ได้แก่ เชิงเขา ที่ราบ ที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง หุบเขา

เป็นต้น พวกวัฒนธรรม “ข่า “พุไท หรือผู้ไทย” มักจะอาศัยอยู่ตามเชิงเขา

และหลังเขาภูพาน ส่วนวัฒนธรรม “ลาวิ ลาวพวนหรือไทพวน” มักจะอยู่ตามพื้นราบ

แต่ก็ไม่เสมอไปนั้นจึงขอยกเป็นรายกรณี ดังนี้

ชุมชนที่ตั้งอยู่ตามแหล่งน้ำ ชึ่งมักจะมีคำว่า“หนอง บึง กุด ห้วย วัง น้ำ และบ่อ

อยู่ด้วย เช่น บ้านหนองห้าง บ้านหนองขามปัอม บ้านหนองอีกอม บ้านกุดตาใกล้ บ้านวังเวียง

บ้านบ่อแก้ว บ้านน้ำปุ้น บ้านน้ำคำ

ชุมชนที่ตั้งอยู่ที่ดอนหรือที่สูงน้ำท่วมไมถึง ซึ่งจะมีคำว่า“ สูง โคก ดอนโนน” อยู่ด้วย

เช่น บ้านโนนสูง บ้านโคกก่อง บ้านโคกยาว บ้านดอนงิ้ว บ้านดอนแคน บ้านโนนศาลา

บ้านจอมศรี บ้านโนนนาคำ

ชุมชนทีตั้งอยู่บนที่ราบ ซึ่งมักจะมีคำว่า “นา” อยู่ด้วย เช่น บ้านนาคู บ้านนาสีนวล

บ้านนางาม บ้านนากระเดา บ้านนายอ บ้านนานลอง บ้านนากุดสิม

ชุมชนที่ตั้งอยู่บริเวณหบเขา ซึ่งมักจะมีคำว่า “ภู” อยู่ด้วย เช่น บ้านภูแล่นช้าง

ชุมชนที่ตั้งอยู่บริเวณป่าไม้มีต้นมะม่วงมาก ซึ่งมักจะมีคำว่า “ม่วง” เช่น บ้านม่วงกุล

บ้านม่วงนาดี หรือมีต้นไม้ชาดมากในบริเวณปลูกบ้าน มักจะมีคำว่า “ชาด” อยู่ด้วย

เช่น บ้านชาด หรือมีพืชชนิดอื่น ๆ ที่ใช้เป็นยาสมุนไพร ซึ่งมักจะมึคำว่า “ว่าน” อยู่ด้วบ

เช่น บ้านหว้าน

671928-img-1366347765-8

1. 2 สภาพทางเศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ของผู้คนในสมัยนั้นขึ้นอยู่กับ

การเกษตร ได้แก่ การทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ ซึ่งพอจะสีบเสาะร่องรอยได้จากชุมชน

แต่ส่วนมากจะคำนึงถึงการทำนามากกว่าอย่างอึ่น เช่น กรณีเมีองคำเกิด เมืองคำม่วน อพยพ

มาอยู่บ้านแซงกระดานหรือแชงบาดาน ในปี พ.ศ 2381 ปรากฎว่า

“ภูมิฐานไร่นามีน้อย ครอบครัวเมืองคำเกิด เมืองคำมวน จะตั้งอยู่บ้านแซงกระดาน

ด้วยกันทั้งสองเมืองที่ไร่นาหาพอไม่ และ ที่ตั้งบ้านท่าขอนยางริมน้ำประชีที่ไร่นามีมาก

พวกครอบครัวจะตั้งบ้านเมืองอยู่ได้อีกแห่งหนึ่ง”

1.3 สภาพด้านสังคมและวัฒนธรรม นอกจากอิทธิพลทางสภาพ

ธรรมชาติและสภาพทางเศรษฐกิจ จะเป็นปัจจัยในการกำหนดการตัดสินใจเลีอกทำเลที่ตั้ง

ชุมชนแล้ว อิทธิพลของสังคมและวัฒนธรรมก็เป็นเงื่อนไขหนึ่งเช่นเดียวกัน จากเหตุการณ์ทาง

ประวัติศาสตร์พบว่าหลายชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานรวมกันหรือใกล้กันมักจะมีขนบธรรมเนียม

ประเพณีคล้ายคลึงกัน กลุ่มวัฒนธรรมเดียวกันที่อพยพมาภายลังก็จะเข้ามาสมทบเรื่อย ๆ เช่น

กลุ่มวัฒนธรรมลาวพวน หรือ ไทพวน ก็มักจะไปอยู่แถบอำเภอนาคู กลุ่มผู้ไทย (พุไท) ก็มัก

จะไปตั้งอยู่แถบอำเภอเรณูนคร เขาวง พรรณานิคม กลุ่มข่าก็จะไปตั้งถิ่นฐานอยู่ เเถบมุกดาหาร

สกลนคร กลุมโส้ ก็จะไปตั้งอยู่แถบกุสุมาลย์ กลุ่มแสงก็จะอยู่แถบเมีองอาทฆาต นครพนม

กล่มย้อก็จะอยู่แถบสกลนคร ท่าขอนยาง แซงบาดาล กลุ่มโย้ยก็จะอยู่แถบวานรนิวาส

อากาศอำนวย สว่างแดนดิน

สาวภูไท-ที่เรณูนคร

จึงพอสรุปได้ว่าการเลือกทำเลตั้งชุมชนในอดีตมักจะคำนึงถึงประเด็นดังต่อไปนี้

1. มีแหล่งน้ำเพื่อบริโภคตลอดปี น้ำท่วมไม่ถึงหากท้องที่ใดขาดแคลนแหล่งน้ำก็มัก

จะอพยพไปเลือกทำเลใหม่ เช่น กรณีเมืองกาฬสินธุ์ เมื่อแรกตั้งหมู่บ้าน “กางหมื่น” แต่ขาดแคลน

น้ำในฤดูแล้ง จึงอพยพมาตั้งอยู่ “แก้งส้มโฮงดงสงเปลือย”

2. มีดินอุดมสมบูรณ์เหมาะสมแก่การเพาะปลูก โดยเฉพาะการทำนา ทำสวน เก็บของป่า

ซึ่งมักจะสังเกตดูว่า “ดินดำ น้ำชุ่ม” หรือไม่ ส่วนการสังเกตป่าไม้ก็จะดูว่า ลักษณะลำต้น

สูงตรงหรือไม่ ถ้าไม่ตรงหรีอหงิกงอ เชื่อว่าชั้นดินข้างล่างมึชั้นของหินหรือสันดานไม่เหมาะ

แก่การเพาะปลูก เป็นต้น

3. ปลอดภัยจากการรุกรานหรือการรบกวนด้วยประการทั้งปวง เช่น กอ่มเจ้าโสม

พะมิต เมื่ออพยพออกจากเวียงจันทน์ จึงต้องอพยพข้ามเทือกเขาภูพานลงมาเรื่อย ๆ จน

มาถึงแก้งส้มโฮงดงสงเปลือยตั้งเป็นเมืองกาฬสนธุ์

4. มีบริเวณสอดคล้องกับแนวความเชื่อและตำราการดูลักษณะการตั้งบ้านเมิอง

เมื่อเห็นทะเลที่เหมาะสมแล้ว ก็kเยกย้ายกันไปตั้งบ้านเรีอนตามสายญาติพี่น้องตั้ง

เคหะสถานในทำเลที่ตนชอบดังข้อความในจดหมายเหตุ เอกสารรัชกาลที่ 5

กระทรวงมหาดไทย เล่ม 12 จุลศักราช 1239 ว่า

เดิมท้าวโคตรหลักคำ เพี้ยพรหมดวงสี เป็นนายครัวในเมืองวัง ตั้งอยู่ฟากของ

ตะวันออกษาภิภัก (เข้าใจว่าหมายถึงสวามิภ้กดิ์) พาครอบครัวมาตั้งอยู่บ้านนาครอง แต่เมื่อ

รัชกาลที่ 2 จนมาถึงแผ่นดินรัชกาลที่ 3 อนุวงศ์เป็นกระบด ข้อความนี้เป็นสารตราของพระยา

เมื่อ พ ศ 2320 จุลศักราช 1239 (การพิมพ์ข้อความนื้ไม่ได้แก้ไขต่อเติมเดิม

เขียนไว้อย่างไรก็อย่างนั้น) และข้อความในตำนาน พุไทยวัง ของนรเก โทธิเบศร์วงษา ว่า

พวกโคตรหลักคำ เมืองวัง พากันไปร้องเรียนต่อเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์

จะขออยู่กับเจ้าอนุวงศ์ ฝ่ายเจ้าอนุวงศ์จึงตรัสถามว่า ยังมีที่แห่งใดบ้างที่เหมือนเมืองวัง มี

ขุนนางผู้หนึ่งกราบทูลขึ้นว่า ตามที่เห็นมาก็มี ดงขี้ฮีน หลุบอีมัน อีเติ่ง อีด่อน (อยู่ท้องที่

ตำบลนาคู และตำบลภูแล่นช้าง) เมื่อกลับมาถึงเมืองวังเเล้วก็อพยพครอบครัว ญาติมิตร

หนีภัยโหดร้ายทารุณของเจ้าพระยาราชเตโช เจ้าเมืองวัง มาอยู่ดงขี้ฮีน หลุบอี่มัน อีเติ่ง และ

อีด่อน ตามคำแนะนำจากทางนครเวียงจันทน์ก่อนเจ้าอนุวงศ์เป็นกบฏต่อไทย

กลุ่มโคตรหลักคำ พรหมดวงสีและหมอลำพอมอน นำครอบครัวพรรคพวก และ

ญาติมิตรเป็นครอบครัวบ้านด้วยนายมได้เข้ามาตั้งบ้านอยู่บ้านนาคอง บ้านนาขาม ภายหลัง

ได้ยกบ้านนาคองเป็นเมืองภูแล่นช้าง ขึ้นกับเมืองกาฬสินธุ์

อุปฮาด ขุนเทพ และขุนมีสิทธิ์ นายครัวบ้านบกก็อพยพครัวเรือน ไพร่พล บุตร

ภรรยายกไปตั้งเคหะสถานที่เห็นว่าเป็นทำเลอุดมสมบูรณ์ มีชัยภูมิที่เหมาะสม เพื่อตั้งหลัก

แหล่งทำมาหากิน จึงตั้งบ้านเรือนในหุบเขาภูพานข้างทิศตะวันตก ที่แห่งนั้นเป็นสันคูและ

เนินดินสูง ตั้งชื่อบ้านว่า “บ้านนาคู” มีหนองใหญ่ใกล้หมู่บ้าน เรียกว่า “กุดนาคู” ทุ่งนาอยู่ล้อม

รอบหมู่บ้าน เรียกว่า “ทุ่งกุดนาคู” ปัจจบันกยังเรียกเช่นนื้อยู่ สิ่งที่เหลือไว้ให้ชาวบ้านได้เห็น

และเข้าใจว่าเป็นบ้านเก่าคือเศษอิฐหักพังบ้างเและอุโบสถเก่า สันนิษฐานว่าที่ตรงนี้เป็นวัด

และมีโบสถ์เป็นบ้านร้างเก่า ส่วนสันคูและเนินดินชาวบ้านเจาะเข้าไปทำไร่ทำนาหมดสิ้น

เดิมบ้านนาคู ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้านมีลำห้วยยางเป็นเขตกั้นห่าง

จากหมู่บ้านประมาณ 1 กิโลเมตร เหลือเพียงต้นมะม่วงใหญ่ใบดกร่มคลึม เกิดผลดกมีรส

หวาน หอมเป็นที่พอใจแก่ผู้ที่ได้บริโภคยิ่งนัก และมีเศษอิฐหักพังเท่านั้น

เหลือไว้เป็นอนุสรณ์ให้อนุชนรุ่นหลังได้เห็นเป็นขวัญตาสบมาจนทุกวันนื้

ผู้สูงอายุได้เล่าขานสืบต่อกันมาว่า แต่ก่อนบ้านนาคูเก่านี้ ผู้คนยำเกรงมาก ใคร

ไม่กล้าผ่านเข้าไปใกล้เลย มีต้นไม้ใหญ่ยืนทะมึนแผ่กิ่งก้านสาขาหนามหนาใบดกอยู่หลายต้น

เป็นป่ารกชัฏเป็นที่เกรงขามแกผู้สัญจรไปมาและพบเห็น

ต่อมามีชนพวกหนึ่งแสดงตนเป็นชนชาติขอม มีวิชาอาคมขลัง แสดงแผนที่ว่า

ตรงนี้บรรพชนของเขามาสร้างไว้นานแล้ว นำเอาพระพุทธรูป ทอง เงิน นาก และวัตถุต่าง ๆ

ที่มีอยู่ในโบสถ์วัดร้างนึ้ไปหมดสิ้น ความเข็ดขวางก็ลดน้อยลงไป ชาวบ้านก็ทำนาทำไร่เจาะ

เข้าไปจนหมดสภาพเป็นบ้านเก่าวัดร้างแล้ว

 

ครัวบ้านบก ครัวบ้านด้วยนายมที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานตามคำชี้แจงของเจ้าอนุวงศ์นั้น

อยู่หุบเขาข้างทิศตะวันตกมีทิวเขาล้อมรอบเป็นขอบสูง เขาภูพานทอดตัวยาวอยู่ในแนววงกลม

จึงทำให้พื้นที่ในบริเวณนี้มีลักษณะเป็นแอ่งก้นกระทะ ขึ่งมีลำห้วยยาง ลำห้วยมะโน และ

ลำห้วยขามไหลผ่านลงสู่ลำน้ำยัง ช่วงฤดูฝนจะมีน้ำท่วมเป็นตอน ๆ แต่เมื่อถึงฤดูร้อน น้ำจะ

แห้งไปหมด เพราะพื้นทีดินส่วนใหญ่เป็นดินทราย น้ำจึงซึมผ่านได้ง่ายรวดเร็วจึงมีปัญหา

ขาดแคลนน้ำและดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ทำให้พื้นที่บางแห่งไม่สามารถใช้ประโยชน์ใน

การเพาะปลูกได้และต่อมาได้เป็นส่วนหนึ่งของอำเภอกุฉินารายณ์ และอำเภอเขาวง

ปัจจบันนี้เป็นอำเภอนาคูจังหวัดกาฬสินธุ์

การปลูกบ้านเรือน 

การปลูกบ้านเรือน โดยมากมักจะปลูกเรือนไม้ชั้นเดียวเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าและ

ยกพื้นชึ่งใต้ถุนสูง ส่วนมากมักจะปลูกใกล้แม่น้ำลำคลอง หนองบึง ถึงแม้ว่าจะไม่ใกล้น้ำ

ก็ไม่ห่างจากน้ำเท่าไรนัก ทั้งนี้เพื่อใช้น้ำทำประโยชน์ในการยังชีพ

ภายในเรือนนั้นจะมีเตาไฟสำหรับ นึ่งข้าวเหนียวทำกับข้าว รับประทานอาหาร

และใช้ผิงไฟในฤดูหนาว

เครื่องแต่งกาย

การตกแต่งร่างกายมีผ้านุ่งห่มทำด้วยฝ้าย ผู้ชายตัดผมสั้น

นุ่งกางเกงขาสั้นเพียงปกเขาถ้าทำงานก็เอาผ้าเตึ่ยวคาดเอว

และมีชายห้อยยาวเอาชายผ้านั้นเหน็บไว้ข้างหลังเหมือนอบ่างโจงกระเบน

ชอบสักน้ำหมึกไว้ตามตัว ขาและแขนเป็นริ้วยาวเเป็นลวดลายต่าง ๆ อย่างสวยงาม

ขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองนาคู รวบรวมโดย อ.ถวิล นาครินทร์

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

www.nakhu.com แหล่งชุมนุมของคนชอบเที่ยว โดยรูปภาพและบทความที่จัดทำขึ้นทั้งหมดในเว็บไซต์ขอสงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย ห้ามผู้ใดทำซ้ำหรือเผยแพร่เชิงพาณิชย์ในทุกสื่อ ไม่ว่าจะเป็นบางส่วนหรือทั้งหมดโดยไม่ได้รับอนุญาต