lumia 1020 กับโฆษณาตัวใหม่ ไฉไลกว่าเก่า

lumia 1020 กับโฆษณาตัวใหม่ ไฉไลกว่าเก่า

ออกมากัดจิกได้เจ็บจริงๆนะครับ สำหรับค่ายโนเกีย ที่หยิบเอาจุดเด่นของกล้องที่มีความละเอียดสูงมาเป็นจุดขาย

พร้อมกับทำลายคู่แข่งด้านกล้องมือถือซะยับเยิน เห็นโฆษณาแล้วก็อดขำไม่ได้

lumia1020all_large_verge_medium_landscape

เนื้อเรื่องก็เป็นการถ่ายภาพของบรรดาผู้ปกครอง ที่มาถ่ายเด็กๆ ในงานโรงเรียน ซึ่งในบ้านเราก็อาจจะมีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นในบางโรงเรียน  ซึ่งเมื่อถึงเวลาการแสดงของน้องๆหนูๆ ผู้ปกครองทุกท่านก็ต่างพากันยกมือถือของตัวเองขึ้นมาถ่าย บางรายมียกแท็บเล็ตขึ้นมาถ่ายภาพ ซึ่งขณะถ่าย แต่ละคนก็สาธยายความเทพของตนเอง จนหลายท่านไม่สามารถถ่ายได้ เพราะมันไกลไป จนต้องแย่งกันเข้าไปช่วงชิงพื้นที่ถ่ายภาพ ในขณะที่ชายหญิงสองคนที่นั่งอยู่หลังห้องสุด ไม่ต้องลุกไปไหน ก็สามารถใช้ Nokia Lumia 1020 ถ่ายภาพได้อย่างสบายใจ

อะไรมันจะเทพปานนั้น แต่แค่กล้องชัดอย่างเดียวคงโค่นคู่แข่งได้ยากนะครับ ผมว่า แล้วท่านละ ดูโฆษณาชิ้นนี้แล้วคิดอย่างไร

อุโมงค์พอเพียง ทางลอด(รอด)แห่งความเพียงพอ โดย อสม.บ้านจานพัฒนา ม.9

อุโมงค์พอเพียง ทางลอด(รอด)แห่งความเพียงพอ โดย อสม.บ้านจานพัฒนา ม.9

หยุดยาว3วันช่วงวันแม่ จะไปไหนดีน๊า……”คุณหมอ พาทำอุโมงค์พอเพียงหน่อย”

เสียงแว่วๆมาแต่ไกลของประธาน อสม. ม.9 ต.โนนนาจาน ท่านสุรศักดิ์ สีลา

ว่างๆพอดี ไม่มีโปรแกรม งั้นก็จัดเลยครับ ท่านประธาน ให้ชาวบ้านตัดไม้ ซื้อลวดไว้รอเลย

เดี๋ยวหมออนามัยกับ อสม.จะออกแรงไปช่วย ว่าแต่….อุโมงค์นี่ก็ไม่ได้ทำง่ายนะ ลองดูก่อนละกัน

 

อุโมงค์พอเพียง โดย อสม.โนนนาจาน-3

เริ่มจากคัดลำไม้ไผ่ให้ได้ขนาดไม่ใหญ่เกินไป เอาแบบแก่ๆหน่อย ปลายโค้งได้ยิ่งดี ความยาวก็ตามแต่เราต้องการ ตัดตา(ข้อ)ไม่ไผ่ออกให้หมด

 
อุโมงค์พอเพียง โดย อสม.โนนนาจาน-5

อุโมงค์พอเพียง โดย อสม.โนนนาจาน-6

อุโมงค์พอเพียง โดย อสม.โนนนาจาน-13

จากนั้นฝังหลักยึดเป็นระยะๆ ไม่ห่างเกินไปเพื่อความแข็งแรง

 

อุโมงค์พอเพียง โดย อสม.โนนนาจาน-16

 

อุโมงค์พอเพียง โดย อสม.โนนนาจาน-19

อุโมงค์พอเพียง โดย อสม.โนนนาจาน-22

อุโมงค์พอเพียง โดย อสม.โนนนาจาน-23

อุโมงค์พอเพียง โดย อสม.โนนนาจาน-29

อุโมงค์พอเพียง โดย อสม.โนนนาจาน-30

อุโมงค์พอเพียง โดย อสม.โนนนาจาน-31

มัดด้วยลวดทบกัน 2 ชั้น

 

อุโมงค์พอเพียง โดย อสม.โนนนาจาน-56

อุโมงค์พอเพียง โดย อสม.โนนนาจาน-58

อุโมงค์พอเพียง โดย อสม.โนนนาจาน-60

ฝังหลักไม้ไผ่กับหลักยึด มัดด้วยลวดให้แน่น แล้วโน้มปลายไม้ไผ่ทั้ง 2 ด้านเข้าหากันช้าๆ ระวังไม้หัก แล้วมัดด้วยลวด

อุโมงค์พอเพียง โดย อสม.โนนนาจาน-125

อุโมงค์พอเพียง โดย อสม.โนนนาจาน-121

 

อุโมงค์พอเพียง โดย อสม.โนนนาจาน-69

อุโมงค์พอเพียง โดย อสม.โนนนาจาน-96

อุโมงค์พอเพียง โดย อสม.โนนนาจาน-98

อุโมงค์พอเพียง โดย อสม.โนนนาจาน-100

อุโมงค์พอเพียง โดย อสม.โนนนาจาน-104

อุโมงค์พอเพียง โดย อสม.โนนนาจาน-110

อุโมงค์พอเพียง โดย อสม.โนนนาจาน-114

อุโมงค์พอเพียง โดย อสม.โนนนาจาน-117

อุโมงค์พอเพียง โดย อสม.โนนนาจาน-126

 

อยากจะบอกว่า พี่น้อง อสม. ม.9 บ้านจานพัฒนานี่สุดยอดจริงๆ ออกทำงาน

ทำซุ้มอุโมงค์พอเพียงให้ชาวบ้านในชุมชนตั้งแต่เเปดโมงเช้า ถึง 5 โมงเย็นทุกวัน 3 วัน โดยไม่มีค่าตอบแทนซักบาท

อันนี้เขาเรียกว่าจิตอาสาแท้ๆ

ชาวบ้านก็น่ารักทุกหลังคาเรือน หาน้ำท่า ไม้ไผ่ ซื้อลวด มารอ อสม.ของเราแต่เช้า เที่ยงไหนก็กินข้าวบ้านนั้น

ผมไม่คิดว่าจะเจอบรรยากาศแบบนี้อีก ตั้งแต่สมัยเรียน แต่วันนี้ ประทับใจจริงๆครับ

ขอบคุณพี่ๆทีมงาน อสม. ม.9 บ้านจานพัฒนา ชาวบ้านจาน หมู่9 ที่น่ารักทุกหลังคาเรือนครับ

อีก 3 เดือน ผมจะไปขอเมล็ดบวบหอมสายฟ้าคืน อิอิ

ยา ต้องเลี่ยงในช่วงตั้งครรภ์

สำรวจ “ยา” ต้องเลี่ยงช่วงแม่ท้อง  (Mother & Care)

ก่อนที่เวลาจะเดินหน้าไปถึงจุดหมายปลายทางของการคลอด เชื่อว่าสิ่งต่างๆ ที่จะเข้าสู่ร่างกายย่อมต้องผ่านการคิดแล้วคิดอีกของคุณแม่ โดยเฉพาะเรื่องยา ปกติคุณหมอไม่แนะนำให้กินยาโดยเฉพาะช่วง 3 เดือนแรก เพราะเป็นระยะที่มีการสร้าง และพัฒนาอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ยาบางชนิดอาจไปขัดขวางจนส่งผลร้ายต่อลูกอย่างคาดไม่ถึง อยากรู้ใช่ไหมว่ายาใดบ้างที่ต้องระวังให้ดี เรามีบัญชียาสารพันชนิดที่ส่งผลกับชีวิตลูกมาฝากค่ะ

1287650364

 สำรวจชนิดยา ค้นหาความเสี่ยงภัย 

ยารักษาความดันโลหิต

Nifedipine :  ใช้กรณีที่อาการรุนแรงแล้วใช้ยาอื่นไม่ได้ผล ยาอาจยับยั้งการคลอดได้ ควรหลีกเลี่ยงระยะใกล้คลอด

Enalapril :  ไตรมาส 2-3 ยาอาจทำให้ทารกผิดปกติ มีความดันโลหิตต่ำ รุนแรง ไตทำงานบกพร่อง ควรหลีกเลี่ยง

Atenolol :  ถ้าใช้ในไตรมาสแรกทารกอาจมีภาวะรูท่อปัสสาวะเปิดใต้องคชาติ ถ้าใช้ในไตรมาส 2-3 อาจทำให้น้ำหนักตัวทารกน้อย

Amlodipine :  ยังไม่มีข้อสรุปความปลอดภัย แต่ก็ไม่ควรใช้ในขณะตั้งครรภ์

Propranolol :  การใช้ในไตรมาสที่ 2-3 ทำให้ทารกมีน้ำหนักตัวน้อยควรหลีกเลี่ยง

Verapamil :  หากจำเป็นให้ใช้ได้ แต่ไม่ควรใช้ในระยะใกล้คลอด เพราะยาอาจมีผลคลายกล้ามเนื้อมดลูกได้

ยาขับปัสสาวะและลดความดัน

Acetazolamide :  ยาโรคหัวใจกลุ่มขับปัสสาวะ : ควรหลีกเลี่ยงการใช้ในไตรมาสแรก

Furosemide :  อาจทำให้รูท่อปัสสาวะทารกเปิดใต้องคชาติ ควรหลีกเลี่ยงในไตรมาสแรก

Spironolactone :  ควรหลีกเลี่ยง ยกเว้นผู้ที่มีโรคหัวใจร่วมด้วย

Hydrochlorothiazide (HCTZ) :  แม่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน มีความดันโลหิตต่ำ ทำให้ทารกเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ ถ้าใช้ในระยะใกล้คลอด อาจทำให้คลอดช้า ควรหลีกเลี่ยง

Amiloride + HCTZ (Moduretic) :  ถ้าใช้ในไตรมาสแรกจะเสี่ยงทารกอาจเสียชีวิตจากการที่แม่มีความดันโลหิตต่ำ ถ้าใช้ระยะใกล้คลอดอาจทำให้มดลูกไม่บีบตัว ทำให้คลอดช้า ไม่ควรใช้

ยาฆ่าเชื้อ

          Chloramphenicol :  แม่ที่ได้รับในระยะท้ายอาจทำให้ลูกเกิดภาวะขาดออกซิเจน ควรระวังการใช้ในขนาดสูง

          Clarithromycin :  งดใช้ถ้าไม่จำเป็นหรือใช้ยาอื่นรักษาเชื้อแบคทีเรียแทน ควรหลีกเลี่ยงในระยะตั้งครรภ์ครั้งแรก

Ciprofloxacin :  อาจทำให้ข้อต่อกระดูกทารกผิดปกติ ควรหลีกเลี่ยงในไตรมาสแรก ใช้ยาอื่นที่ปลอดภัยกว่าแทน

Erythromycin :  ฮอร์โมนในปัสสาวะแม่อาจลดลง ลูกแรกเกิดน้ำหนักน้อย อาจแท้ง ระวังการใช้ไตรมาสแรก

Fluconazole :  ไม่ใช้ต่อเนื่องในไตรมาสแรก อาจทำให้ทารกผิดปกติ แม้ใช้น้อยแล้วเสี่ยงน้อยกว่า แต่ก็ควรระวัง

Norfloxacin และ Ofloxacin : งดใช้ในไตรมาสแรก หรือใช้ยาต้านจุลชีพกลุ่มอื่นที่ปลอดภัยกว่า

Tetracycline :  งดใช้ในช่วงตั้งครรภ์ 5-6 เดือนขึ้นไป เพราะกระดูกและฟันที่กำลังสร้างตัวผิดปกติ ฟันเปลี่ยนสี ทารกพิการแต่กำเนิด และเป็นพิษต่อตับแม่

Metronidazole :  งดใช้ยารักษาโรคติดเชื้อของแม่เพราะอาจทำให้ทารกพิการแต่กำเนิด อาจทำให้แท้งในไตรมาสแรก

Indomethacin :  งดใช้ยารักษาโรคข้อกระดูกอักเสบติดต่อกันนานเกิน 48 ชั่วโมง หรือหลังอายุครรภ์ 34 สัปดาห์ โดยเฉพาะระยะใกล้คลอด เพราะอาจทำให้ทารกผิดปกติ คลอดช้า

PQDrug

ยาลดไข้

          Aspirin :  ไม่ควรใช้ขนาดสูงต่อกันนาน เพราะระบบเลือดแม่ลูกอาจผิดปกติได้ งดใช้ไตรมาส 3 เมื่อใกล้คลอด เพราะจะยับยั้งการทำงานของเกล็ดเลือดของลูกในครรภ์ แม่ลูกเกิดภาวะเลือดออกผิดปกติ เลือดไหลไม่หยุดและคลอดช้า

Oseltamivir (Tamiflu) :  ให้ใช้ยารักษาไข้หวัดใหญ่ชนิด A นี้ได้ ถ้าพิจารณาแล้วไม่ทำให้แม่และลูกเกิดความเสี่ยง

 รู้ทันยา : ยาแก้ไข้หวัดมักประกอบด้วยยาลดไข้พาราเซตามอล ยาแก้แพ้ ยาลดน้ำมูก โดยทั่วไปไม่มีอันตราย ถ้าใช้นานควรปรึกษาแพทย์ ไม่ซื้อยาชุดตามร้านขายยา เพราะอาจมียาแก้แพ้อักเสบบางอย่าง และสเตียรอยด์ปนมาด้วย

ยาแก้ปวด ลดอักเสบ

          Diclofenac :  ไม่ควรใช้ไตรมาสสุดท้าย ระยะใกล้คลอด เพราะจะทำให้คลอดช้า ไตทารกทำงานบกพร่อง

Tramadol :  แม้ตัวยาไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์ แต่ก็ไม่ควรใช้ในช่วงตั้งครรภ์ต้นๆ

Morphine sulfate :  ใช้ในไตรมาส 1 และ 2 ได้บ้างแต่ห้ามใช้ติดต่อกันนาน หรือใช้ในไตรมาสสุดท้าย ถ้าใช้ต่อเนื่องกันนานใช้ขนาดสูงใกล้คลอด จะทำให้กดการหายใจของทารกได้

Hyoscine-N-butylbromide :  ใช้ลดการปวดเกร็งท้องให้แม่ได้แต่งดเมื่อใกล้คลอด เพราะทำให้ลูกหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ

Mefenamic acid :  ห้ามใช้ในไตรมาส 3 โดยเฉพาะระยะใกล้คลอด

Ibuprofen :  ใช้ในไตรมาส 1-2 ได้ แต่ห้ามใช้ในไตรมาส 3 ระยะใกล้คลอด เพราะอาจทำให้คลอดช้า

Colchicine :  งดใช้ยารักษาข้ออักเสบจากโรคเก๊าท์ ส่วนผู้ชายอาจทำให้จำนวนอสุจิลดลง บางรายงานชี้ว่ายาอาจมีผลให้อสุจิกลายพันธุ์ ทำให้เกิดความผิดปกติในทารก เช่น เกิด Down’s syndrome ได้

Methotrexate :  งดใช้ยารักษาโรคข้ออักเสบหรือสะเก็ดเงินเพราะจะกดการทำงานของไขกระดูกทารก เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง ถ้ายาตกค้างอยู่ในร่างกายนาน ทำให้ทารกผิดปกติได้ แม้จะหยุดใช้หลายปีก็ตาม

 รู้ทันยา : ยาแก้อักเสบ เป็นยาที่ใช้กันบ่อย แม้เจ็บคอเพียงเล็กน้อย หรือเป็นหวัดก็อาจซื้อมากินแล้ว ที่จริงไข้หวัดมักเกิดจากเชื้อไวรัสการใช้ยามักไม่ได้ผล นอกจากเสียเงินยังอาจทำให้ดื้อยา จึงไม่ควรใช้พร่ำเพรื่อ ผู้หญิงทั้งที่ท้องหรือไม่ได้ท้อง ถ้าใช้ยานี้บ่อยจะทำให้ช่องคลอดอักเสบจากเชื้อรา โดยมีอาการตกขาวและคันช่องคลอดมากอีกด้วย

ยาแก้ไอ

          Bromhexine : ยังมีข้อมูลจำกัด ถ้าเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ในไตรมาสแรก

Diazepam : ถ้าใช้ในไตรมาสที่ 1 ทารกอาจปากแหว่ง เพดานโหว่ไตรมาส 2 ระบบเลือดและหัวใจอาจผิดปกติ ถ้าใช้ต่อเนื่องนานใช้ขนาดสูงช่วงใกล้คลอด อาจทำให้กล้ามเนื้อทารกอ่อนแรง เซื่องซึม ไม่ดูดนม เกร็ง สั่น ท้องเสีย

Actifed : ควรงดใช้ไตรมาสแรก มีรายงานว่ายาแก้แพ้อากาศนี้อาจทำให้ระบบหลอดเลือดหัวใจผิดปกติ และแท้งได้

ยาแก้ไขชนิดที่ไม่มีไอโอดีน : ไม่ควรใช้เลย เพราะอาจทำให้ทารกเกิดอาการคอพอก และมีอาการผิดปกติทางสมอง

 รู้ทันยา : อาการไออาจมีสาเหตุจากการกินยาบางอย่างหรือเป็นอาการเรื้อรังของโรคทางเดินหายใจ ยาจิบแก้ไอ หรือระงับอาการไอที่ดีที่สุด คือ น้ำอุ่น การใช้ยาอม เช่น ยาอมมะแว้ง สามารถลดอาการไอได้ แต่สตรีมีครรภ์หรือเด็กเล็กก็ไม่ควรใช้ยานี้จิบแก้ไอ

          ยาฆ่าเชื้อรา

          Ketoconazole :  ใช้ได้ถ้าจำเป็น โดยเฉพาะแม่ที่ติดเชื้อเอช ไอ วี เพื่อป้องกัน รักษาการติดเชื้อราในช่องคลอด

Itraconazole :  ควรงดใช้ เพราะอาจมีความเสี่ยงที่เกิดขึ้น

Griseofulvin :  งดใช้ ถ้าใช้ในไตรมาสแรกอาจทำให้ทารกผิดปกติมากกว่าไตรมาส 2-3 เช่น หัวใจผิดปกติ ถ้าเป็นแฝดอาจแยกตัวได้ไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะถ้าใช้ภายใน 20 วันแรกหลังตกไข่

ยาลดกรด

          Allopurinol :  ใช้ได้ถ้าไม่มีทางเลือกอื่นที่ปลอดภัยกว่าหรือโรคที่เป็นอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตแม่และลูกในครรภ์

Antacid :  ใช้ได้ แต่ไม่ควรใช้ขนาดสูงๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน

Magnesium hydroxide :  ใช้ได้ แต่ไม่ควรใช้ขนาดสูงๆ ต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน

Omeprazole :  งดใช้ โดยเฉพาะช่วงตั้งครรภ์ครึ่งแรกเพราะเคยพบว่าเสี่ยงต่อทารก

 รู้ทันยา :  ยาลดกรดที่มีส่วนผสมแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์มาก อาจทำให้คุณแม่ท้องเสีย เป็นอันตรายต่อเด็กในท้อง

ยาขยายหลอดเลือด

          Cinnarizine :  งดใช้ถ้าไม่จำเป็น ไม่ใช้ยาต้านฮิสตามีนนี้ในช่วง 2 สัปดาห์สุดท้ายของการตั้งครรภ์ เพราะอาจทำให้เกิดความผิดปกติของกระจกตาได้

Salbutamol :  อาจทำให้หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ แม่มีความดันโลหิตต่ำรุนแรง เกิดภาวะน้ำตาลต่ำ ถ้าจำเป็นต้องใช้ให้เฝ้าระวังใกล้ชิด

Theophylline ยาขยายหลอดลม :  การใช้ในไตรมาสสุดท้ายระยะใกล้คลอด อาจทำให้ทารกมีภาวะหัวใจเต้นเร็ว

ยารักษาเบาหวาน

          Glibenclamide และ Glipizide :  ทารกอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนถ้าแม่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่คงที่ ควรงดใช้ชนิดกินหันไปใช้ Insulin แทนจนกว่าจะคลอด

Metformin :  ไม่พบว่ายาทำให้เกิดอันตรายโดยตรงต่อทารกในครรภ์ แต่เนื่องจากยาอาจให้ผลในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในแม่ได้ไม่ดีนัก ไม่ควรใช้ ใช้ Insulin จะปลอดภัยกว่า

 รู้ทันยา :  ยารักษาเบาหวานถ้าเป็นชนิดฉีดอินชูลินใช้ได้ ไม่มีอันตราย แต่ถ้าเป็นชนิดกินอาจทำให้น้ำตาลในเลือดของทารกต่ำ และเคยมีรายงานว่ายากกลุ่มนี้ทำให้ทารกพิการได้

          ยารักษาอาการชัก

          Phenobarbital :  ถ้าใช้ในไตรมาส 1 และ 3 อาจทำให้ทารกมีความผิดปกติแต่กำเนิด เลือดไหลไม่หยุด หากจำเป็นให้ใช้น้อยที่สุดเพื่อควบคุมการชักของแม่

Phenytoin :  ควรงดใช้เพราะยาอาจทำให้กะโหลกศีรษะใบหน้าทารกผิดปกติ นิ้ว เล็กมือไม่สมบูรณ์ ปากแหว่ง เพดานโหว่ หัวใจผิดปกติ แต่ถ้าขาดยาแล้วชัก แม่ลูกอาจเป็นอันตรายก็ได้ ใช้ได้แต่ต้องระวังให้ดี

Carbamazepine :  งดใช้ ถ้าจำเป็นต้องใช้ โดยเฉพาะไตรมาสแรก ควรให้โฟเลทเสริม หากใช้ในไตรมาสสุดท้ายควรให้วิตามินเค หรือติดตามภาวะเลือดออกในทารกด้วย

 รู้ทันยา :  ส่วนใหญ่ยากันชักมักทำให้ทารกเกิดความพิการมีใบหน้าผิดปกติ จมูกแบน ตาห่าง หนังตาตก บางชนิดอาจทำให้เลือดของทารกแข็งตัวช้า

ยารักษาโรคผิวหนัง

          Dapsone :  ต้องระวังการใช้ยานี้รักษาโรคเรื้อน โรคทางผิวหนัง มาลาเรียและนิวโมเนียจากการติดเชื้อ เพราะอาจทำให้ระบบเลือดผิดปกติ ต้องติดตามใกล้ชิดระหว่างใช้ยา

Clofazimine :  อาจมีผลให้ทารกและน้ำคร่ำมีสีเขียว ซึ่งก็หายเป็นปกติได้แต่อาจใช้เวลานาน  ถ้าจำเป็นให้ใช้ยาป้องกันการกลับเป็นซ้ำ แต่ก็ไม่ควรใช้ในไตรมาสแรก

 ยาเบ็ดเตล็ด 

          Chlorpheniramine ยาแก้แพ้ :  เด็กที่เกิดมาผิดปกติ เช่น มีนิ้วเกินหูและตาผิดปกติพบว่าแม่เคยใช้ในไตรมาสแรก ถ้าใช้ชั่วคราวไม่ส่งผลมากนัก ถ้าใช้ติดต่อกันนานทำให้เกล็ดเลือดต่ำ ลูกที่เกิดมาอาจมีเลือดไหลผิดปกติ

Ergotamine + Caffeine :  ทำให้มดลูกหดตัว แท้ง คลอดก่อนกำหนด ถ้าใช้บ่อยขนาดสูง จะขัดขวางการไหลเวียนเลือดสู่ทารกงดใช้ยาแก้ปวดศีรษะกลุ่มที่มีเออโกตามีนเพราะทำให้มดลูกบีบตัวทำให้แท้งคลอดก่อนกำหนดได้

Digoxin ยารักษาโรคหัวใจล้มเหลว :  ควรระวังขนาดที่ใช้ หากใช้เกินขนาดจะเกินขนาดจะทำให้ทารกที่เกิดมาเสียชีวิตได้

Dimenhydrinate ยาแก้คลื่นไส้ วิงเวียน เมารถ :  ใช้ได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงแบบฉีด เพราะยาทำให้มดลูกบีบตัวมาก หลีกเลี่ยงการใช้ยาในระยะ 2 สัปดาห์ก่อนคลอดด้วย

Doxycycline ยารักษาสิว :  หลีกเลี่ยงโดยเฉพาะตั้งครรภ์ครึ่งหลัง ซึ่งมีการสร้างกระดูกและฟันของตัวอ่อน ควรติดตามดูผลการทำงานของตับในแม่ที่จำเป็นต้องได้รับยาด้วย

Gemfibrozil ยาลดไขมันในเลือด :  ทำให้ทารกปากแหว่ง เพดานโหว่ ควรหลีกเลี่ยง โดยเฉพาะไตรมาสแรก

Lorazepam ยานอนหลับ :  ยาผ่านรกทำให้ทารกผิดปกติแต่กำเนิดได้ ถ้าใช้ตามแพทย์สั่งไม่เป็นไร แต่ไม่ควรซื้อใช้เอง ถ้าใช้สูงจนติด ลูกที่เกิดจะหายใจไม่ดี เคลื่อนไหวช้าคล้ายคนติดยา ชักกระตุก ทำให้ลูกมีเลือดออกผิดปกติ

Misoprostol ยาป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะ :  อาจทำให้แท้ง หากไม่แท้ง ก็ทำให้ทารกพิการแต่กำเนิด

Pyridostigmine bromide (Mestinon) ยารักษาโรคกล้ามเนื้อ :  ยาผ่านรกไม่ได้ หรือผ่านได้น้อยมาก ไม่พบว่าทำให้ทารกผิดปกติ จึงให้ใช้ได้ แต่ระวังการใช้รูปแบบฉีดระยะใกล้คลอด อาจทำให้คลอดก่อนกำหนด

Bisacodyl ยาระบาย :  ควรเลือกใช้สารที่ออกฤทธิ์ให้อุจจาระจับตัวเป็นก้อนนิ่ม (เช่น เมล็ดแมงลัก) หรือยาที่มีฤทธิ์เพิ่มแรงตึงผิว (เช่น ยาระบายแมกนีเซีย) ก่อน จะปลอดภัยกว่า

Proctosedyl ยาเหน็บริดสีดวง :  ใช้ได้แต่ก็ไม่ควรมาก และไม่ใช้ต่อเนื่องนานเกิน 7 วัน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก