ข้าว กข.6เตี้ย ปี 2558

หลังจากปลูกติดต่อกันเป็นปีที่ 2 คุณเตี้ย(กข.6ต้นเตี้ย) ก็ยังคงรักษามาตรฐานเอาไว้ได้เป็นอย่างดี ถึงแม้จะโดนช่วงฝนแล้ง 8 สองหนเข้าไป ทำให้ข้าวตายไปบางส่วน แต่ผลผลิตและความเตี้ยของตนข้าว ยังคงมาตรฐานเดิมจากปีที่แล้ว 

12182665_412922588832622_9123715180265766107_o  12183793_412922292165985_6530307443914001694_o  12184297_412922388832642_3801687459651700964_o  12187971_412922048832676_1681108357713327600_o  12189204_412922092166005_4283868820606327234_o  12189333_412922548832626_9032029470123380643_o  12191164_412921965499351_3000830095039498758_o  12194585_412922502165964_9157604646222334459_o  12238073_418690981589116_8032459415828093702_o  12278659_417713131686901_2612858383877615264_n  12278851_417713135020234_3644494805497503715_n  12304073_418691004922447_2083612290996701626_o  12307534_1015620138459989_5825061385199779628_o 12307999_1015620035126666_4641464732097473812_o 12308092_420007404790807_5795815549419874578_o 12309757_420007294790818_5125758354444637204_o       12313742_421053568019524_8593429245833735618_n 12314135_418867778238103_313586570749911307_n  12314189_418690974922450_6509110122930335937_o  12314193_1015619965126673_5324874200783447886_o  12314395_418690998255781_5682021728903726162_o  12322959_421053554686192_5605060692772117007_o 12356730_421053558019525_2531331274081926177_o

ซึ่งปีนี้ก็ได้รับเสียงตอบรับจากเกษตรกรทั่วประเทศอีกเช่นเคย บางคนเอาไปปลูกต่อก็ลงเว็บขายถูกกว่าผมก็ไม่ว่ากัน เป็นเรื่องของการค้า แต่มาตรฐานของสายพันธุ์ผมรับประกันแน่นอน ดูได้จากคลิป รูปที่ซูมกันให้เห็นจะจะ ขายจริง ส่งจริง ไม่มีโกง คอนเฟริ์ม.

 

หัวใจความสาเร็จของการทางานให้เข้าถึงใจชุมชน

ดาวน์โหลด (1)

บทความสรุปสังเคราะห์บทเรียนการพัฒนาและเสริมศักยภาพชุมชนเพื่อการจัดการสุขภาพ

ภายใต้โครงการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิเขตเมืองและเขตชนบท โดยใช้เครื่องมือการจัดการความรู้

……………………………………………………………………….. ………………………………………………………………………….

บทเรียนจากงานชุมชน : หัวใจความสำเร็จของการทำงานให้เข้าถึงใจชุมชน

การเข้าถึงและเข้าใจชุมชน เพื่อสร้างและพัฒนาศักยภาพของชุมชนให้เข้มแข็งมีพลัง จนสามารถ

จัดการตนเองด้านสุขภาพได้ คนทำงานกับชุมชนต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิดในการทำงานร่วมกับชุมชนให้ได้ก่อน ว่า

เราเข้าไปทำงานชุมชน ไม่ได้ไปทำให้หรือทำแทนชุมชน แต่เราเข้าไปเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของ

ชุมชนซึ่งมีอยู่แล้ว ให้ชุมชนสามารถช่วยตนเองได้ อีกทั้ง เราต้อง วางเป้าหมายการทำงาน คือ มี

ประเด็นหรือประเด็นปัญหา และกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนก่อน จากนั้นจึงเข้าไปทำงานกับชุมชนด้วยความ

เข้าใจ

เราจะเรียนรู้ เข้าถึง เข้าใจชุมชน และนำทุนทางสังคมมาใช้ประโยชน์ในการทำงาน ได้อย่างไร ความ

ไว้วางใจของชุมชนที่มีต่อเรา นี่คือหัวใจของความสำเร็จ แล้วจะสร้างความไว้วางใจให้เกิดขึ้นได้อย่างไร ….

มีคำตอบจากประสบการณ์ตรงของคนทำงาน

1.ท่าที บุคลิกลักษณะเฉพาะตัวของคนทำงานชุมชน (เรียนรู้แล้วเลียนแบบได้)

1.1 คนทำงานชุมชน (โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ) ต้องเปิดใจกว้าง รับฟังความคิด ความเห็นที่

แตกต่างระหว่างเรากับชุมชน “รับฟังด้วยความนอบน้อม ” “ฟังให้ได้ยินเสียงชุมชน ” ไม่ใช่

“ฟังแต่ไม่ได้ยินหรือฟังไปอย่างนั้นเอง ” ตามหลักของสุนทรียสนทนา หรือตามตารานพ

ลักษณ์ “ต้องให้ความสำคัญกับคำพูดของชาวบ้าน” “คำพูดของชาวบ้านมีความหมาย”

1.2 เข้าหาชุมชนด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน “เราไม่ได้เก่งทุกเรื่อง” “ต้องยอมให้ชาวบ้านสอน

ได้

1.3 ไม่ใช้อำนาจ (ของความเป็นเจ้าหน้าที่ภาครัฐ) “ไม่ชี้นิ้ว” “ไม่สั่งการ” “ไม่ตัดสิทธิ์” “ไม่

หักล้าง

1.4 เชื่อมั่นศักยภาพของชุมชนว่า “เขาทำได้”

1.5 เข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนทั้ง “งานบุญ งานบ้าน งานวัด” และ “เป็นผู้ให้” คนทำงานชุมชน

ต้องระลึกอยู่ตลอดเวลาว่า “เราไม่ได้ทำตามหน้าที่” แต่ “เราทำงานที่หน้า” (หมายถึง หน้า

งานของเรา ไม่เฉพาะมีตามบทบาทหน้าที่ทางราชการ แต่ เมื่อชุมชนมีงานอะไร ขอความ

ช่วยเหลือ ขอความร่วมมือ แม้จะไม่ใช่งาน ตามบทบาทหน้าที่ของเรา เราสามารถตอบสนองได้

ทุกที่ ทุกเวลาที่)

1.6 เราต้องมีทัศนคติ “เชิงบวก ” มองชุมชนอย่างเห็นคุณค่า โดยเฉพาะ ทุนทางสังคมและ

วัฒนธรรม เราต้องเรียนรู้และเข้าให้ถึงซึ่งคุณค่า สาระ ฐานคิดที่อยู่เบื้องหลังของวัฒนธรรมนั้น

(โดยการเข้าร่วมกิจกรรมทางวัฒนธรรมชุมชน คุยกับคนเฒ่าคน แก่ หรือกลุ่มแกนนำชุมชน เป็น

ต้น) แล้วนำจุดเด่นหรือจุดร่วมนั้นมาผสมผสาน คู่ขนานการทำงานของเรา

2.ทีมทำงานในองค์กรมีความเข้มแข็ง มีเป้าหมาย มีแนวคิดและวิถีการทำงานในทิศทางเดียวกัน มี 2

ประเด็นที่สำคัญ คือ

2.1 สร้างสัมพันธภาพที่ดีให้คนในองค์กร (รพ.สต.)“เป็นครอบครัวเดียวกัน” “ที่นี่คือบ้านของ

เราด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การมีกิจกรรมร่วมกันบ่อยๆ ทานอาหารกลางวันกินกันเอง หรือการ

ปลูกผัก เลี้ยงปลา ไว้กินกันเองใน รพ.สต. เป็นต้น

2.2 สร้างความรู้สึกร่วมให้เกิดขึ้นในองค์กรให้ได้ว่า “งานสำเร็จได้เพราะเราทุกคนช่วยกัน”

  1. การสร้างกระบวนการเรียนรู้ในชุมชน

3.1 มีประเด็นที่สามารถนำมาสู่การสร้างความเป็นเจ้าของร่วมกัน เห็นเป้าหมายเดียวกัน ซึ่งทำใน

เรื่องที่เป็นวิถีของชุมชน ชุมชนจะมีข้อตกลง มีความรักสิ่งที่ทำ เป็นเจ้าของจับมือกันทำ

3.2 มีพื้นที่แลกเปลี่ยนในการพูดคุยร่วมกัน ในพื้นที่เปิดสถานีอนามัยให้กลายเป็นแหล่งพบปะของ

คนในชุมชน ชุมชนรู้สึกสถานีอนามัยเป็น “บ้าน”

3.3 มีของจริงในพื้นที่ที่นำมาสู่การพูดคุยเรียนรู้ร่วมกันได้

ดาวน์โหลด

  1. เราในฐานะ รพ.สต.จะสร้างความสัมพันธ์กับท้องถิ่นอย่างไร “ให้เนียน”

4.1 ต้องเป็นกลางทางการเมือง นักการเมืองท้องถิ่นเขามาแล้วก็ไป แต่ “เรายังอยู่กับ

ชาวบ้านต้อง “เอา ชาวบ้านเป็นหลัก” และไม่ควรแสดงความคิดเห็นทางการเมือง

4.2 ต้องเรียนรู้ความเป็นตัวตนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ของเราว่า นายกองค์กร

ปกครองส่วนท้องถิ่นมีบุคลิกลักษณะอย่างไร ปลัดเป็นอย่างไร เพื่อเราจะเข้าหาเขาได้ถูกจริต

ในขณะเดียวกัน ตัวเราเองก็ต้องรู้ว่ามีอะไรดี หรือมีอะไรที่จะไปช่วยท้องถิ่นได้ (ท้องถิ่นก็หวัง

ให้เราช่วยในบางเรื่องเหมือนกัน)

4.3 ใช้วิธีการเข้าหาแบบ “ตีสนิท” “พูดคุยทุกเวทีที่เจอกัน” ถ้ายังยากอยู่ก็ต้อง “เข้าทางเครือ

ญาติของผู้บริหารท้องถิ่น

4.4 ให้ความสำคัญกับท้องถิ่น ยกย่อง เชิดชู ท้องถิ่น โดยชวนเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน ตั้งเป็น

คณะทำงาน บางเรื่องให้ท้องถิ่นเป็นพระเอก เช่น ตั้งเป็นคณะกรรมการพัฒนาสาธารณสุข

ระดับตำบล คณะกรรมการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล แต่ทั้งนี้ต้องให้ท้องถิ่น

ได้แสดงบทบาทให้มากด้วย

4.5 วางแผนการทำงานร่วมกันโดยใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ หรือกระบวนการทำแผนแบบ

อื่นๆ ที่เน้นให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วม และเป็นเจ้าของงานสุขภาพ

4.6 ทำงานแบบ “เอาแรงกัน” เราต้องทำงานเชื่อมโยงกับงานอื่นๆ (ของท้องถิ่น) เราไม่ใช่

เจ้าภาพเดียว

  1. เสริมศักยภาพการทำงานชุมชนในคนรุ่นใหม่

ศักยภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขรุ่นเก่า มาจากการมีวิถีชีวิตร่วมกับคนในชุมชน ได้พึ่งพา

อาศัยกันตั้งแต่เรื่องกิน อยู่ ทำงาน เรียนรู้จากการเข้าร่วมกิจกรรม รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ทำให้เกิด

การเรียนรู้ชุมชนอย่างธรรมชาติ ทำทุกเรื่องในสถานที่ทำงาน แต่ความเจริญของสังคมทำให้เจ้าหน้าที่

สาธารณสุขรุ่นใหม่มีโอกาสเรียนรู้ชุมชนน้อยลง “ ไม่มีพื้นฐานชีวิตในสังคมชุมชนที่อยู่ “ ในวัยเด็กมุ่งเรียน

แต่กลับมีความสามารถในด้านเทคโนโลยี่ เมื่อเข้าสู่งานที่มีระบบการแบ่งงานทำตามตำแหน่งหน้าที่ ได้ผลัก

ให้เกิดขอบเขตการทำงานเฉพาะเรื่อง เจ้าหน้าที่สาธารณสุขรุ่นใหม่ทำตามหน้าที่มีตัวเลขมีเป้าหมาย ทำให้

ขาดการสัมผัสและเรียนรู้ร่วมกับชุมชน การพัฒนาคนรุ่นใหม่ในการทำงานชุมชน ควรมี

5.1 มีพี่เลี้ยงเข้ามาช่วยดูแลและเตรียมความพร้อมที่จะเรียนรู้ในชุมชน

5.2 สัมผัสวิถีชีวิต รู้จักชุมชนอย่างลึกซึ้ง โดยใช้ความจริง ชีวิตจริง ในพื้นที่พาเรียนรู้

5.3 “พาทำ” ทำให้เห็น ทำเป็นตัวอย่าง ว่าทำงานอย่างไรจนได้ใจและได้ศรัทธาจากชุมชน

5.4 ปรับแนวคิด ทัศนคติ ในเรื่องชุมชนมีศักยภาพ โดยสร้างโอกาส ผลักดันให้ ได้ไปพูดคุยเรียนรู้

กับปราชญ์ ผู้นำในชุมชน

5.5 ทำให้คนรุ่นใหม่ได้เห็นคุณค่าตนเอง จากการลงไปทำงานในชุมชน

5.6 พาไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวทีอื่นๆ

  1. ทำงานชุมชนอย่างมีสุขอย่างไร

6.1 พื้นฐานดูแลตนเองให้มีสุขภาพกายแข็งแรง มีการบริหารจิตใจตนเอง มีสมาธิ ปล่อยวางและ

เบิกบาน

6.2 ดูแลครอบครัวให้อบอุ่นร่วมใช้ชีวิตเรียนรู้ทำงานในชุมชนด้วยกัน

6.3 ทำที่งานให้น่าอยู่ สร้างบรรยากาศเอื้อเฟื้อช่วยเหลือ มีความเป็นพี่น้อง

6.4 เป็นนักเรียนรู้ สร้างโอกาสเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา

6.5 เห็นคุณค่าตนเองในการทำงานชุมชน

6.6 การทำงานชุมชน เป็น “บุญ” อย่างหนึ่ง

เป็นไงบ้างครับ เทคนิคการทำงานในชุมชนที่เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ไม่ยากเลยใช่ไหมครับ

เพียงแต่เราจะพร้อมที่จะก้าวมาอยู่ตรงจุดนี้เมื่อไหร่ เท่านั้นเอง ขอให้ทุกท่านโชคดี

มีความสุขกับการทำงานในชุมชนครับ

รวมภาพกิจกรรม Bike for Mom อ.นาคู 16 ส.ค.2558

Bike for Mom “ปั่นเพื่อแม่” เป็นกิจกรรมจักรยานเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 83 พรรษา 12 สิงหาคม 2558
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้พสกนิกร ในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศไทยได้มีโอกาสร่วมกิจกรรม

ซึ่งทางอ.นาคู จ.กาฬสินธุ์ ก็ได้จัดกิจกรรมนี้ขึ้น พร้อมกับมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมในการปั่นจักรยานหลายร้อยคัน

วันนี้adminเลยนำภาพกิจกรรมมาฝากกัน โดยต้องขอบคุณภาพสวยๆจาก อาร์ทปักคอมด้วยนะครับ

11868617_10207592385117366_607630394_n

11868847_10207592382797308_1717171265_n

11872654_10207592400677755_727864158_n

11872927_10207592398157692_1693720289_n

11880095_10207592379957237_563075363_n

11880116_10207592400597753_605687224_n

11880125_10207592409877985_1388867976_n

11897088_10207592408517951_23901841_n

11903411_10207592400477750_1331712495_n

11903503_10207592409517976_850008114_n

11909646_10207592399637729_2025598576_n

11909870_10207592371797033_475184743_n

11910686_10207592411118016_140604514_n

11910979_10207592411038014_217072708_n

11911354_10207592364836859_1271148550_n

11911422_10207592409557977_1648514174_n

11911501_10207592366556902_1873444412_n

11911513_10207592370717006_1976751166_n

11911964_10207592410397998_2125834361_n

11912978_10207592401157767_699414690_n

11914134_10207592379797233_280777495_n

 

กรณีศึกษา Acute diarrhea, R/O Shigellosis กุมารเวชกรรม

ชื่อนักศึกษา  ——                                วันที่  10  มีนาคม  2558

สถานที่ฝีกปฏิบัติงาน  –

ผู้ให้ข้อมูล  แม่และผู้รับบริการ

ข้อมูลทั่วไป

HN :  –        เพศ ชาย     อายุ   13   ปี      สถานภาพสมรส โสด          อาชีพ นักเรียน

เชื้อชาติ ไทย        สัญชาติ ไทย         รายได้ครอบครัว/เดือน 15,000   บาท

แหล่งประโยชน์   สิทธิบัตร บัตรประกันสุขภาพ(นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น)

ที่อยู่ปัจจุบัน    –

การประเมินภาวะสุขภาพ

Subjective

  1. อาการสำคัญ ( Chief Complaint )

มีไข้ ถ่ายเหลว 6 ครั้ง เป็นก่อนมา 1 วัน

  1. ประวัติการเจ็บป่วยในปัจจุบัน ( Present illness )

1 วันก่อนผู้ป่วยมีไข้สูง ไม่หนาวสั่น ไม่ไอ ไม่มีน้ำมูก ถ่ายอุจจาระเหลวสีเหลืองปนเนื้อ 4 ครั้งๆ ละ ประมาณ 250 ซีซี ไม่มีเลือดปน มีคลื่นไส้ อาเจียนเป็นเศษอาหาร 2 ครั้งๆ ละ ประมาณ 50 ซีซี จุกแน่นท้องบริเวณลิ้นปี่พอทนได้ มารดาให้ทานยาลดไข้ 1 เม็ด น้ำตาลเกลือแร่ 1 แก้ว และยาธาตุน้ำขาว 1 ช้อนโต๊ะ อาการพอทุเลา ผู้ป่วยให้ประวัติว่า 2 วันก่อนทานยำไข่มดแดงเป็นอาหารเย็นพร้อมครอบครัว เวลาประมาณ 17.00 น. เริ่มมีไข้ขึ้น คลื่นไส้อาเจียน ถ่ายเหลวประมาณ 11.00 น. ของวันถัดไป แต่คนในครอบครัวไม่มีใครมีอาการผิดปกติ

6 ชั่วโมงก่อนมา ถ่ายเหลวอีก 2 ครั้ง ออกกะปริดกะปรอย มีมูกสีขาวปนออกมาเล็กน้อย ไม่มีเลือดปน กลิ่นไม่เหม็นมาก มีไข้ต่ำๆ จุกแน่นท้องบริเวณลิ้นปี่ ปวดบิดท้องน้อยด้านซ้ายเหมือนถ่ายอุจจาระไม่สุดพอไปถ่ายกลับถ่ายไม่ออก  มีคลื่นไส้เล็กน้อย ไม่อาเจียน รับประทานอาหารได้น้อยลง อ่อนเพลีย มารดาจึงพามารับการรักษาที่โรงพยาบาล

 

  1. ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต ( Past Medical History )

การได้รับภูมิคุ้มกัน:  รับการฉีดวัคซีนตามนัด  ได้รับวัคซีนครบตามกำหนด ล่าสุดได้รับ dT ตอนเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

การเจริญเติบโตและพัฒนาการ : การเจริญเติบโตด้านร่างกาย  เทียบน้ำหนักตามเกณฑ์อายุ มีภาวะโภชนาการอยู่ในเกณฑ์ปกติ

สิ่งที่ทำเป็นนิสัย : เป็นเด็กร่าเริง ชอบเล่นกับเพื่อน และเล่นเกมส์ออนไลน์

ปฏิเสธการได้รับอุบัติเหตุ ปฏิเสธการแพ้ยา แพ้อาหาร  หรือสารเคมีใดๆ ปฏิเสธโรคเรื้อรังอื่นและโรคติดต่ออื่นๆ ไม่เคยได้รับการผ่าตัด ปฏิเสธการได้รับหรือถ่ายเลือดใดๆ

  1. ประวัติครอบครัว (Family History)

ในครอบครัวมีสมาชิกทั้งหมด 5 คน คือ บิดา มารดา ยาย ตา และผู้ป่วยซึ่งเป็นบุตรคนเดียวของบิดา มารดา สมาชิกในครอบครัวมีสุขภาพแข็งแรงดี ไม่มีใครถ่ายเหลวเหมือนผู้ป่วย ไม่มีใครเป็นโรคติดต่อทางกรรมพันธุ์ บิดาและมารดาเป็นคนหารายได้จุนเจือครอบครัว ปฏิเสธโรคติดต่อทางพันธุกรรม เช่น  HT   DM    ธาลัสซีเมีย ไม่มีประวัติบุคคลในครอบครัวหรือเพื่อนบ้านใกล้เคียงป่วยเป็นโรคติดต่อ เช่น วัณโรค หัด ตับอักเสบ ท้องร่วง

2

  1. ประวัติทางจิตสังคม ( Psychosocial History )

ประวัติส่วนบุคคล

การศึกษา : กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

                การรับประทานอาหาร : ชอบรับประทานข้าวเหนียวหมูปิ้ง ทานข้าวสวยบางมื้อ ชอบรับประทานอาหารประเภททอด,ผัด อาหารรสหวานมัน ทานอาหารวันละ 3-4 มื้อ ไม่ค่อยตรงเวลา ชอบทานน้ำอัดลมและขนมขบเคี้ยวจากร้านสะดวกซื้อ ชอบทานทานผลไม้ตามฤดูกาล เช่น ส้ม , กล้วย , มะขามหวาน ไม่ชอบทานผัก ช่วงนี้มีอาการพื้นบ้านตามฤดูกาลที่ผู้ป่วยชอบทานคือ ไข่มดแดงและดักแด้จากต้นขี้เหล็ก ซึ่งผู้ป่วยก็ทานยำไข่มดแดงเมื่อ 2 วันก่อน

การพักผ่อน : เข้านอนประมาณ 2-3 ทุ่ม ตื่นประมาณ 6 โมงเช้าในวันที่ไปโรงเรียน วันหยุดจะตื่นสาย ดูโทรทัศน์และเล่นเกมส์ออนไลน์ ช่วงนี้จะออกหาจับกิ้งก่า ไปทอดแหจับปลากับบิดา

การทำงาน : ช่วยเหลืองานบ้านในการกวาดบ้าน , ซักผ้า , ล้างจาน

สุขวิทยาส่วนบุคคล : อาบน้ำแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น สระผมสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง

การขับถ่าย : ปกติถ่ายอุจจาระ 1-2 วันต่อครั้ง ปัสสาวะ 4-6 ครั้งต่อวัน

ที่อยู่อาศัย : สิ่งแวดล้อมสภาพบ้านที่อยู่อาศัยเป็นหมู่บ้านในชุมชนชนบท ลักษณะเป็นบ้านปูนชั้นเดียว มีรั้วรอบขอบชิด

 

ประวัติทางจิตสังคม

เป็นบุตรคนเดียว ของครอบครัว เป็นเด็กที่มีอุปนิสัยร่าเริง เข้ากับเพื่อนได้ ช่วยเหลืองานบ้านดี ชอบดูโทรทัศน์และเล่นเกมส์ออนไลน์

ความเชื่อเกี่ยวกับการรักษาและการเจ็บป่วย : เมื่อเกิดการเจ็บป่วยในครอบครัว แม่จะพามารับการรักษาที่โรงพยาบาลนาคู หรือคลินิกบ้าง มีความเชื่อเรื่องการรักษาแผนปัจจุบัน

ความสัมพันธ์ในครอบครัว   สุภาพเรียบร้อย  ครอบครัวรักใคร่  ปรองดองกันดี  มารดาเลี้ยงดูด้วยความรักและเอาใจใส่ ช่วยงานบ้านเป็นประจำ

พัฒนาการตามช่วงวัย เป็นนักเรียนที่มีผลการเรียนปานกลาง  มีพัฒนาการที่เหมาะสม  มีเพื่อนมาก  เป็นที่รักใครของเพื่อนและคุณครูในโรงเรียน

 

6.การทบทวนประวัติ ( Review  System )

ลักษณะทั่วไป  :  รูปร่างเท่าเดิมแต่น้ำหนักลดไป 1.5 กิโลกรัม เบื่ออาหาร นอนไม่ค่อยหลับมา 1 คืน

ผิวหนัง :  ความยืดหยุ่นปกติ ไม่มีตุ่มคัน ไม่พบฝี หรือก้อน ไม่มีแผลพุพองหรือแผลเรื้อรัง

ศีรษะ : ศีรษะได้รูป ไม่เคยมีบาดแผล หนังศีรษะสะอาด ไม่มีผมร่วง ไม่มีมึนหรือเวียนศีรษะ มีปวดศีรษะเล็กน้อย

ตา :  ตามองเห็นปกติ ไม่มีตาแดง ไม่มีตามัว ปกติไม่ได้ใส่แว่นตา

หู : รูปร่างปกติ อยู่ในระดับเดียวกับหางตา ได้ยินปกติ ไม่มีปวดหู ไม่มีของเหลวไหลออกมาจากรูหู

จมูก : ไม่มีน้ำมูกไหล ไม่มีเลือดกำเดาไหล ไม่มีคันจมูก ไม่มีปวดในจมูก หายใจไม่มีกลิ่นเหม็น

ช่องปาก :  ริมฝีปากแห้งเล็กน้อย ไม่ซีด ฟันขึ้นตามปกติ ไม่มีแผลในปาก ไม่มีเลือดออกตามไรฟัน ไม่มีอาการลิ้นชา รับรสได้ปกติ

คอ : ไม่เจ็บคอไม่มีก้อนที่คอ กลืนอาหารได้ปกติ ไม่เคยมีเสียงแหบ ต่อมไทรอยด์ไม่โต

ต่อมน้ำเหลือง :  ต่อมน้ำเหลืองไม่โต

ระบบหายใจ : การหายใจปกติ ไม่หอบเหนื่อย ไม่ไอ ไม่มีเจ็บหน้าอก ไม่เคยสัมผัสคนเป็นวัณโรค

ระบบหัวใจและการไหลเวียนโลหิต : ไม่มีอาการบวม  ไม่เคยมีอาการเหนื่อย หอบ ใจสั่น ไม่มีเจ็บหน้าอก หรือนอนราบไม่ได้ ความดันโลหิตปกติ

ระบบทางเดินอาหาร : อาการปวดบิดท้อง เมื่อถ่ายอุจาระออกแล้วอาการดีขึ้น

ระบบทางเดินปัสสาวะ : ปริมาณของปัสสาวะแต่ละครั้งลดลง สีเหลืองเข้มกว่าปกติ ปัสสาวะไม่มีเลือดปน ปัสสาวะไม่มีหนองปน ไม่มีแสบขัด ไม่มีสะดุด

ระบบสืบพันธุ์ :   ไม่พบอาการผิดปกติใด ๆ

ระบบกล้ามเนื้อ  กระดูกและข้อ : ไม่มีอาการบวม ไม่มีอาการผิดปกติทางกระดูกและข้อ

ระบบประสาท : ไม่มีอาการแขนขาอ่อนแรง  ไม่มีอาการชา ไม่มีอาการชัก

ระบบโลหิต : ไม่เคยได้รับเลือด  ไม่มีเลือดออกทางผิวหนัง  ไม่มีประวัติซีด

 

Objective

  1. การตรวจร่างกาย ( Physical Examination )

Vital signs                           T =38.0º C    P =72 / min    R =20 / min   BP = 110/74 mmHg

BW = 46.5  kgs  Height = 145 cms.      BMI = 22.12

General appearance      Thai boy , age 13 years old, looked weak, good consciousness

Skin & Nails                       warm no cyanosis, good skin turgor, capillary refill time 2 sec.

Head & Face                      Normal size and shape, no evidence of trauma, no abnormal face

Eyes                                       Normal eyes contour, conjunctiva not pale, Sclera no jaundice and   not injected, Pupils 2 mm. react to light both eyes, no sunken eyes.

Ears                                       External ears no mass or lesion, ears canal no abrasion or inflammation or tenderness, no discharge, hearing   normal

Nose                                       mucosa pink, septum midline, no rhinorrhea, sinus no tenderness

Mouth and throat            mild dry lips, no cyanosis, tonsils  not enlarged, pharynx  not inject

Neck                                      Trachea normal, not deviated, thyroid gland not enlarged, no stiff neck

Circulation system       Normal  heart  sound  , S1 S2 clear , heart  rate 72 / min, regular , no   murmur , apical  impulse  at  5 th LICS , no precordial  heave or thrills

Respiratory                        Normal  breath sounds, no adventitious sound. no mass.

Abdomen                            No  abdominal mass, soft, mild tenderness at epigastric  region and left lower quadrant , no rebound tenderness at McBurney’s point,   no guarding, hyperactive bowel sound, CVA not tenderness, liver not palpable.

Lymph nodes                     No palpable lymph nodes

Extremity and muscle system   Arms and legs  symmetrical, no deformities ,muscle power good, grade V , Rt. = Lt,  no abnormal movement.

Breasts                                 –

Genitalia                             –

Nervous  system                Good consciousness, speech normal, well co-operation

 

การประเมินภาวะขาดน้ำมี 3 ระดับ คือ

– ภาวะขาดน้ำเล็กน้อย : น้ำหนักตัวลดลง 3-5% เสียน้ำ 30-50 มล./กก.

– ภาวะขาดน้ำปานกลาง : น้ำหนักตัวลดลง 6-9% เสียน้ำ 60-90 มล./กก.

– ภาวะขาดน้ำรุนแรง : น้ำหนักตัวลดลงประมาณ 10% เสียน้ำ 100 มล./กก.

               

การประเมินภาวะขาดน้ำในผู้ป่วยรายนี้

1.เดิมผู้ป่วยมีน้ำหนัก 48 กิโลกรัม น้ำหนักลดไปประมาณ 1.5 กิโลกรัม คิดเป็น 3.12%

2.ผู้ป่วยเสียน้ำจากการถ่ายอุจจาระประมาณ 1,000 ซีซี, จากการอาเจียนประมาณ 100 ซีซี, จากการมีไข้สูง รวมแล้วประมาณ 1,200 ซีซี คิดเป็น 25.8 ซีซี/กิโลกรัม

3.จากการตรวจร่างกายพบว่า ผู้ป่วยหิวน้ำเพิ่มขึ้นเล็กน้อย รู้สึกตัวปกติ ผิวหนังมีความยืดหยุ่นปกติ good skin turgor  ปากแห้งเล็กน้อย ไม่มีตาลึกโหล ชีพจรเต้นปกติ สม่ำเสมอ ความดันโลหิตปกติ ปริมาณปัสสาวะลดลงเล็กน้อย

ผลการประเมินคือ ผู้ป่วยมีภาวะขาดน้ำเล็กน้อย  mild dehydration

 

  1. ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ ( Laboratory Data )

Stool exam

color Yellow
character loose
Mucus Seen
RBC 3-5 /HP
WBC 50-100 /HP
Parasite Not found

 

Assessment

  1. สรุปปัญหา ( Problem list )

1.ถ่ายเหลว

2.ปวดท้อง

3.ไข้ต่ำๆ

4.คลื่นไส้ อาเจียน

5.อ่อนเพลีย

 

การวินิจฉัยแยกโรค (Differential Diagnosis)

จากอาการ อาการแสดงและการตรวจร่างกาย ทำให้คิดถึงโรค ต่อไปนี้ ซึ่งจำเป็นต้องวินิจฉัยจำแนก (Differential Diagnosis) ได้แก่

  1. Acute Diarrhea
  2. Appendicitis
  3. Irritable bowel syndrome
  4. Viral gastritis
  5. Food poisoning
  6. Cholera

 

  1. การวินิจฉัยแยกโรค (Differential diagnosis and discussion of the problem)
การวินิจฉัยโรค อาการของโรคตามทฤษฎี
1. Acute Diarrhea องค์การอนามัยโลกได้กำหนดคำจำกัดความของ “โรคอุจจาระร่วง” ว่าเป็นภาวะที่มีการถ่าย 

อุจจาระมากกว่าหรือเท่ากับ 3 ครั้ง/วัน หรือถ่ายเป็นมูกหรือมูกปนเลือดอย่างน้อย 1 ครั้ง/วัน หรือถ่ายเป็นน้ำมาก ๆ เพียงครั้งเดียว/วัน แบ่งออกเป็น  3 ลักษณะตามระยะเวลาที่มีอาการคือ

อุจจาระร่วงเฉียบพลัน (Acute diarrhea) หมายถึง อุจจาระร่วงที่มีอาการแสดงผิดปกติหลายชั่วโมงหรือหลายวัน แต่มักจะหายภายในไม่เกิน 7 วัน โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน เกิดจากหลายสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส โปรโตซัว และหนอนพยาธิ การได้รับสารเคมีเช่น ตะกั่ว สารหนู ยาฆ่าแมลง หรืออาจเกิดจากการรับประทานยา เช่น ยาถ่าย ยาลดกรด ยาปฏิชีวนะ หรือแม้แต่การกินพืชที่มีพิษเช่น เห็ดพิษ กลอย เป็นต้น

อุจจาระร่วงยืดเยื้อ (Persistent diarrhea) หมายถึง โรคอุจจาระร่วงที่มีอาการแสดงถ่ายผิดปกตินานเกิน 2 สัปดาห์ และสาเหตุเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อในลำไส้

อุจจาระร่วงเรื้อรัง (Chronic diarrhea) หมายถึง อุจจาระร่วงที่มีอาการแสดงผิดปกตินานเกิน 3 สัปดาห์หรือเป็นๆหายๆ เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น กลุ่มอาการลำไส้ไวต่อสิ่งเร้า การติดเชื้อบิดอะมีบา วัณโรคลำไส้ พยาธิแส้ม้า เอดส์ การป่วยเป็นโรคเรื้อรังเช่น คอพอกเป็นพิษ การขาดเอนไซม์ในการย่อยนม การดูดซึมที่ลำไส้ผิดปกติ เนื้องอกหรือมะเร็งที่ลำไส้ ยาบางชนิดเช่น ยาระบาย ยาลดกรด

อาการ ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่เป็น โดยทั่วไปจะมีอาการปวดท้อง ถ่ายเป็นน้ำ ถ่ายเหลวบ่อยครั้ง อาจมีไข้ คลื่นไส้อาเจียน หรืออาจถ่ายเป็นมูกหรือมูกปนเลือด

ในผู้ป่วยรายนี้มาด้วยมีไข้ ถ่ายเหลว 6 ครั้ง เป็นก่อนมา 1 วัน โดย 1 วันก่อนผู้ป่วย มีไข้สูงนำมาก่อน แต่ไม่หนาวสั่นซึ่งแสดงถึงภาวะการติดเชื้อหรือได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกายแบบเฉียบพลันทันทีทันใด ไม่ไอ ไม่มีน้ำมูกแสดงถึงการติดเชื้อที่ไม่น่าจะใช่ไวรัส ถ่ายอุจจาระเหลว 4 ครั้ง อุจจาระมีสีเหลืองปนกับเศษอาหาร ไม่มีเลือดปน มีคลื่นไส้ อาเจียนเป็นเศษอาหาร 2 ครั้ง ต่อมาผู้ป่วยถ่ายเหลวอีก 2 ครั้ง ออกกะปริดกะปรอย มีมูกสีขาวปนออกมาเล็กน้อย ไม่มีเลือดปน กลิ่นไม่เหม็นมาก ยังมีไข้ต่ำๆ และปวดบิดท้องน้อยด้านซ้ายเหมือนถ่ายอุจจาระไม่สุด ยังมีคลื่นไส้เล็กน้อย ไม่อาเจียน รับประทานอาหารได้น้อยลง อ่อนเพลีย  ซึ่งเข้าได้กับทฤษฎี

การวินิจฉัยโรค อาการของโรคตามทฤษฎี
2.Appendicitis

(ไส้ติ่งอักเสบ)

  จากการตรวจร่างกายพบว่าผู้ป่วยมีภาวะขาดน้ำเล็กน้อย กดเจ็บเล็กน้อยที่ลิ้นปี่และท้องน้อยด้านซ้าย มี hyperactive bowl sound นำอุจจาระส่งตรวจพบอุจจาระเป็นมูก มีเม็ดเลือดขาวและเม็ดเลือดแดงในอุจจาระ ที่แสดงถึงการติดเชื้อในลำไส้ ซึ่งเข้าได้กับโรคนี้ 

 

ไส้ติ่งอักเสบเป็นโรคปวดท้องอักเสบเฉียบพลันที่พบบ่อยที่สุด เกิดได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย พบมากถึง 7% ของประชากร โดยมากมักพบใน เด็ก จนถึงวัยทำงาน

ไส้ติ่งอักเสบ เกิดจากมีภาวะอุดกั้นของรูไส้ติ่ง ส่วนการอุดกั้นนั้นส่วนหนึ่งเป็นการเกิดขึ้นเองโดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่ส่วนหนึ่งเกิดจากมีเศษอุจจาระแข็งๆ เรียกว่า “นิ่วอุจจาระ” (fecalith) ชิ้นเล็กๆ ตกลงไปอุดกั้นอยู่ภายในรูของไส้ติ่ง แล้วทำให้เชื้อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในรูไส้ติ่งจำนวนน้อยเกิดการเจริญแพร่พันธุ์และรุกล้ำเข้าไปในผนังไส้ติ่ง จนเกิดการอักเสบตามมา หากปล่อยไว้เพียงไม่กี่วัน ผนังไส้ติ่งก็เกิดการเน่าตายและแตกทะลุได้

        อาการ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องที่มีลักษณะต่อเนื่องและปวดแรงขึ้นนานเกิน 6 ชั่วโมงขึ้นไป ถ้าไม่ได้รับการรักษาก็มักจะปวดอยู่นานหลายวัน จนผู้ป่วยทนปวดไม่ไหวต้องพาส่งโรงพยาบาลแรกเริ่มอาจปวดแน่นตรงลิ้นปี่คล้ายโรคกระเพาะ บางคนอาจปวดบิดเป็นพักๆ รอบๆ สะดือ คล้ายอาการปวดแบบท้องเสีย อาจเข้าส้วมบ่อย แต่ถ่ายไม่ออก (แต่บางคนอาจมีอาการถ่ายเป็นน้ำหรือ ถ่ายเหลวร่วมด้วย)ต่อมาจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหารร่วมด้วย อาการปวดท้องมักจะไม่ทุเลา แม้ว่าจะกินยาแก้ปวดอะไรก็ตาม ต่อมาอีก 3-4 ชั่วโมง อาการปวดจะย้ายมาที่ท้องน้อยข้างขวา มีลักษณะปวดเสียดตลอดเวลา และจะเจ็บมากขึ้นเมื่อมีการขยับเขยื้อนตัว หรือเวลาเดินหรือไอจาม ผู้ป่วยจะนอนนิ่งๆ ถ้าเป็นมากผู้ป่วยจะนอนงอขา ตะแคงไปข้างหนึ่ง หรือเดินตัวงอ เพื่อให้รู้สึกสบายขึ้น

เมื่อถึงขั้นที่มีอาการอักเสบของไส้ติ่งชัดเจน มีวิธีตรวจอย่างง่ายๆ คือ ให้ผู้ป่วยนอนหงายแล้วใช้มือกดลงลึกๆ หรือใช้กำปั้นทุบเบาๆ ตรงบริเวณไส้ติ่ง (ท้องน้อยข้างขวา)ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บมาก (เรียกว่า อาการกดเจ็บ) ผู้ป่วยอาจมีไข้ต่ำๆ (วัดปรอทพบอุณหภูมิ 37.7-38.3 องศาเซลเซียส) อย่างไรก็ตาม พบว่าประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบ อาจไม่มีอาการตรงไปตรงมา ดังกล่าวข้างต้น กล่าวคือ อาจมีอาการอย่างอื่นนำมาก่อนก็ได้เช่นผู้ป่วยอาจมาด้วยอาการปวดบิดเกร็งเป็นพักๆ รอบๆ สะดือ ร่วมกับถ่ายเหลว หรือถ่ายเป็นน้ำบ่อยครั้ง อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบเกือบทุกรายมักมีไข้ร่วมด้วย

ในผู้ป่วยรายนี้พบว่าเป็นเด็กโต มาด้วยอาการไข้ ถ่ายเหลวกะปริดกะปรอย ปวดท้องมามากกว่า 6 ชั่วโมง  มีคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย  ซึ่งเป็นอาการคล้ายกับการเป็นไส้ติ่งอักเสบแต่ในผู้ป่วยรายนี้พบว่าหลังถ่ายอุจจาระแล้วอาการปวดท้องจะทุเลา  ถ้าเป็นไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันจะ

การวินิจฉัยโรค อาการของโรคตามทฤษฎี
2.Appendicitis 

(ไส้ติ่งอักเสบ)

(ต่อ)

 

 

3.Irritable bowel syndrome

(กลุ่มอาการลำไส้ไวต่อสิ่งเร้า )

ยังปวดท้องแม้จะถ่ายอุจจาระไปแล้ว ตรวจท้อง ไม่พบ rebound tenderness at McBurney’s point,  ไม่มี guarding พบเพียงกดเจ็บเล็กน้อยบริเวณลิ้นปี่และท้องน้อยด้านซ้ายแต่อาจมีการย้ายตำแหน่งมากดเจ็บท้องน้อยด้านขวาได้ในเวลาต่อมาก็เป็นได้ จึงยังคงให้ความสำคัญกับโรคนี้พอสมควรเพราะเป็นภาวะที่อาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ 

 

กลุ่มอาการลำไส้ไวต่อสิ่งเร้า เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของอาการท้องเดินเรื้อรัง พบได้ในคนทุกวัย มักมีอาการครั้งแรกตั้งแต่เป็นวัยรุ่น ส่วนมากจะเป็น ๆ หาย ๆ หรือเป็นอยู่ประจำนานเป็นแรมปีหรือตลอดชีวิต โดยที่สุขภาพทั่วไปแข็งแรงดี และทำงานได้เป็นปกติ เป็นโรคที่ไม่มีอาการแทรกซ้อนที่ร้ายแรงแต่อย่างไร

สาเหตุ เกิดจากความผิดปกติเกี่ยวกับการทำงานของลำไส้ใหญ่ โดยหาความผิดปกติทางกายภาพ (ร่างกาย) ไม่พบ แต่พบว่าโรคนี้ มีความสัมพันธ์กับอารมณ์และจิตใจของผู้ป่วย (เช่น อารมณ์เคร่งเครียด คิดมาก กังวลใจ) ทำให้ลำไส้ใหญ่มีอาการเคลื่อนไหวผิดปกติ จึงเป็นเหตุทำให้ปวดท้อง ท้องเดิน หรือ ไม่ก็ท้องผูก บางคนก็อาจเกิดจากลำไส้มีความไวต่อการกระตุ้นของอาหารบางชนิด ทำให้ปวดท้อง ท้องเดินง่าย

อาการ มีอาการถ่ายอุจจาระบ่อยเป็นประจำทุกวัน หรือเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง เป็นแรมเดือน แรมปี  ผู้ป่วยมักจะถ่ายอุจจาระเป็นก้อนเหมือนปกติหลังตื่นนอนตอนเช้าครั้งหนึ่งก่อน แล้วหลังอาหารเช้า จะมีอาการปวดบิดในท้องทันที ต้องเข้าส้วมถ่ายอีก ซึ่งมักจะถ่ายเหลว ๆ หรือเป็นน้ำ และอาจจะถ่ายเหลวอีกหลายครั้งโดยเฉพาะในเวลาหลังอาหารแต่ละมื้อ บางครั้งอาจมีมูกปน แต่ไม่มีเลือดหรือหนอง  ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่มีไข้ ผู้ป่วยมักมีอาการปวดบิด ๆ ในบริเวณท้องน้อยด้านซ้ายซึ่งเกิดจากการบีบตัวของลำไส้ใหญ่ พอถ่ายอุจจาระแล้วจะหายปวด  ปกติเมื่อเข้านอนแล้ว ผู้ป่วยมักจะไม่ต้องลุกขึ้นถ่ายจนกระทั่งรุ่งเช้า

บางคนอาจมีอาการท้องเดินเวลาที่อารมณ์เครียด หรือกังวลใจ เช่น เวลาสอบ เวลาเดินทาง หรือตื่นเต้นตกใจ

บางคนอาจมีอาการท้องเดินหลังกินอาหารเผ็ดจัด มันจัด กะทิ นมสด น้ำส้มสายชู หรือเวลาดื่มชา กาแฟหรือเหล้า เบียร์ เป็นต้น

บางคนเมื่อท้องเดินระยะหนึ่งแล้ว จะมีอาการท้องผูก อุจจาระแข็ง และมีขนาดเล็กกว่าปกติ

ผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการของโรคกังวล  เช่น อ่อนเพลีย ซึมเศร้า คิดมาก ใจสั่น นอนไม่หลับร่วมด้วย แต่จะไม่มีอาการน้ำหนักลด และยังทำงานหรือเรียนหนังสือได้เป็นปกติ

 

การวินิจฉัยโรค อาการของโรคตามทฤษฎี
  

 

 

 

 

4. Viral gastritis

(โรคท้องร่วงจากเชื้อไวรัส)

ซึ่งในผู้ป่วยรายนี้พบว่ามีอาการถ่ายเหลวมา 4 ครั้ง เป็นมูกสีขาว 1 ครั้ง ผู้ป่วยมักมีอาการปวดบิด ๆ ในบริเวณท้องน้อยด้านซ้ายพอถ่ายอุจจาระแล้วจะหายปวด ซึ่งเข้าได้กับทฤษฎีแต่ ผู้ป่วยรายนี้นำมาด้วยไข้สูงก่อนแล้วถ่ายเหลวตามมา อาการเจ็บป่วยครั้งนี้เพิ่งจะเป็นครั้งแรกในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ประกอบกับช่วงนี้ผ่านการสอบไปแล้วหลายสัปดาห์ จึงทำให้นึกถึงโรคนี้น้อยลง 

 

โรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบจากไวรัสหมายถึงโรคติดเชื้อที่มีสาเหตุจากไวรัสหลายชนิด ทำให้เกิดการอักเสบของกระเพาะอาหารลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่ ไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบได้แก่ ไวรัสโรตา ไวรัสโนโร ไวรัสซาโพ ไวรัสแอสโตร ไวรัสอะดีโน และไวรัสไอชิ ไวรัส ไวรัสโรตาเป็นสาเหตุสำคัญก่อโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันในทารกและเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ขณะที่ไวรัสโนโรเป็นสาเหตุหลักก่อโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบเฉียบพลัน โรคนี้มีลักษณะพิเศษคือมักเกิดในฤดูหนาว

ระยะฟักเชื้อ ในผู้ป่วยทุกกลุ่มอายุรวมถึงเด็กโตและผู้ใหญ่หลังติดเชื้อไวรัส 1 ถึง 2 วัน ผู้ป่วยถึงจะแสดงอาการออกมา

สาเหตุ ติดต่อโดยการรับประทานอาหาร/น้ำปนเปื้อนเชื้อ การไอ จาม หายใจรดกัน

อาการ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมาด้วยอาการปวดท้องและอาเจียน จากนั้นจะมีถ่ายเป็นน้ำตามมา โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีไข้ร่วมด้วย หรืออาจมีอาการน้ำมูกใส ไป จาม นำมาก่อน อาการมักเป็นนาน 2-6 วัน ในรายที่เป็นไม่มากมักหายได้เอง

ในผู้ป่วยรายนี้ พบว่ามีไข้สูงนำมาก่อน พร้อมกับถ่ายเหลว ปวดบิดท้อง อาเจียน ซึ่งเป็นอาการแบบเฉียบพลันทันทีทันใด ซึ่งเข้าได้กับอาการของโรคนี้ แต่มีข้อมูลขัดแย้งคือไม่มีอาการของการติดเชื้อไวรัสที่ชัดเจนนำมาก่อนเช่น คัดจมูก น้ำมูกใส ไอ จาม พบเพียงไข้สูงแต่ทานยาลดไข้อาการไข้ก็ลดลง ผลการตรวจอุจจาระพบลักษณะเป็นมูก พบเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวที่แสดงถึงการอักเสบหรือเกิดแผลของลำไส้ที่มักจะไม่ใช่สาเหตุที่มาจากเชื้อไวรัส จึงทำให้นึกถึงโรคนี้น้อยลง

5. Food poisoning 

(อาหารเป็นพิษ)

อาหารเป็นพิษ ในที่นี้หมายถึง อาการท้องเดิน (อุจจาระร่วง) เนื่องจากการกินอาหารที่มีสารพิษที่เกิดจากเชื้อโรคปนเปื้อน เป็นสาเหตุของอาการท้องเดินที่พบได้บ่อยในหมู่คนทั่วไป 

ส่วนใหญ่มักจะมีอาการไม่รุนแรง และทุเลาได้เองภายใน 24 – 48 ชั่วโมงส่วนน้อยที่อาจรุนแรง จนต้องให้น้ำเกลือที่โรงพยาบาล อย่างไรก็ตาม ก็ควรแยกแยะสาเหตุจากโรคอื่นๆ ที่จำเป็นต้องให้การรักษาด้วยยาต่างๆ เพิ่มเติม

สาเหตุ มีเชื้อโรคหลายชนิดที่สามารถปล่อยสารพิษ (toxin) ออกมาปนเปื้อนในอาหารต่างๆ เช่น

การวินิจฉัยโรค อาการของโรคตามทฤษฎี
5. Food poisoning 

(อาหารเป็นพิษ) ต่อ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

6. Cholera

(อหิวาตกโรค)

 

 

 

 

 

น้ำดื่ม เนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ ไข่ นม อาหารทะเล และผลิตภัณฑ์จากนม เนยแข็ง ข้าว ขนมปัง สลัด ผัก ผลไม้ เป็นต้น เมื่อคนเรากินอาหารที่ปนเปื้อนสารพิษดังกล่าว ก็จะทำให้เกิดอาการปวดท้อง อาเจียน ท้องเดิน สารพิษหลายชนิดทนต่อความร้อน ถึงแม้จะปรุงอาหารให้สุกแล้ว สารพิษก็ยังคงอยู่และก่อให้เกิดโรคได้
ระยะฟักตัว ขึ้นกับชนิดของเชื้อโรค บางชนิดมีระยะฟักตัว 1-8 ชั่วโมง บางชนิด 8-16 ชั่วโมง บางชนิด 8-48 ชั่วโมง 

อาการ อาหารเป็นพิษจากเชื้อโรคต่างๆ จะมีอาการคล้ายๆ กัน คือ ปวดท้องในลักษณะปวดบิดเป็นพักๆ มีอาการคลื่นไส้อาเจียนเป็รลักษณะเด่นนำมาก่อน (ซึ่งมักมีเศษอาหารที่เป็นต้นเหตุออกมาด้วย) และถ่ายเป็นน้ำบ่อยครั้ง บางรายอาจมีไข้และอ่อนเพลียร่วมด้วย โดยทั่วไป ถ้าเป็นไม่รุนแรง อาการต่างๆ มักจะหายได้เองภายใน 24-48 ชั่วโมง บางชนิดอาจนานถึงสัปดาห์ ในรายที่เป็นรุนแรง อาจอาเจียนและท้องเดินรุนแรง จนร่างกายขาดน้ำและเกลือแร่อย่างรุนแรงได้ อาจพบว่า ผู้ที่กินอาหารร่วมกันกับผู้ป่วย (เช่น งานเลี้ยง คนในบ้านที่กินอาหารชุดเดียวกัน) ก็มีอาการแบบเดียวกับผู้ป่วยในเวลาไล่เลี่ยกัน

ข้อมูลจากผู้ป่วยรายนี้พบว่า มาด้วยไข้ พร้อมกับถ่ายเหลว ปวดบิดท้อง อาเจียน เป็นเศษอาหารออกมา เกิดขึ้นแบบฉับพลัน ซึ่งเข้าได้กับโรคนี้ จากการตรวจอุจจาระพบลักษณะเป็นมูก พบเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวที่แสดงถึงการอักเสบหรือเกิดแผลของลำไส้ อีกทั้งยังให้ประวัติว่าทานยำไข่มดแดงเมื่อ 2วันก่อนมา ซึ่งอาจปนเปื้อนสารพิษที่เชื้อโรคสร้างขึ้นมาได้  แต่จากการซักประวัติพบว่า ในครอบครัวที่ทานยำไข่มดแดงด้วยกันรวมถึงเพื่อนบ้านใกล้เคียงไม่พบการระบาดในลักษณะที่คล้ายกับผู้ป่วยรายนี้เลย จึงนึกถึงโรคนี้รองลงมา

 

อหิวาตกโรค หรือโรคอหิวาต์ หรือ โบราณเรียกว่า โรคห่า หรือ โรคลงราก (Cholera) เป็นโรคเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชื่อ วิบริโอ โคเลอรี (Vibrio cho lerae) ซึ่งก่อให้เกิดการอักเสบของลำไส้เล็ก และส่งผลให้เกิดอาการท้องเสีย (ท้องร่วง) รุนแรง เป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ภายในระยะเวลาเป็นชั่วโมง

สาเหตุ กินอาหารหรือน้ำที่มีเชื้ออหิวาตกโรค หรือพิษของเชื้ออหิวาตกโรคปะปนอยู่ เช่น อาหารที่มีแมลงวันตอม อาหารสุกๆ ดิบๆ อาหารกระป๋องที่เสียแล้ว

อาการ อหิวาตกโรค จะมีอาการหลังได้รับเชื้อแล้ว 2-3 ชั่วโมงไปจนถึงประมาณ 5วัน (ระยะฟักตัวของโรค) ทั้งนี้ขึ้นกับปริมาณเชื้อที่ได้รับ และความรุนแรงของเชื้อซึ่งมีหลายชนิดย่อยที่มีความรุนแรงโรคต่างกัน โดยอาการสำคัญ คือ ท้องเสียเฉียบพลัน ท้องเสียเป็นน้ำโกรก มีเศษอุจจาระ

การวินิจฉัยโรค อาการของโรคตามทฤษฎี
6. Cholera  

(อหิวาตกโรค)

(ต่อ)

ปนได้เล็กน้อย อุจจาระมีสีขาวเหมือนน้ำซาวข้าว และมีกลิ่นเหม็นเหมือนคาวปลา อาจร่วมกับมี คลื่นไส้อาเจียนหรือไม่ก็ได้ และมักไม่มีไข้ โดยแบ่งระดับความรุนแรงเป็น  2 ระดับดังนี้ 

1. เป็นอย่างไม่รุนแรง พวกนี้มักหายภายใน 1 วัน หรืออย่างช้า 5 วัน มีอาการถ่ายอุจจาระเหลวเป็นน้ำ วันละหลายครั้ง แต่จำนวนอุจจาระไม่เกินวันละ 1 ลิตร ในผู้ใหญ่อาจมีปวดท้องหรือคลื่นไส้อาเจียนได้

2. เป็นอย่างรุนแรง อาการระยะแรก มีท้องเดิน มีเนื้ออุจจาระมาก ต่อมามีลักษณะเป็นน้ำซาวข้าว เพราะว่ามีมูกมาก มีกลิ่นเหม็นคาว ถ่ายอุจจาระได้โดยไม่มีอาการปวดท้อง บางครั้งไหลพุ่งออกมาโดยไม่รู้สึกตัว มีอาเจียนโดยไม่คลื่นไส้ อุจจาระออกมากถึง 1 ลิตร ต่อชั่วโมง และจะหยุดเองใน 1 – 6 วัน ถ้าได้น้ำและเกลือแร่ชดเชยอย่างเพียงพอ แต่ถ้าได้น้ำและเกลือแร่ทดแทนไม่ทันกับที่เสียไป จะมีอาการขาดน้ำอย่างมาก ลุกนั่งไม่ไหว ปัสสาวะน้อย หรือไม่มีเลย อาจมีอาการเป็นลม หน้ามืด จนถึงช็อค ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

ในผู้ป่วยรายนี้พบว่ามาด้วยไข้ มีอาการถ่ายเหลว 6 ครั้ง มีอาเจียน 2 ครั้ง เกิดขึ้นทันทีทันใด ให้ประวัติว่าทานยำไข่มดแดงเมื่อ 2 วันก่อนมา ซึ่งอาจปนเปื้อนเชื้ออหิวาได้ แต่ผู้ป่วยอหิวาตกโรคมักไม่มีไข้ ไม่ปวดบิดท้อง แต่ผู้ป่วยรายนี้มีไข้ ปวดบิดท้องไม่มีถ่ายเหลวเหมือนน้ำซาวข้าว อาการไม่หนักมาก มีอาการขาดน้ำเพียงเล็กน้อย ในครอบครัวที่ทานยำไข่มดแดงด้วยกันรวมถึงเพื่อนบ้านใกล้เคียงไม่พบการระบาดในลักษณะที่คล้ายกับผู้ป่วยรายนี้เลย จึงนึกถึงโรคนี้น้อยลง

 

3. การวินิจฉัยโรค (Differential Diagnosis )

Acute Diarrhea. R/O Shigellosis

 

4.อภิปรายปัญหา ( Discussion  Problem )

สรุปปัญหา  ( Problem list )

1.ถ่ายเหลว

2.ปวดท้อง

3.ไข้ต่ำๆ

4.คลื่นไส้ อาเจียน

5.อ่อนเพลีย

 

เด็กชายรูปร่างสมส่วน อายุ 13 ปี มาด้วยอาการมีไข้ ถ่ายเหลว 6 ครั้ง เป็นก่อนมา 1 วัน

โดย 1 วันก่อนผู้ป่วยมีไข้สูง ไม่หนาวสั่น ไม่ไอ ไม่มีน้ำมูก ถ่ายอุจจาระเหลว 4 ครั้งๆ ละ ประมาณ 250 cc. อุจจาระมีสีเหลืองปนกับเศษอาหาร ไม่มีเลือดปน มีคลื่นไส้ อาเจียนเป็นเศษอาหาร 2 ครั้งๆ ละ ประมาณ 50 cc.  จุกแน่นท้องบริเวณลิ้นปี่พอทนได้ มารดาให้ทานยาลดไข้ 1 เม็ด น้ำตาลเกลือแร่ 1 แก้ว และยาธาตุน้ำขาว 1 ช้อนโต๊ะ อาการพอทุเลา ผู้ป่วยให้ประวัติว่า 2 วันก่อนทานยำไข่มดแดงเป็นอาหารเย็นพร้อมครอบครัว แต่ไม่มีใครมีอาการผิดปกติ

6 ชั่วโมงก่อนมา ถ่ายเหลวอีก 2 ครั้ง ออกกะปริดกะปรอย มีมูกสีขาวปนออกมาเล็กน้อย ไม่มีเลือดปน กลิ่นไม่เหม็นมาก มีไข้ต่ำๆ จุกแน่นท้องบริเวณลิ้นปี่ ปวดบิดท้องน้อยด้านซ้ายเหมือนถ่ายอุจจาระไม่สุดพอไปถ่ายกลับถ่ายไม่ออก  มีคลื่นไส้เล็กน้อย ไม่อาเจียน รับประทานอาหารได้น้อยลง อ่อนเพลีย มารดาจึงพามารับการรักษาที่โรงพยาบาล

ตรวจร่างกายพบ T =38.0º C,    P =71 / min,    R =20 / min,   BP = 110/74 mmHg,  mild dry lips, mild tenderness at epigastric  region and left lower quatrant, hyperactive bowl sound  ผู้ป่วยมีภาวะขาดน้ำเล็กน้อย ผลตรวจอุจจาระ พบมูก มีเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวในอุจจาระไม่พบพยาธิหรือไข่พยาธิ

จากอาการสำคัญ การซักประวัติและตรวจร่างกายทำให้นึกถึงโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน เป็นภาวะการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งสามารถแบ่งอาการถ่ายเหลวได้ตามระยะเวลาที่ป่วยออกเป็น 3 ลักษณะตามระยะเวลาที่มีอาการคือ

อุจจาระร่วงเฉียบพลัน (Acute diarrhea) หมายถึง อุจจาระร่วงที่มีอาการแสดงผิดปกติหลายชั่วโมงหรือหลายวัน แต่มักจะหายภายในไม่เกิน 7 วัน โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน เกิดจากหลายสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส โปรโตซัว และหนอนพยาธิ การได้รับสารเคมีเช่น ตะกั่ว สารหนู ยาฆ่าแมลง หรืออาจเกิดจากการรับประทานยา เช่น ยาถ่าย ยาลดกรด ยาปฏิชีวนะ หรือแม้แต่การกินพืชที่มีพิษเช่น เห็ดพิษ กลอย เป็นต้น

อุจจาระร่วงยืดเยื้อ (Persistent diarrhea) หมายถึง โรคอุจจาระร่วงที่มีอาการแสดงถ่ายผิดปกตินานเกิน 2 สัปดาห์ และสาเหตุเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อในลำไส้

อุจจาระร่วงเรื้อรัง (Chronic diarrhea) หมายถึง อุจจาระร่วงที่มีอาการแสดงผิดปกตินานเกิน 3 สัปดาห์หรือเป็นๆหายๆ ในผู้ป่วยรายนี้เป็นอุจจาระแบบร่วงเฉียบพลัน

โดยทั่วไปด้านการรักษาจะแบ่งอุจจาระร่วงออกเป็น 2 กลุ่มตามลักษณะของอุจจาระ คือ อุจจาระเป็นน้ำหรือเหลว และอุจจาระเป็นมูกหรือมูกปนเลือด ซึ่งการรักษาทั้ง 2 กลุ่มจะแตกต่างกัน โดยในผู้ป่วยรายนี้มีอุจจาระเป็นมูกไม่มีเลือดปน โดยสาเหตุของอุจจาระร่วงในผู้ป่วยรายนี้ที่นึกถึงได้มากที่สุดคือ อุจจาระร่วงจากบิดไม่มีตัว(Shigella) เพราะอาการที่พบในผู้ป่วย เข้าได้กับโรคคือ มีไข้สูงในวันแรกหลังจากที่ทานยำไข่มดแดงไป 18 ชม. ซึ่งระยะฟักตัวของบิดชิกเกลล่าจะอยู่ที่ 1-4 วัน โดยประมาณ ซึ่งต่างจากอาหารเป็นพิษที่แสดงอาการได้รวดเร็วกว่าภายใน 12 ชม. เท่านั้น โดยเชื้อบิดจะเข้าสู่ร่างกายทางปากผ่านกระเพาะอาหาร ซึ่งเชื้อทนกรดได้ดี และเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ เชื้อบิดจะเจริญเติบโต แบ่งตัวทวีจำนวนและเข้าทำลายเยื่อเมือกบุผนังลำไส้ ทำให้ผนังลำไส้ใหญ่เกิดการอักเสบและเกิดแผลจึงเกิดเป็นอาการท้องเสียถ่ายเหลวในช่วงแรกๆ หลังจากนั้น 1 วัน ก็มีอุจจาระเป็นมูก ตรวจอุจจาระพบเม็ดเลือดขาวและเม็ดเลือดแดง ซึ่งอาจจะเป็นสารคัดหลั่งที่เกิดจากการอักเสบหรือแผลที่เกิดจากเชื้อบิดที่ผนังลำไส้ นอกจากนี้ผู้ป่วยยังมีอาการปวดท้องบิดเป็นพักๆ และปวดหน่วงเหมือนถ่ายอุจจาระไม่สุด มีลักษณะปวดเบ่ง เข้าได้กับโรคบิดชิกเกลล่าชัดเจน ซึ่งแตกต่างจากบิดมีตัวตรงที่ผู้ป่วยรายนี้มีไข้ บิดมีตัวมักไม่มีไข้ กลิ่นอุจจาระผู้ป่วยรายนี้ไม่เหม็นคล้ายหัวกุ้งเน่า ลักษณะของอุจจาระของบิดมีตัวส่วนใหญ่จะเป็นมูกเลือด นอกจากนี้ผู้ป่วยยังมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนซึ่งก็เป็นกลไกของร่างกายในการขับเอาสิ่งแปลกปลอมออกจากการร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยรายนี้อาเจียน 2 ครั้ง มีอาการอ่อนเพลียเล็กน้อยจากการเสียสมดุลของเกลือแร่ในร่างกาย ส่วนอาการไข้นั้นยังคงมีไข้ต่ำๆที่แสดงถึงการเกิดการอักเสบติดเชื้อในร่างกายอยู่

ในผู้ป่วยรายนี้พบว่า แพทย์วินิจฉัยเป็นโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันซึ่งน่าจะมีสาเหตุมาจากเชื้อบิด ชิกเกลล่า (Acute diarrhea,  R/O Shigellosis) จากประวัติอาการ การตรวจร่างกาย และการตรวจอุจจาระ ซึ่งสาเหตุที่เกิดอุจจาระร่วงในครั้งนี้ยังไม่แน่ชัดแต่ให้น้ำหนักไปทางการติดเชื้อแบคทีเรีย Shigella เพราะผู้ป่วยมีไข้ ถ่ายเหลวเป็นมูกสีขาว กลิ่นไม่เหม็นมากเหมือนหัวกุ้งเน่า ปวดเบ่งเหมือนถ่ายอุจจาระไม่สุด ผลตรวจอุจจาระพบเม็ดเลือดขาวและเม็ดเลือดแดงที่บ่งบอกถึงการอักเสบของลำไส้ ซึ่งเข้าได้กับอาการของบิดไม่มีตัว จึงให้รักษาผู้ป่วยไปตามอาการ คือผู้ป่วยมีภาวะขาดน้ำเล็กน้อยก็ให้ดื่มน้ำตาลเกลือแร่ทดแทนน้ำที่สูญเสียไป มีไข้ก็ให้ยาลดไข้ ให้ยาลดการคลื่นไส้อาเจียน ให้ยาปฏิชีวนะเพื่อกำจัดเชื้อก่อโรค และนัดF/Uอีก 3 วัน เพราะอาการผู้ป่วยไม่รุนแรงมาก ถ้ากลับมาแล้วอาการดีขึ้นก็แสดงว่ายามีผลต่อเชื้อโรค แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้น อาจจะต้องเปลี่ยนยาเป็นอีกกลุ่ม และอาจต้องตรวจเพาะเชื้อจากอุจจาระหรือตรวจพิเศษอย่างอื่นต่อไปเช่น อุลตร้าซาวช่องท้อง เพื่อการวางแผนการรักษาที่เหมาะสม แต่สิ่งสำคัญในการศึกษาผู้ป่วยรายนี้คือการวินิจฉัยโรคที่ต้องมีความถูกต้อง แม่นยำ เพราะอาการไข้ ปวดท้อง ถ่ายเหลว ทำให้นึกถึงโรคต่างๆได้มากมาย ทั้งโรคทางศัลยกรรมเช่น ไส้ติ่งอักเสบ กระเพาะอาหารทะลุ เยื่อบุช่องท้องอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ นิ่วในถุงน้ำดีหรือถุงน้ำดีอักเสบ ซึ่งภาวะเหล่านี้เป็นสิ่งเร่งด่วนที่ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที โดยเฉพาะในเด็กโต ที่มักจะพบไส้ติ่งอักเสบแต่ได้รับการวินิจฉัยที่ล่าช้าหรือคลาดเคลื่อนด้วยปัจจัยหลายๆอย่าง นอกจากนี้ บทบาทพยาบาลชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคอุจจาระร่วงในชุมชนก็มีความสำคัญ การสอบสวนโรคถ้ามีการระบาดเกิดขึ้นในชุมชน การปลูกฝังสุขบัญญัติ 10 ประการในโรงเรียน การให้ความรู้ผ่านหอกระจายข่าวในการป้องกันโรคติดต่อในหมู่บ้าน การถ่ายทอดองค์ความรู้ในสถานบริการผ่านการสอนสุขศึกษา บอร์ดประชาสัมพันธ์ การถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ อสม. การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ผ่านเวทีการประชุมต่างๆ การดึงภาคีเครือข่ายอย่าง บ้าน วัด โรงเรียนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน ดังคำที่ว่า “สร้าง นำ ซ่อม”, “สุขภาพดีเริ่มที่นี่”.

 

ข้อควรจำ

อันตรายจากโรคอุจจาระร่วงจากเชื้อบิดไม่มีตัวคือ คือ การเสียน้ำและเกลือแร่ ดังนั้นควรให้ผู้ป่วยดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ทันทีตั้งแต่มีอาการ

การประเมินภาวะขาดน้ำมี 3 ระดับ คือ

– ภาวะขาดน้ำเล็กน้อย : น้ำหนักตัวลดลง 3-5% เสียน้ำ 30-50 มล./กก.

– ภาวะขาดน้ำปานกลาง : น้ำหนักตัวลดลง 6-9% เสียน้ำ 60-90 มล./กก.

– ภาวะขาดน้ำรุนแรง : น้ำหนักตัวลดลงประมาณ 10% เสียน้ำ 100 มล./กก.

 

Plan

Impression diagnosis

  1. Diagnostic plan

  1. Therapeutic or Treatment
  2. Norfloxazin ( 400 mg ) 1 tab ๏ bid pc # 3 day (10-15 mg/kg/d)
  3. Domperidone 1 tab ๏ tid ac
  4. จิบบ่อยๆ

แนวทางการรักษาอุจจาระร่วงจากบิดไม่มีตัว/บิดชิเกลลา คือ การใช้ยาปฏิชีวนะ และการรักษาประ คับประคองตาอาการ ในที่นี้จะกล่าวถึง หลักการรักษาอาการท้องเดินโดยทั่วไปดังนี้

  1. ควรงดอาหารแข็ง อาหารรสจัด และอาหารที่มีกาก ( เช่น ผัก ผลไม้) ให้กินอาหารอ่อนหรืออาหารเหลว เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก น้ำข้าว น้ำหวานแทน ในทารกให้ดื่มนมแม่ตามปกติ ถ้าดื่มนมผงในระยะ 2-4 ชั่วโมงแรก ให้ผสมนมเจือจางลงเท่าตัว แล้วค่อยให้กินนมผสมตามปกติ
  2. การให้สารละลายเกลือแร่
    2.1 ผู้ป่วยยังกินได้ ไม่อาเจียนหรืออาเจียนเพียงเล็กน้อย ให้กินสารละลายน้ำตาลเกลือแร่โดยผสมผงน้ำตาลเกลือแร่ขององค์การเภสัชกรรมกับน้ำสุกดื่มกินต่างน้ำบ่อยๆ ครั้งละ 1/2 – 1 ถ้วย (250 มล.) หรือจะใช้น้ำเกลือผสมเองก็ได้ โดยใช้น้ำสุก 1 ขวดแม่โขงกลม (หรือขวดน้ำเปล่าใหญ่ คือขนาดประมาณ 750 มล.) ผสมกับน้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ (25-30 กรัม) และ เกลือป่น 1/2 ช้อนชา (1.7 กรัม) หรือจะใช้น้ำอัดลมหรือน้ำข้าวต้มใส่เกลือ (ใส่เกลือ 1/2 ช้อนชาในน้ำอัดลมหรือน้ำข้าว1 ขวดแม่โขง)
    2.2 ถ้าผู้ป่วยมีอาการอาเจียนเล็กน้อย แต่ยังพอดื่มน้ำเกลือหรือน้ำข้าวต้มได้ ให้คอยสังเกตว่าได้รับน้ำเข้าไปมากกว่าส่วนที่อาเจียนออกหรือไม่ ถ้าอาเจียนออกมามากกว่าส่วนที่ดื่มเข้าไป ควรให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำแทนการรักษาด้วยสารน้ำทางหลอดเลือดดำกรณีทดแทนน้ำที่ขาดสมดุล

2.2.1. ทดแทนน้ำที่ขาดสมดุลหรือสูญเสียไป (Deficit fluid) น้ำหนักตัวลดลง 1 กก.เท่ากับสูญเสียน้ำไป 1 ลิตร หรือประเมินจากอาการและอาการแสดง เช่น ขาดน้ำปานกลาง ประเมินว่าสูญเสียน้ำร้อยละ 5 การคำนวณการสูญเสียน้ำดังนี้

1) จากการชั่งน้ำหนัก ถ้าน้ำหนักตัวลดลง 1.5 กก.เท่ากับสูญเสียน้ำไป 1.5 ลิตรหรือ 1,500 ซีซี

2) จากการประเมินอาการและอาการแสดง ถ้าประเมินว่าขาดน้ำระดับเล็กน้อย โดยขาดน้ำไปร้อยละ 3.12 จากเดิมผู้ป่วยหนัก 48 กก. เท่ากับสูญเสียน้ำไป =  3.12/100 X (48 X 1,000 ซีซี) =  1,497.6 ซีซี

การทดแทนวิธีนี้มักทำระยะแรกๆ เช่น ภายใน 8 ชั่วโมงแรก และจะประเมินอาการของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องเพื่อปรับเปลี่ยนการให้สารน้ำในแต่ละวันให้สมดุล เช่น ผู้ป่วยเริ่มดื่มน้ำได้ภายหลังให้สารน้ำ 2-4 ชั่วโมง อาจเหลือการทดแทนเพียงการทดแทนที่สูญเสียตามปกติใน 24 ชั่วโมง (ข้อที่ 3)โดยไม่ต้องทดแทนในข้อที่ 2 ที่จะกล่าวต่อไป

2.2.2. ทดแทนน้ำส่วนที่กำลังสูญเสียผิดปกติในแต่ละวัน (Concurrent loss หรือ abnormal loss fluid) คำนวณการทดแทนด้วยวิธีเหมือนข้อ 1 แต่ต้องประเมินการสูญเสียเป็นระยะๆอย่างต่อเนื่อง

2.2.3. ทดแทนที่สูญเสียตามปกติภายใน 24 ชั่วโมง (maintain fluid)โดยใช้กฎของฮอลิเดย์ (วรนุช เกียรติพงษ์ถาวร 2549) คือ

  

น้ำหนักตัว     10 กก. แรก       ต้องการน้ำ                         100            มล./กก/วัน

น้ำหนักตัว     10 กก. ต่อมา     ต้องการน้ำ                           50            มล./กก/วัน

น้ำหนักตัว > 20 กก. ขึ้นไป    ต้องการน้ำ                           20            มล./กก./วัน

 

 

 

ตัวอย่าง เช่น ผู้ป่วยหนัก 48 กก. ต้องการน้ำทดแทนตามปกติดังนี้

วิธีคำนวณ

น้ำหนักตัว     10 กก. แรก       ต้องการน้ำ                       10 X 100 = 1,000       มล./วัน

น้ำหนักตัว     10 กก. ต่อมา     ต้องการน้ำ                         10 X  50 =   500       มล./วัน

น้ำหนักตัว > 20 กก. ขึ้นไป    ต้องการน้ำ                         20 X 28  =   560       มล./วัน

รวมเป็นทดแทนทั้งสิ้น     1,000 + 500 + 600 =  2,060 มล./วัน

ผู้ใหญ่ ให้น้ำเกลือชนิด 5% เดกซ์โทรสในนอร์มัลซาไลน์ (5% D/NSS) หรือนอร์มัลชาไลน์(NSS) 1,000-2,000 มล.ใน 12-24 ชั่วโมง ถ้ามีภาวะขาดน้ำปานกลางหรือรุนแรงในระยะ 1-2 ชั่วโมง ควรให้น้ำเกลือหยดเร็ว ๆ จนกระทั่งชีพจรเต้นช้าลงและแรงขึ้น ความดันกลับคืนเป็นปกติ จึงค่อยหยดช้าลง

เด็ก ให้น้ำเกลือขนาด 5% เดกซ์โทรสใน 1/3 นอร์มัลซาไลน์ (5% D/1/3 NSS) ขนาด 100 มล. ต่อ น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมใน 24 ชั่วโมง ถ้ามีภาวะขาดน้ำรุนแรง ในระยะ 1-2 ชั่วโมงแรก ให้ขนาด 20 มล.ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมใน 1 ชั่วโมง ขณะให้น้ำเกลือ ควรเฝ้าดูอาการอย่างใกล้ชิด และใช้เครื่องฟังตรวจฟังปอดบ่อย ๆ ถ้ามีอาการหน้าบวม หอบตัวเขียว หรือฟังปอดมีเสียงกรอบแกรบ (crepitation) แสดงว่าให้น้ำเกลือเร็วหรือมากเกินไปควรหยุดน้ำเกลือและรายงานแพทย์

  1. ยาแก้ท้องเดิน ไม่มีประโยชน์ในการรักษาอาการท้องเดิน และถ้าใช้ผิด ๆ อาจเกิดโทษได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็กและผู้ป่วยที่มีสาเหตุจากโรคติดเชื้อ ดังนั้นในปัจจุบันจึงไม่แนะนำให้ใช้ยาแก้ท้องเดินแต่เน้นที่การให้สารละลายน้ำตาลเกลือแร่
  2. ยาปฏิชีวนะ ส่วนใหญ่ไม่ต้องให้ ควรให้เฉพาะรายที่สงสัยเป็นบิด, อหิวาต์หรือไทฟอยด์ ซึ่งยาที่ใช้ในผู้ป่วยที่เป็นบิดนั้นคือยา Norfloxacin, Ofloxacin, และ Ciprofloxacin
  3. ถ้าทราบสาเหตุของอุจจาระร่วง ให้รักษาตามสาเหตุ
  4. ควรติดตามดูการเปลี่ยนแปลงของโรค ถ้าถ่ายรุนแรง อาเจียนรุนแรง มีภาวะขาดน้ำมากขึ้น มีภาวะขาดน้ำรุนแรงหรือช็อก อย่างใดอย่างหนึ่ง ควรส่งโรงพยาบาลโดยด่วน โดยให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดมาระหว่างทางด้วย อาการที่แสดงว่าผู้ป่วยดีขึ้น ได้แก่
    – ถ่ายและอาเจียนน้อยลง
    – ภาวะขาดน้ำลดน้อยลง
    – ปัสสาวะออกมากขึ้น
    – น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
    – หน้าตาแจ่มใส ลุกนั่ง หรือเดินได้ เด็กเล็กเริ่มวิ่งเล่นได้
  5. ในรายที่เป็นเรื้อรัง ถ้ามีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลดหรือถ่ายเป็นมูกหรือมูกปนเลือด หลังเข้านอนกลางคืนต้องตื่นขึ้นถ่ายท้องตอนดึก หรือมีอาการอุจจาระราด (กลั้นไม่อยู่) ควรแนะนำไปตรวจหาสาเหตุที่โรงพยาบาล
  6. Education
  7. ให้ความรู้เรื่องโรคอุจจาระร่วง ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเด็กจะมีอาการปวดท้อง อุจจาระร่วง อาเจียน ทานอาหารและน้ำลดลง ทำให้เกิดการขาดน้ำได้ เพื่อป้องกันภาวะช็อกที่เกิดจากการขาดน้ำและเป็นอันตรายต่อเด็กควรให้เด็กดื่มน้ำตาลเกลือแร่เพื่อชดเชยน้ำที่สูญเสียไป
  8. ให้คำแนะนำถึงเหตุผลของการใช้ยาในกลุ่มที่มีข้อบ่งชี้ห้ามใช้ในคนที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ว่า ชนิดนี้มีความปลอดภัย มีความจำเพาะในการกำจัดเชื้อบิดชิกเกลล่า ซึ่งรายงายผลข้างเคียงจากการใช้ยานี้ในมนุษย์มีน้อยมาก จึงสามารถทานได้อย่างปลอดภัย พร้อมแนะนำให้ดื่มน้ำเกลือแร่ โดยจิบทีละน้อย เพื่อให้ลำไส้ดูดซึมไปเลี้ยงร่างกาย ทดแทนน้ำที่สูญเสียไป ถ้ากินในปริมาณมากจะทำให้เกิดการอาเจียน ร่างกายไม่สามารถดูดซึมได้
  9. 3. ควรรับประทานอาหารที่สุก สะอาด อาหารที่เก็บในฝาชีหรือตู้กับข้าวต้องนำมาอุ่นก่อนกินทุกครั้ง ดื่มน้ำต้มสุกและสะอาดทุกครั้ง
  10. ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังรับประทานอาหาร,หลังถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะทุกครั้ง

5.ถ่ายอุจจาระลงในส้วมที่มิดชิด เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ

  1. ตัดเล็บให้สั้นเพื่อลดการสะสมของเชื้อ
  2. รักษาความอบอุ่นให้ร่างกายโดย ถ้าอากาศหนาว ควรสวมเสื้อผ้าให้หนา ห่มผ้าห่มตอนกลางคืน อาบน้ำอุ่น เพราะเชื้อไวรัสสามารถทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบได้ หรือทำให้อุจจาระร่วงได้เช่นกัน
  3. รับประทานอาหารได้ตามปรกติ ควรงดอาหารรสจัดเพราะทำให้ระคายเคืองกระเพาะอาหารและลำไส้
  4. ทานยาตามแผนการรักษา

10.ให้ผู้ป่วยท่องและปฏิบัติตามสโลแกน “กินของร้อน ใช้ช้อนกลาง ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังรับประทานอาหารหรือเข้าห้องน้ำทุกครั้ง”

  1. Follow – up

แพทย์ให้ยาไปรับประทานที่บ้าน แต่ก็ยังไม่ตัดประเด็นไส้ติ่งอักเสบทิ้งแต่อย่างใด คือต้องนัดผู้ป่วยมา F/U อีก 3 วัน เพื่อดูความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ถ้ามีอาการถ่ายเหลวหรืออาเจียนไม่หยุด อ่อนเพลียมาก ให้รีบมาพบแพทย์ พร้อมให้คำแนะนำในการสังเกตอาการเบื้องต้นของการเป็นไส้ติ่งอักเสบ ถ้ามีอาการปวดท้องย้ายตำแหน่งมาที่ท้องน้อยด้านขวา กดแล้วเจ็บ หรือกดปล่อยแล้วเจ็บ หรือให้รีบกลับมาพบแพทย์โดยเร็ว

จากการติดตามผู้ป่วยโดยไปเยี่ยมที่บ้านพบว่าผู้ป่วยหายจากการไข้ ปวดบิดท้อง ถ่ายเหลวคลื่นไส้ อาเจียนแล้ว โดยอาการดีขึ้นในวันที่ 2 หลังจากรับประทานยา อาการปวดเบ่งดีขึ้นและกลับมาถ่ายอุจจาระเป็นปกติในวันที่ 4 หลังรับประทานยาฆ่าเชื้อเม็ดแรกที่รับมาจากโรงพยาบาล พร้อมกันนี้จึงได้ให้สุขศึกษารายกลุ่มในครัวเรือนและเพื่อนบ้านใกล้เคียงในการสร้างความตระหนักและให้ความสำคัญกับพฤติกรรมการป้องกันโรคอุจจาระร่วง การปลูกฝังสุขบัญญัติ 10 ประการในครัวเรือน เน้นให้ผู้ป่วยท่องและปฏิบัติตามสโลแกน “กินของร้อน ใช้ช้อนกลาง ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังรับประทานอาหารหรือเข้าห้องน้ำทุกครั้ง” ซึ่งผู้ป่วยและญาติก็แสดงความขอบคุณในการดูแลเอาใจใส่ผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดด้วยการมอบกล้วยหอมทองมา 2 หวีใหญ่ๆ เป็นอะไรที่น่าประทับใจอย่างยิ่ง

การค้นคว้ายา

  1. Norfloxacin

รูปแบบ Tablet  100 mg  200mg  และ400 mg

ข้อบ่งใช้                 ใช้รักษาโรคติดเชื้อแกรมลบ ได้แก่

1.การติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ และอวัยวะสืบพันธุ์ เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ต่อมลูกหมากอักเสบเฉียบพลัน กรวยไตอักเสบ หนองใน แผลริมอ่อน

  1. การติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร เช่น อหิวาต์ บิดชิเกลลา

ขนาดและวิธีใช้  –  เด็ก รับประทานครั้งละ (10-15 mg/kg/d)วันละ 2  ครั้ง นาน 3 วัน

 

            ฤทธิ์ข้างเคียงและอาการไม่พึงประสงค์

  1. พบอาการได้ เช่น มีผื่นขึ้น ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน

2.ยานี้อาจเสริมฤทธิ์ของการต้านการแข็งตัวของเลือด

3.ยาลดกรดอาจลดการดูดซึมของยานี้

4.ไม่ควรใช้ยานี้ในหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร อายุต่ำกว่า 18 ปี แต่ในผู้ป่วยรายนี้แพทย์พิจารณาให้เพราะพบการติดเชื้อแบคทีเรียชัดเจน ยาตัวนี้มีความจำเพาะในการกำจัดเชื้อโรคและครอบคลุมการกำจัดเชื้อโรคได้หลายชนิด อย่างมีประสิทธิภาพ อีกอย่างผู้ป่วยได้รับยาในระยะเวลาสั้นจึงไม่น่าจะเกิดผลข้างเคียงใดๆ และในตัวยาเองก็มีความปลอดภัยสูง

            ข้อควรระวัง            

ผู้ที่มีประวัติแพ้ยาและยากลุ่มควิโนโลนเช่น กรดนาลิดิซิก ofloxacin , pefloxaxin , cyprofloxacin    ไม่ควรให้ในหญิงตั้งครรภ์

  1. Domperidone

           รูปแบบ                      syrup  ,ชนิดเม็ด

           ข้อบ่งใช้      ใช้บรรเทาอาการเบื่ออาหาร  อาการคลื่นไส้อาเจียน

ขนาดและวิธีใช้  ผู้ใหญ่ 10–20 มก.รับประทานวันละ 3–4 ครั้งหรือ 15–30 นาที ก่อนรับประทานอาหาร

เด็ก  1.25 มก./น้ำหนักตัว 5 กก. รับประทานวันละ 3–4 ครั้งหรือ 15– 30 นาที ก่อนรับประทานอาหาร       

ฤทธิ์ข้างเคียงและอาการไม่พึงประสงค์

                                มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อหน้าท้อง  ปวดท้อง  ซึ่งพบได้น้อย

  1. ORS

ประเภท เป็นยาทดแทนการเสียน้ำในร่างกาย

ข้อบ่งใช้ ทดแทนการเสียน้ำในร่างกายในรายที่มีอาการท้องร่วง หรือในรายที่มีอาการอาเจียน หรือเสียเหงื่อมาก แก้อาการกระหายน้ำและป้องกันการช็อคเมื่อร่างกายขาดน้ำ

ขนาดและวิธีใช้ อายุต่ำกว่า 6 เดือน ดื่มวันละ 2 – 3 แก้ว

                                6 เดือน – 2 ปี                       ดื่มวันละ 3 – 4 แก้ว

2 ปี – 5 ปี                              ดื่มวันละ 5 – 10 แก้ว

5 ปี ขึ้นไป                             ดื่มได้ตามต้องการ หรือตามแพทย์สั่ง

คำเตือน                 1. ผู้ป่วยโรคไต หรือโรคหัวใจ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้

  1. ถ้าผู้ป่วยยังมีอาการอาเจียนมาก เหงื่อออกมาก ตัวเย็น หมดสติ ควรรีบนำส่งโรงพยาบาล
  2. อย่าละลายผงน้ำตาลเกลือแร่ในน้ำร้อน
  3. เมื่อละลายน้ำแล้ว หากทิ้งไว้เกิน 24 ชั่วโมง ยาจะบูดเสีย ไม่ควรใช้
 
 
 
 
 
 
 
 

บรรณานุกรม

 

นวลจันทร์ ปราบพาล. (2549).  การซักประวัติและตรวจร่างกายในเด็ก. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

 

นงณภัทร  รุ่งเนย. (2550). การประเมินภาวะสุขภาพสำหรับพยาบาลเวชปฏิบัติ. เพชรบุรี: มุมหนึ่ง พรินติ้ง.

 

ประไพ โรจน์ประทักษ์. (2551). เวชปฏิบัติทางการพยาบาล (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: บริษัทธนาเพรส จำกัด.

 

กำพล ศรีวัฒนกุล  และคนอื่นๆ. (2541).  การใช้ยาฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสยามสปอร์ต

ชินดิเคท จำกัด.

 

ธิดา นสานนท์, ปรีชา มนทกานติกุล และสุวัฒนา จุฬาวัฒนทล. (2552). คู่มือการใช้ยาสำหรับบุคลากรสาธารณสุข (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: บริษัท ประชาชน จำกัด.

 

ปราณี ทู้ไพเราะ.  (2548).  คู่มือยา Handbook  of  drug. กรุงเทพมหานคร: แอล ที เพรส จำกัด.

 

สุรเกียรติ อาชานุภาพ.(2553). ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์หมอ  ชาวบ้าน.

 

วราภรณ์ บุผญเชียง และวิลาวัณย์ เตือนราษฎร์. (2556). การรักษาพยาบาลโรคเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงใหม่: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กรณีศึกษา โรคเชื้อราในช่องหู Otomycosis

2

ตัวอย่าง กรณีศึกษา Otomycosis โรคเชื้อราใรช่องหู

ชื่อนักศึกษา  –                                                                      วันที่  21 เมษายน  2558

สถานที่ฝีกปฏิบัติงาน  แผนกผู้ป่วยนอก

ผู้ให้ข้อมูล  ผู้รับบริการ

ข้อมูลทั่วไป

เพศ หญิง     อายุ   56  ปี     สถานภาพสมรส คู่   อาชีพ ทำนา, เย็บผ้า

เชื้อชาติ ไทย        สัญชาติ ไทย         รายได้ครอบครัว/เดือน 15,000   บาท

แหล่งประโยชน์   สิทธิบัตร บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า

ที่อยู่ปัจจุบัน    –

 

1.การประเมินภาวะสุขภาพ

1.1 อาการสำคัญ   ( Chief Complaint )

คันหูข้างขวา เป็นมา 1  สัปดาห์

1.2. ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน   ( Present  Illness )

                1  เดือนก่อนมา มีอาการหูข้างขวาอื้อ ได้ยินไม่ชัด ไปรักษาที่คลินิกใกล้บ้าน แพทย์บอกมีขี้หูอุดรูหู  จึงแคะออกให้  กลับมาบ้านยังมีอาการหูอื้ออยู่ ไม่ดีขึ้น

1 สัปดาห์ก่อนมาโรงพยาบาล ยังมีอาการหูอื้อร่วมกับอาการคันหู ไม่ปวดหู ไม่มีของเหลวไหลออกมาผิดปกติ ไปรักษาที่คลินิกแห่งเดิม ได้ยาแก้อักเสบมารับประทาน อาการคันหูไม่ดีขึ้น จึงมาโรงพยาบาล

1.3  ประวัติอื่นๆที่สัมพันธ์กับการเจ็บป่วย(Relevant history)

                –  ขณะมีน้ำหนองไหลออกจากหูได้ใช้ไม้พันสำลีเช็ดในรูหู

                –  ก่อนมีอาการหูอื้อไม่เคยเจ็บลงมุดน้ำ หรือมีไข้ หวัด เจ็บคอ

– ไม่เคยถูกตบตีหรือถูกแรงกระแทกเกี่ยวกับหูหรือได้รับเสียงกระทบดังๆ

1.4 ประวัติเจ็บป่วยในอดีต   (Past Illness)

–  ไม่เคยได้รับอุบัติเหตุร้ายแรงใดๆ

–  ปฏิเสธการแพ้ยา  อาหาร หรือสารเคมีทุกชนิด

–  ปฏิเสธโรคประจำตัว เช่น  โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง ,โรคหัวใจ,หรือโรคทางกรรมพันธุ์

–  ไม่เคยผ่าตัดใดๆ

 

1.5 ประวัติครอบครัว

–  มีสมาชิกในครอบครัว  6  คน  ประกอบด้วย ปู่  ย่า  ลูกเขย  ผู้ป่วย   หลานสาวและหลานชาย

–  ปู่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน

–  ย่าป่วยเป็นโรคเบาหวานและโรค พาคินสัน

–  สามี และบุตรทั้ง2 คน มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว

–  สมาชิกในครอบครัวสนิทสนม รักใคร่กันดี

1

 

1.6  ประวัติส่วนตัวและอุปนิสัย (Personal history and habits)

อุปนิสัย  :    รื่นเริง  สนุกสนาน   ใจเย็น

อารมณ์   :    อารมณ์ดี ไม่ค่อยหงุดหงิด ไม่เคยปัญหาทะเลาะเบาะแว้งกับใคร

การพักผ่อน :  นอนหลับสบายทุกคืน  เข้านอนเวลาประมาณ 23-22.00 น.  ตื่นนอนประมาณ

04.30  น.

      การรับประทานอาหาร :  ส่วนใหญ่ชอบรับประทานอาหารพื้นบ้านทั่วไป   ส่วนใหญ่รับประทานอาหารจืด

เนื่องจากปู่และย่าป่วยเป็นโรคเบาหวาน ส่วนมากประกอบ

อาหารรับประทานเอง   รับประทานอาหารตรงเวลา

         การออกกำลังกาย : ไม่เป็นรูปแบบที่แน่นอน  ส่วนใหญ่จะทำงานบ้าน ทำนา รับจ้าง

ทั่วไป  และดูแลปู่และย่า ที่มีโรคประจำตัวทั้งคู่

   อาบน้ำ :  วันละ 1 ครั้ง  ตอนเย็น

        การขับถ่าย  ปัสสาวะวันละ  5 – 6   ครั้ง  ถ่ายปกติ  อุจจาระ  1- 2 วัน/ ครั้ง  มีท้องผูกเป็น

และแสบร้อนท้องเป็นบางครั้ง ผู้ป่วยชอบใช้ไม้พันสำลีแคะหูเป็นประจำ

ยา  :  ให้ประวัติเมื่อมีการเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆ จะเข้ารับการรักษาที่สถานีอนามัยใกล้บ้าน

งานอดิเรก                :  เมื่อมีเวลาว่างจะดูโทรทัศน์

กิจกรรมทางศาสนา  :  ร่วมทำบุญในช่วงเทศกาลงานบุญต่างๆ

การศึกษา  :  จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ประวัติทางเพศ  :  ไม่เคยเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

 ความเชื่อเกี่ยวกับการรักษาและการเจ็บป่วย :  มีความเชื่อทั้งทางด้านการรักษาแพทย์แผน

โบราณ บางครั้งใช้สมุนไพรในการรักษาโรค   และแพทย์แผนปัจจุบัน  เวลา

เจ็บป่วยจะไปหาหมอที่คลินิก  หรือ โรงพยาบาล

          ความสัมพันธ์ในครอบครัวและสังคม  เป็นที่รักของครอบครัวและญาติพี่น้อง  ช่วยเหลืองาน

ในสังคมเป็นอย่างดี

          สบร้อนท้องเป็นลานเป็นโรคเบาหวาน และย่างรับระทานงแคะออกให้ หลังจากนั้น 1 วันการเผชิญความเครียด  มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเจ็บป่วย เนื่องจากไม่เคยเจ็บป่วยเจ็บ

มาก่อน กลัวจะหูหนวก  ลดความวิตกกังวลโดยการใช้ การพูดคุยกับสามี ญาติพี่

น้องและเพื่อนบ้าน เพื่อขอคำปรึกษา และบางครั้งก็เครียดเรื่องการดูแลปู่กับย่าที่

ชรา และมีโรคประจำตัว

1.7  ประวัติการมีประจำเดือน

      ผู้ป่วยเคยคุมกำเนิดโดยวิธีกินยาคุมกำเนิด  ตอนนี้หมดประจำเดือนแล้ว

 

การทบทวนอาการตามระบบ  (System Review)

         ลักษณะทั่วไป:  หญิงไทย  วัยกลางคน   อายุ  56   ปี  รูปร่างสมส่วน  แต่งกายสุภาพ  สะอาด

เดินมาที่ห้องตรวจเอง รู้สึกตัวดี  ถามตอบรู้เรื่อง

         ผิวหนัง        : ผิวคล้ำ  ไม่มีบาดแผล ไม่มีจ้ำเลือด ไม่มีรอยแผลเป็น ไม่มีก้อน  มีความยืดหยุ่นดี

ไม่บวม  เล็บและขนปกติ

         ศีรษะ            : รูปทรงโครงสร้างของศีรษะและใบหน้าปกติ  สมมาตรดี ไม่มีก้อน  ไม่มีร่องรอย

บาดเจ็บ  ไม่พบบาดแผล  ผมดำ

          ตา                 : ตามองเห็นชัดเจนทั้งสองข้าง  ไม่เคยเป็นโรคตาแดง หรือโรคเกี่ยวกับตา

          หู   : ใบหูสมมาตรทั้งสองข้าง ไม่เคยได้รับอุบัติเหตุทางหู ไม่บวม ดึงใบหูไม่เจ็บ ไม่มี

สิ่งคัดหลั่งออกจากหู ไม่เคยเป็นโรคหูน้ำหนวก หูข้างขวาได้ยินไม่ค่อยชัดเท่าที่ควร  หูข้างซ้ายได้ยินชัดเจน

         คอ                : ไม่มีต่อมน้ำเหลืองที่คอโต  ไม่มีก้อนในลำคอ

จมูก              :  การได้กลิ่นปกติ  ไม่มีเลือดกำเดาออก  ไม่มีน้ำมูก  รูปร่างปกติ

          ปากและฟัน : ไม่มีฟันผุ  ไม่เคยมีเลือดออกตามไรฟัน

ระบบทางเดินหายใจ : การหายใจปกติ ไม่หอบเหนื่อย

          ระบบไหลเวียนเลือด : ไม่มีอาการตัวเขียว เล็บเขียว หรือบวม  ไม่เจ็บแน่นหน้าอก

          ระบบทางเดินอาหาร  :  ไม่ปวดท้อง  ไม่มีถ่ายดำ  ไม่มีกดเจ็บ  ไม่มีก้อน ไม่มีบาดแผล

          ระบบทางเดินปัสสาวะ: ปัสสาวะปกติ  สีใส ไม่แสบขัด

          ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ไม่เคยมีกระดูกหัก หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรงไม่มีปวดบวม

ตามข้อไม่เคยประสบอุบัติเหตุจนทำให้ข้อเคลื่อนหรือกระดูกหัก

          ระบบประสาทและทางจิต :  ไม่มีประวัติแขนขาอ่อนแรง ไม่มีอาการชาตามใบหน้าหรือแขน

ขา  ไม่มีอาการชักไม่มีอาการทางระบบประสาท

 

การตรวจร่างกายทั่วไป ( Physical Examination )

          Vital  signs: T=  36.5 C , P= 82  ครั้ง/min regular, R= 20  ครั้ง/min , Weight = 60 kg.

Height=  160  cm.

          General Appearance: A  middle  age  thai  women  , good consciousness, looking well ,

co-operate.

         Skin & Nail  :  Skin  black-red.  Good  skin  turgor  no  freckle  no  rashes  and  no

ecchymosis , no koilonychias , no pitting nails

          Head :        No evidence of head trauma, symmetry, normal facial expression

          Eyes :          No abnormal mass , no conjunctivitis, no subconjunctival hemorrhage.

          Ear :           White and black fungal debris at right ear, mild  hearing  loss at right  ear, no discharge.

Nose : external configuration symmetrical, no discharge, mucous membrane pink not

Injected . septum not deviated. turbinate not injected.

          Mouth and throat : Lip no dry lip, tongue normal movement,  pharynx not injected ,

                Tonsil not enlarged, soft palate and hard palate no lesion

         Neck :         Normal position of trachea , no enlarged thyroid gland, no abnormal mass ,

no stiffness of neck , no neck vein engorged.

          Chest – Lung  : Symmetrical   chest   contour   , Normal   lung   expansion ,

Normal  vocal  Resonance  , Normal  breath  sound RR=20 /min, no crepitation , no wheezing , no rhonchi , no stridor . heart  sound  normal,  no  murmurs, heart rate 80/ min.

          Abdomen  :  no superficial vein dilated, soft, no  tenderness.

          Spine and back : no kyphosis  ,  CVA not tenderness

          Extremities :   no deformities , no petechiae or ecchymoses.

          Rectal  exam : normal stool , no mass, no tender

          Genitaria : normal no abnormal discharge

          Nervous  system : good consciousness, speech normal, well co-operation, sensation  normal, muscle power grade  5 all

 

  1. ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ ( Laboratory Data )

– ใช้ Otoscope ส่องดูที่รูหูข้างขวาพบ White and black fungal debris

 

Assessment

  1. สรุปปัญหา ( Problem list )
  2. คันหูข้างขวา
  3.   หูข้างขวาอื้อ

 

การวินิจฉัยแยกโรค (Differential Diagnosis)

จากอาการ อาการแสดง การตรวจร่างกายและการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ทำให้คิดถึงโรค ต่อไปนี้ ซึ่งจำเป็นต้องวินิจฉัยจำแนก (Differential Diagnosis) ได้แก่

  1. Otomycosis
  2. Otitis media
  3. Impacted cerumen
  4. Tympanic membrane perforation

 

                ลักษณะเฉพาะโรคอาการของโรคตามทฤษฎี ข้อมูลผู้ป่วยที่สัมพันธ์กับโรค
1. Otomycosisหูชั้นนอกอักเสบจากเชื้อรา (otomycosis) พบได้บ่อยพอควรโดยมักจะมีพยาธิสภาพบริเวณช่องหู (ear canel) และเยื่อแก้วหู (tympanic membrane). เชื้อราที่พบบ่อย คือAspergillus และ Candida

อาการอาการที่เด่นคือ มีอาการคันหู มักมีอาการหูอื้อ แน่นในหู เสียงดังในหู อาการเจ็บมัก ไม่ค่อยพบ ยกเว้นเมื่อมีการอักเสบเนื่องจากการติดเชื้อแบคทีเรียร่วม การตรวจหูจะพบลักษณะเป็นก้อนสกปรกสี เทาหรือขาวคล้ายกระดาษชุบน้ำ ถ้าเกิดจากเชื้อ Aspergillus niger จะพบจุดสปอร์(spore) สีดํารวมด้วย บางครั้ง อาจเห็นเป็น filament และสปอร์ได้หลังจากทําความสะอาดรูหูแล้ว จะพบรูหูแดง มักไม่ค่อยบวม

Positive Data1.มีอาการคันหู

2.มีอาการหูอื้อ แน่นในหู

3. อาการเจ็บมัก

4.การตรวจหูจะพบลักษณะเป็นก้อนสกปรกสี ขาวและดำ มีลักษณะของเชื้อราชัดเจน

5.ผู้ป่วยเป็นเบาหวาน ทำให้มีภูมิต้านทานต่ำ

Negative Data

 

 

 

2. Otitis media มักเกิดร่วมกับการติดเชื้อในบริเวณทางเดินหายใจส่วนต้น ได้แก่ ไข้หวัด ต่อมทอนซิลอักเสบ  ภาวะแทรกซ้อนของหัด ไข้หวัดใหญ่  ไอกรน  ทำให้เชื้อโรคในบริเวณคอผ่านท่อยูสเตเชียน เข้าไปในหูชันกลาง เกิดการอักเสบ ทำให้เยื่อบุผิวภายในหูชั้นกลางและท่อยูสเตเชียนบวม และมีหนองขังอยู่ในหูชั้นกลาง  ในที่สุดเยื่อแก้วหู ก็จะเกิดการทะลุเป็นรูหนองที่ขังอยู่ภายในก็จะไหลออกมากลายเป็นหูน้ำหนวก

อาการ     หูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน จะมีอาการเกิดขึ้นฉับพลันหลังจากเป็นไข้หวัด เจ็บคอ หรือเป็นโรคติดเชื้อของระบบหายใจอื่นๆ โดยจะมีอาการปวดในรูหู(แต่ดึงรูหูจะไม่เจ็บมากขึ้น) หูอื้อมีไข้สูง หนาวสั่น

สิ่งตรวจพบ     หูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน ในระยะแรกอาจมีไข้  การตรวจดูหูโดยใช้เครื่องส่องหู(otoscope) จะเห็นเยื่อแก้วหูโป่งออก และเป็นสีแดงเรื่อๆ     ในระยะต่อมา มีอาการทะลุของเยื่อแก้วหูทะลุเป็นรู และมีหนองไหล (ในระยะนี้ผู้ป่วยจะไม่มีไข้ และหายปวดหู)

 

Positive Data–                   พบหูอื้อข้างขวา

Negative Data

–                   ไม่มีประวัติการติดเชื้อในบริเวณทางเดินหายใจส่วนต้นมาก่อน

–                   ไม่พบของเหลวไหลออกมาผิดปกติ

–                   ไม่พบอาการปวด ตึง ในหู

–                   การตรวจดูหูโดยใช้เครื่องส่องหู(otoscope) ไม่พบเยื่อแก้วหูโป่งออก หรือเป็นสีแดงเรื่อๆ

โรคที่คาดว่าน่าจะเป็น ข้อมูลสนับสนุน/เหตุผล
2.              Impacted cerumenขี้หู (Cerumen หรือ Ear wax) เกิดจากสารไขมันที่ผลิตจากต่อมเหงื่อ (Sebaceous gland) และต่อมพิเศษ (Cerumenous gland) ในช่องหู โดยประกอบด้วย ผิวหนัง/เยื่อบุช่องหูที่หลุดลอก (Keratin) และสารที่ผลิตจากต่อมทั้งสองข้างต้น

อาการ จากมีภาวะขี้หูอุดตัน ได้แก่คันหู หูอื้อ ปวดหู การได้ยินลดลง มีเสียงดังในหู จากการเคลื่อนที่ไปมาของขี้หู เมื่อใช้เครื่องส่องหู ตรวจดู  จะพบมีขี้หูอุดเต็มรูหู

Positive Data–  4 สัปดาห์ก่อนมีขี้หูอุดรูหู

–  มีอาการหูอื้อ

–  mild  hearing  loss at right  ear

– มีอาการคันหู

Negative Data

–                   การตรวจดูหูโดยใช้เครื่องส่องหู(otoscope) ไม่พบขี้หูอุดตัน

3. Rupture eardrum (Tympanic membrane perforation )แก้วหูทะลุมักเกิดจากการ แคะหู เขี่ยหู การพยายามนำสิ่งแปลกปลอมออกจากหู การบาดเจ็บจากแรงกระแทกที่หู (เช่น การตบหู ซึ่งทำให้มีการเพิ่มของความดันภายในช่องหูชั้นนอก) การบาดเจ็บที่กะโหลกศีรษะ (ทำให้กระดูกบริเวณหลังหูหัก) การได้ยินเสียงดังจากวัตถุระเบิด หรือประทัดที่อยู่ใกล้ๆ และการมีความดันภายนอกหูจากสาเหตุต่างๆสูงเกินไป เช่น ในการดำน้ำ เป็นต้น

สาเหตุ  เกิดได้จากหลายสาเหตุ คือ                                                             1.  จากการกระทบกระแทก (Traumatic tympanic membrane perforations) : เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด เช่น การปั่นหูลึกเกินไปจนโดนเยื่อแก้วหู, เสียงประทัดที่ดังเกินไป, การมีความดันภายนอกสูงเกินไป เป็นต้น                                                          2. เกิดตามหลังการติดเชื้อในหูชั้นกลาง : เกิดในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในหูชั้นกลางเรื้อรังหรือรักษาไม่ดี ทำให้หนองในช่องหูชั้นกลางมีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ความดันในหูชั้นกลางสูงขึ้น จนดันให้เยื่อแก้วหูทะลุตามมา

อาการ   ผู้ป่วยจะมีอาการหูอื้อ หูตึง ซึ่งเกิดขึ้นทันทีภายหลังได้รับบาดเจ็บ บางคนอาจมีอาการปวดในรูหู หรือมีเลือดไหลออกจากหู

 

Positive Data–                   มีอาการหูอื้อข้างขวา

–                   มีประวัติใช้ไม้พันสำลีปั่นหู

Negative Data

–                   การตรวจดูหูโดยใช้เครื่องส่องหู(otoscope) ไม่พบการฉีกขาดหรือการทะลุของเยื่อแก้วหู

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Discussion 

จากการซักประวัติพบว่า  1  เดือนก่อนมา มีอาการหูข้างขวาอื้อ ได้ยินไม่ชัด ไปรักษาที่คลินิกใกล้บ้าน แพทย์บอกมีขี้หูอุดรูหู  จึงแคะออกให้  กลับมาบ้านยังมีอาการหูอื้ออยู่ ไม่ดีขึ้น 1 สัปดาห์ก่อนมาโรงพยาบาล ยังมีอาการหูอื้อร่วมกับอาการคันหู ไม่ปวดหู ไม่มีของเหลวไหลออกมาผิดปกติ ไปรักษาที่คลินิกแห่งเดิม ได้ยาแก้อักเสบมารับประทาน อาการคันหูไม่ดีขึ้น จึงมาโรงพยาบาล

จากการซักประวัติพบว่า เคยใช้ไม้พันสำลีเช็ดในรูหูบ่อยครั้ง ไม่เคยป่วยเป็นไข้ เป็นหวัด หรือติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนต้นมาก่อน ไม่ปวดหู  ตรวจร่างกายผู้ป่วยไม่มีไข้ ไม่มีน้ำหนองไหล จึงตัด Otitis media  ออก สงสัยอีก 2 โรค คือ Wax  blockage เนื่องจากยังมีอาการหูอื้อและเคยมีประวัติขี้หูอุดรูหู และ Rupture eardrum (Tympanic membrane perforation )ดังนั้น จึงต้องใช้ผลการตรวจพิเศษช่วยในการวินิจฉัย

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ /การตรวจพิเศษ

ใช้เครื่องส่องหู(otoscope)  พบเชื้อราในรูหู

Impression / Diagnosis                   

Otomycosis  การติดเชื้อราในหู

 

Plan

  1. Plan for treatment

–  ป้าย Clotrimazole Cream 1 หลอด

–   Chlorpheniramine 1×3 ๏  pc     20 tab.

–   Ketoconazole 1×1 ๏  pc    30 tab.

 

Plan for Education

 

Plan for education เหตุผล
1. แนะนำพยาธิสภาพของโรค สาเหตุของการเกิดโรค การรักษา,การป้องกันเกิดซ้ำ2. แนะนำการรับประทานยาฆ่าเชื้อราให้ครบตามแผนการรักษา

 

3. แนะนำไม่ให้แคะหู, ปั่นหู

 

 

 

4.แนะนำไม่ให้ดำน้ำหรือว่ายน้ำในแม่น้ำลำคลอง

ใช้สำลีอุดรูหูเวลาอาบน้ำ

5.  แนะนำอาการที่ควรรีบมาพบแพทย์ เช่นไข้สูงปวดหูรุนแรงมาก ชักเกร็ง หรือยังมีอาการหูอื้อไม่หาย

– เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง- เพื่อรักษาเชื้อโรคได้ครอบคลุมป้องกันอาการดื้อยาและป้องกันการกลับเป็นซ้ำ

– เพื่อป้องกันการนำเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายและทำให้ช่องหูเป็นแผลอักเสบอาจทำให้เกิดโรครุนแรงได้ เช่น ฝีในสมองเป็นต้น

– เพื่อไม่ให้น้ำเข้ารูหูป้องการติดเชื้อในรูหูได้

– เพื่อให้ผู้ป่วยปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง ป้องการเกิดภาวะรุนแรงได้

 

 

การวางแผนเพื่อการติดตามการรักษาและส่งต่อ ( Follow up / Referral plan )

นัด F/U อีก 2 สัปดาห์

ผลการติดตามการรักษา วันที่ 28 เมษายน 2558 พบว่า ผู้ป่วยมีอาการคันหูลดลง แต่ยังคงมีอาการหูอื้ออยู่ จึงทำการตรวจหูด้วย otoscope พบว่าเชื้อราที่หูลดจำนวนลง จึงอธิบายกลไกการเกิดโรคและแนวทางการรักษาให้สามีและผู้ป่วยรับทราบ  แพทย์ก็นัดรับยาต่อไปอีก 1 เดือน  เพื่อการรักษาที่ต่อเนื่อง ต่อไป

 

Plan  for  treatment เหตุผล

 Clotrimazole Cream

 

ข้อบ่งชี้
รูปแบบ Cream ใช้รักษา Cannidiasis ที่เกิดจาก Cannida albican และ ใช้รักษากลากลำตัว กลากขาหนีบ โรคน้ำกัดเท้า
อาการข้างเคียง
ผิวหนังร้อนแดง ปวดแสบปวดร้อน เกิดเป็นเม็ดตุ่มพอง บวม คัน ลมพิษและระคายเคือง
คำเตือน ข้อห้ามใช้ และข้อควรระวัง
1. ระวังอย่าให้สัมผัสกับตา
2. หยุดเมื่อมีอาการระคายเคืองหรือแพ้3. ยังไม่มีรายงานเกี่ยวกับความปลอดภัยจากการใช้ยาในหญิงมีครรภ์ หรือระยะให้นมบุตร

 

 

 

 

Plan  for  treatment เหตุผล
– Chlorpheniramine  1×3 ๏  pc     20 tab. ข้อบ่งชี้ยานี้เป็นสารต้านฮิสตามีน ใช้เพื่อช่วยบรรเทาอาการไข้ละอองฟาง (มีสาเหตุจากการแพ้สารพวกละอองเกสรดอกไม้ ฝุ่นละออง หรือสารอื่นในอากาศ) อาการแพ้ และหวัด ได้แก่ อาการจาม น้ำมูกไหล ตาแดง คันที่ตาและน้ำตาไหล คันจมูกและลำคอ

โดยทั่วไปยานี้ควรใช้ในผู้ใหญ่และเด็กอายุ 2 ปีขึ้นไป ไม่ควรใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี เพราะอาจมีอาการข้างเคียงที่รุนแรงได้

การใช้ยาในเด็กอายุ 2-6 ปี จะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ และต้องใช้ยาอย่างระมัดระวังในเด็กอายุ 6-11 ปี

ข้อควรระวัง

ข้อควรระวังในการใช้ ยาคลอเฟนิรามีน คือ

– หลีกเลี่ยงการทำงานกับเครื่องจักรหรือการขับขี่ยวดยานพาหนะ เพราะยานี้มีฤทธิ์ทำให้รู้สึกง่วงนอน

– ระวังการใช้ยากับผู้ที่แพ้ยาชนิดนี้

– Ketoconazole 1×1 ๏  pc    30 tab..  ข้อบ่งชี้ยานี้ใช้เพื่อรักษาการติดเชื้อรา เช่น กลากที่ลำตัว, กลากที่ขาหนีบ, เกลื้อน, รังแค และการติดเชื้อราในร่างกาย

ข้อควรระวัง

ข้อควรระวังในการใช้ยาคีโตโคนาโซล คือ

1. ระวังการใช้ยาในผู้ที่ป่วยที่เป็นโรคตับ

2.ห้ามใช้ยาชนิดรับประทานในหญิงตั้งครรภ์

3.ห้ามใช้ยากับผู้ที่แพ้ยานี้

·

 

 

บรรณานุกรม

 

นงณภัทร  รุ่งเนย. (2550). การประเมินภาวะสุขภาพสำหรับพยาบาลเวชปฏิบัติ. เพชรบุรี: มุมหนึ่ง พรินติ้ง.

 

ประไพ โรจน์ประทักษ์. (2551). เวชปฏิบัติทางการพยาบาล (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: บริษัทธนาเพรส จำกัด.

 

วราภรณ์ บุญเชียง. (บรรณาธิการ). (2556). การรักษาพยาบาลโรคเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงใหม่: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

 

ธีรพร รัตนาเอกชัย และสุภาภรณ์ ศรีร่มโพธิ์ทอง. (2551). ตำราหู คอ จมูก. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

 

วันดี ไข่มุกด์. (2555). โรคของหูชั้นนอก External ear diseases. สงขลา: คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

 

ธิดา นสานนท์, ปรีชา มนทกานติกุล และสุวัฒนา จุฬาวัฒนทล. (2552). คู่มือการใช้ยาสำหรับบุคลากรสาธารณสุข. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: บริษัท ประชาชน จำกัด.

 

สุรเกียรติ  อาชานานุภาพ. (2553). ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 1. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี

กรุงเทพฯ.

 

สุรเกียรติ  อาชานานุภาพ. (2553). ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 2. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี

กรุงเทพฯ.

 

กรณีศึกษา Vaginal Candidiasis นรีเวชกรรมสูติ-นรีเวช

3

ชื่อนักศึกษา  –                                                                                     วันที่  25 กุมภาพันธ์  2558

สถานที่ฝีกปฏิบัติงาน  แผนกผู้ป่วยนอก –

ผู้ให้ข้อมูล  ผู้รับบริการ

ข้อมูลทั่วไป

ผู้ป่วย    หญิงไทย                HN   1435 อายุ   39   ปี   

สถานภาพสมรส     คู่    อาชีพ   แม่บ้าน    รายได้ครอบครัว/เดือน    10,000   บาท

ที่อยู่ปัจจุบัน    –

แหล่งประโยชน์   สิทธิบัตร บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า

ผู้ให้ข้อมูล          ผู้รับบริการ

 

การประเมินภาวะสุขภาพ

Subjective

 

  1. อาการสำคัญ

มีตกขาวคล้ายแป้งเปียก คันช่องคลอด เป็นมา 3 วัน

  1. ประวัติการเจ็บป่วยในปัจจุบัน

1 เดือนก่อนมา มีตกขาวเป็นตะกอนคล้ายแป้งเปียก ไม่มีกลิ่นเหม็น มีอาการปวดหน่วงท้องน้อยร่วมด้วยในบางครั้ง ไม่คัน ทานยาพาราเซตามอล อาการปวดท้องน้อยดีขึ้น

3 วันก่อนมา เริ่มมีอาการคันและแสบช่องคลอด ตกขาวมากขึ้น จึงมา รพ.สต.พร้อมเข้าร่วมรณรงค์คัดกรองมะเร็งปากมดลูก

  1. ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต : ปฏิเสธโรคติดต่อร้ายแรง เช่น TB ,โรคเอดส์ – ไม่มีประวัติแพ้ยา อาหาร และสารเคมี

-ไม่เคยได้รับอุบัติเหตุร้ายแรงใดๆไม่เคยผ่าตัดใดๆ

3.1 ประวัติอื่นๆ ที่สัมพันธ์กับการเจ็บป่วย

– ประวัติการตั้งครรภ์ Para2-0-0-2

– ใช้น้ำยาล้างช่องคลอดเป็นประจำ

– ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่ รพ.สต.วันที่ 25 ก.พ. 2558

3.2 ประวัติการคุมกำเนิด 

– คุมกำเนิดโดยใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดต่อเนื่องมา 15 ปี

– ประจำเดือนมาสม่ำเสมอ LMP 6กุมภาพันธ์ 2558 มา 4 วัน

3.3 ประวัติการมีเพศสัมพันธ์

– ปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงนี้เนื่องจากสามีทำงานที่ต่างจังหวัด กลับมาเยี่ยมบ้านปีละ 1- 2 ครั้ง

  1. ประวัติครอบครัว ( Family History )

–  บุคคลในครอบครัวไม่เคยป่วยด้วยโรคติดต่อร้ายแรง

– ไม่มีประวัติบุคคลในครอบครัวป่วยเป็นโรคติดต่อทางพันธุกรรม

ในครอบครัวมีสมาชิกทั้งหมด 2 คน คือผู้ป่วย สามี  ซึ่งมีสุขภาพแข็งแรงดี สามีเป็นคนหารายได้จุนเจือครอบครัว

 2

 

  1. ประวัติทางจิตสังคม ( Psychosocial History )

ประวัติส่วนบุคคล

การศึกษา : จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

อุปนิสัย : พูดจาสุภาพ ยิ้มแย้มแจ่มใส มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี

การรับประทานอาหาร : รับประทานอาหารได้ทุกชนิด ส่วนมากจะเป็นอาหารพื้นบ้านอีสาน ชอบรับประทานอาหารรสจัด ทานผักและผลไม้ตามฤดูกาล ทานอาหารครบ 3 มื้อ ไม่ตรงเวลา

การพักผ่อน : พักผ่อนนอนหลับวันละ 6 – 8 ชั่วโมง หลับสนิทดี ปฏิเสธการใช้ยานอนหลับ

การออกกำลังกาย : ออกกำลังกายด้วยการเต้นแอร์โรบิคทุกวัน และทำงานบ้านทั่วไป

สุขวิทยาส่วนบุคคล : อาบน้ำวันละ 2 ครั้ง แปรงฟันวันละ 2 ครั้ง เช้า – เย็น สระผมสัปดาห์ละ 2 – 3 ครั้ง  ใช้น้ำยาสวนล้างช่องคลอดเป็นประจำ

ดื่มแอลกอฮอล์บางครั้งเมื่อทะเลาะกับสามี หรือเครียด ไม่สูบบุหรี่ ดื่มชา  กาแฟ บ่อยครั้ง

การขับถ่าย : ถ่ายอุจจาระวันละ 1 ครั้ง ปัสสาวะปกติไม่แสบขัด ไม่ขุ่น สีเหลืองฟาง วันละ 5 – 6 ครั้ง

ประวัติทางจิตสังคม

– อาชีพหลักคือเป็นแม่บ้าน

– เศรษฐกิจรายได้จากการทำงานของสามีส่งมาให้  เพียงพอใช้ในครอบครัว

– ค่านิยมความเชื่อ มีความเชื่อเกี่ยวการรักษาแผน ปัจจุบันเมื่อเจ็บป่วยจะมารับการรักษาที่

สถานีอนามัยใกล้บ้านและรับบริการที่โรงพยาบาล

– การเผชิญความเครียดเมื่อมีปัญหาครอบครัวหรือทะเลาะกับสามี สามารถแก้ปัญหาได้บางเรื่อง ถ้าแก้ไขไม่ได้จะดื่มสุราเพื่อแก้ปัญหา

– ความสัมพันธ์ในครอบครัว มีปัญหาทะเลาะกันบ้างกับสามี ครอบครัวรักใคร่กันดี กับเพื่อนบ้าน  ไม่เคยมีปัญหาทะเลาะกัน

 

6.การทบทวนประวัติ ( Review  System )

สุขภาพทั่วไป       หญิงไทยรูปร่างสมส่วน สูงผิวขาว แต่งกายสุภาพ สะอาด พูดคุยรู้เรื่องดี

ผิวหนัง                  ผิวขาว ผิวเรียบ ชุ่มชื่นดี ไม่มีผื่นคัน ไม่มีรอยแผลเป็น

ศีรษะ                     ไม่มีบาดแผล ตุ่ม ก้อน ไม่เคยได้รับอุบัติเหตุกระทบกระเทือนที่ศีรษะ

ตา                           ไม่มีอาการตาพร่ามัว  สามารถมองเห็นได้ชัดเจนดี

หู                             ได้ยินชัดเจนดี ไม่เคยเป็นหูน้ำหนวก ไม่เคยหูอื้อ

จมูก                    รับกลิ่นได้ปกติดี  ไม่เคยมีอาการคัดจมูกหรือเป็นภูมิแพ้ ไม่เคยเป็นไซนัสอักเสบ

ช่องปาก                               ริมฝีปากไม่ซีด ไม่มีอาการปวดฟัน ฟันไม่ผุ  ลิ้นเคลื่อนไหวปกติ

คอ                           คลำไม่พบก้อนที่คอ เคลื่อนไหวได้ปกติ ไม่มีอาการคอแข็ง

ต่อมน้ำเหลือง      ต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ ขาหนีบไม่บวมโต

เต้านม                   ไม่พบก้อนบริเวณเต้านมทั้ง 2 ข้าง

ท้อง                        คลำไม่พบก้อน ไม่มีอาการกดเจ็บ มีแผลเป็นจากรอยผ่าตัดเนื้องอกในมดลูก

ระบบหายใจ         ไม่มีอาการหายใจลำบาก ไม่เจ็บหน้าอก  หายใจไม่หอบ ไม่เคยเป็นโรคหอบหืด

ระบบหัวใจและหลอดเลือด     ไม่เคยเจ็บหน้าอก หรือบวม ไม่เคยเป็นลมหน้ามืด

ระบบทางเดินอาหาร                  ไม่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร การขับถ่ายปกติ ไม่เคยผ่าตัดช่องท้อง

ระบบทางเดินปัสสาวะ               ปัสสาวะไม่แสบขัด สีเหลืองฟางใส

ระบบอวัยวะสืบพันธุ์          ประจำเดือนมาสม่ำเสมอ  ไม่มีต่อมน้ำเหลือโตที่โคนขาหนีบ

LMP 12 กุมภาพันธ์  2558

กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ   ไม่เคยมีกระดูกแขนขาหัก ไม่มีอาการปวดหลัง ไม่มีอาการปวดข้อ

ระบบทางประสาท           พูดจาปกติสบตาเวลาพูดคุย จำชื่อ ที่อยู่ อายุ และทุกคนในครอบครัวได้ดี

ระบบโลหิต                       ไม่มีจุดจ้ำเลือดตามผิวหนัง ไม่มีเลือดออกตามไรฟัน เวลาเป็นแผลเลือดจะหยุดง่าย

ระบบประสาท                     ไม่มีอาการแขนขาอ่อนแรง ไม่เคยมีอาการชา ไม่เคยมีอาการชัก

อาการทางจิตประสาท        สีหน้าวิตกกังวลจากอาการตกขาว

 

Objective

  1. การตรวจร่างกาย ( Physical Examination )

Vital signs                            T =  36.8 . C    P = 84  / min    R = 22 / min   BP = 134/83 mmHg

Nutrition status                   BW = 46  kgs.  Height = 158 cms.    BMI = 18.43

General appearance           Thai woman  , age 39 years old  , good consciousness , Married status

Skin & Nails                       Normal skin contour and texture.  no  echymosis. no petechiae

Hair                                        Normal texture and distribution

Head & Face                       Normal size and shape , no evidence of trauma , No abnormal  facies

Eyes                                       Normal eyes contour, conjunctiva  not  pale , Sclera  no jaundice  and   not  injected  , Pupils  2  mm. react to light both eye

Ears                                        External ear no mass or lesion ear canal no abrasion or inflammation or tender ness , no discharge, hearing   normal

Nose                                       No discharge mocous membrane pink not injected turbinate pink

Mouth and throat               Lip not pale  Tongue midline.  Pharynx not injected , tonsil   not enlarged.

Neck                                      No stiffness , Trachea normal , not deviated , thyroid gland note enlarged       No engorged neck vein

Breasts                                 No  mass , nipple  no  discharge . no engorgement.

Lymph nodes                      No palpable lymph nodes

Respiratory and Circulation system       Pulse 84 / min, regular. Heart sound normal, no murmurs                                                        Chest normal shape and movement, symmetry, Normal breath sound

Abdomen                              Abdomen soft , not tender , no guarding , liver and spleen not palpable,

Normal bowel sounds. No mass.

Lymph nodes                      No palpable lymph nodes

Urinary system                   Normal

Extremity and muscle system         No edema , no deformities of Spine and other bones , no stiff neck , range of  motion normal

Neuro system                      Good consciousness , speech normal , Muscle power gr V , well co-operation

Genital organ

 PV       MIUB                      No inflammation , No Cystocele  Rectocele

Vagina                 Curd – like discharge , yellowish discharge

Cervix                  Soft , os closed , pink ,  no polyp. cervix motion not  pain.

Uterus                    Nornal size

Adnexa                 tender at right side

Cal-De-Sac          No bulging

Other                     Pap smear

 

  1. ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ ( Laboratory Data )

Pap smear           รอผลตรวจ

Assessment

  1. สรุปปัญหา ( Problem list )

1.ตกขาวคล้ายแป้งเปียก ร่วมกับอาการคันช่องคลอด

  1. การวินิจฉัยโรค (Differrential Diagnosis )

จากอาการ อาการแสดง การตรวจร่างกายและการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ทำให้คิดถึงโรค ต่อไปนี้ ซึ่งจำเป็นต้องวินิจฉัยจำแนก (Differential Diagnosis) ได้แก่

  1. Candidiasis
  2. Trichomoniasis
  3. Non-specific bacterial vaginitis
การวินิจฉัยโรค อาการของโรคตามทฤษฎี ประวัติ/การตรวจร่างกาย
1. Candidiasis

 

สาเหตุ      เกิดจากเชื้อ  Candida  albicans  ซึ่งเป็นเชื้อราชนิดหนึ่ง   และมีสาเหตุชักนำให้เกิด  Candida  vaginitis ได้งายขึ้น   เช่น การตั้งครรภ์  โรคเบาหวาน  ภูมิคุ้มกันต่ำ การเจ็บป่วยเรื้อรัง  การใช้ยาปฏิชีวนะ,  corticosteroid,  metronidazole หรือยาเม้ดคุมกำเนิด เป็นเวลานานๆ  และในคนอ้วนมากๆ

อาการและอาการแสดง   อาการคันมักเป็นอาการที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์      ซึ่งอาจทุเลาลงขณะมีระดู  เนื่องจากภาวะความเป็นด่างในช่องคลอด  นอกจากนั้นยังทำให้เกิดอาการปัสสาวะขัด , dysparunia และตกขาว  เมื่อตรวจภายใน จะพบว่าตกขาวมีลักษณะคล้ายตะกอนนม (Curd-like appearance)  สีขาว อวัยวะภายนอก มีลักษณะอักเสบ  แดง  อาจมีผื่น แบบ  macules,  vesicles  หรือ  pustule ถ้าแตกจะเกิดการอักเสบของแบคทีเรียซ้ำเติมได้

– จากการซักประวัติและตรวจร่างกาย พบว่าผู้ป่วยมีตกขาวสีขาวปนเหลือง คล้ายตะกอนนม (Curd-like appearance) และมีอาการอักเสบ มีแผลแดงๆรอบช่องคลอดร่วมด้วย จากอาการที่ตรวจพบผู้ป่วยเข้าได้กับโรคนี้มากที่สุด
การวินิจฉัยโรค อาการของโรคตามทฤษฎี ประวัติ/การตรวจร่างกาย
2. Trichomonas vaginitis

 

 

 

 

 

สาเหตุ  เกิดจากเชื้อโปรโตซัว Trichomonas vaginalis และพบว่ามีประวัติตกขาวเป็นฟอง สีเหลือง-เขียวและมีกลิ่นเหม็น มีอาการคันช่องคลอด  ปวดแสบขัด ออกร้อนเวลาปัสสาวะ  มักมี strawberry cervix ถ้ามีเชื้อจำนวนมาก มีประวัติตกขาวมีกลิ่นเหม็น และมีอาการคันช่องคลอด นึกถึงโรคนี้รองลงมา จากการตรวจภายใน ไม่พบลักษณะตกขาวเป็นฟอง มีกลิ่นเหม็น ที่เป็นอาการเด่นของการติดเชื้อโปรโตซัวTrichomonasและไม่พบอาการแสบร้อนขณะปัสสาวะ
3. Non-specific bacterial vaginitis

 

อาการช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียที่ไม่จำเพาะชนิด

สาเหตุ  เชื่อว่าเชื้อที่เป็นสาเหตุสำคัญ คือ Gardnerella  vaginalis  และเชื้อ  Chlamydia  trachomatis

อาการ และอาการแสดง   มีมูกปนหนอง ( mucopurulent   vaginal  discharge )  อาจมีอาการปากมดลูกอักเสบ หรือ cervical  erosion  ร่วมด้วย นอกจากนั้นอาจมีปัสสาวะลำบาก

– คิดถึงโรคนี้รองลงมาอีก เพราะการติดเชื้อในช่องคลอดที่ไม่สามารถทราบเชื้อได้ ต้องมีอาการหลายอาการ ที่ไม่สามารถแยกชนิดของโรคได้

 

Impression / Diagnosis                                   

Vaginal  Candidiasis

 

Discussion การอภิปรายปัญหา

จากอาการสำคัญที่ผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 39 ปี มาด้วยอาการตกขาวคล้ายแป้งเปียก ร่วมกับอาการคันช่องคลอด ทำให้นึกถึงโรคทางระบบสืบพันธุ์ของสตรี ซึ่งต้องแยกให้ออกว่า อาการตกขาวที่ผู้ป่วยมานั้นเป็นตกขาวปกติหรือเกิดจากการติดเชื้อชนิดใดชนิดหนึ่งหรือไม่ ซึ่งในผู้ป่วยรายนี้พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงคือการสวนล้างช่องคลอดด้วยน้ำยาทำความสะอาดเป็นประจำทำให้เชื้อประจำถิ่นที่เป็นประโยชน์ในช่องคลอดถูกชำระล้างออกไปด้วย ทำให้กลไกการป้องกันตนเองจากเชื้อโรคในระบบสืบพันธ์มีประสิทธิภาพลดลง ประกอบกับผู้ป่วยรับประทานยาคุมกำเนิดมาเป็นเวลานาน 15 ปี ทำให้มีระดับเอสโตรเจนจากยาคุมกำเนิดสูงในระยะเวลาที่นาน จะทำให้สมดุลของจุลชีพที่อยู่ในช่องคลอดเปลี่ยนแปลงไป ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เหมาะต่อการขยายพันธุ์ของยีสต์หรือเชื้อรา จึงทำให้ผู้ป่วยมีอาการตกขาวคล้ายแป้งเปียกร่วมกับคันช่องคลอดตามมา

เชื้อราในช่องคลอด  (Vaginal Candidiasis )

เชื้อที่เป็นสาเหตุได้แก่ Candida albicans แต่ก็อาจจะเกิดจากเชื้ออื่นก็ได้เกิดจากการที่เชื้อราในช่องคลอดเจริญมากเนื่องจากความเป็นกรดเสียไป โรคนี้ไม่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการติดเชื้อรา                                                                  

  1. การใช้ยาปฏิชีวนะ อย่างพร่ำเพื่อ เป็นสาเหตุประการสำคัญที่ทำให้เกิดโรคนี้ ยาปฏิชีวนะมีหน้าที่ในการกำจัดเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคก็จริง แต่ในขณะเดียวกันก็อาจไป ทำลายเชื้อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ตามปกติบริเวณช่องคลอดและทำให้เชื้อรา Candida แบ่งตัวเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว

(เพราะเชื้อรา Candida ไม่ถูกทำลายโดยยาปฏิชีวนะเช่นเดียวกับแบคทีเรีย)

  1. การใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด มีโอกาสมากที่จะติดเชื้อรา Candida เพราะยาเม็ดคุมกำเนิดจะไปเพิ่มระดับฮอร์โมน ที่มีชื่อว่า Estrogen  ซึ่งไหลเวียนอยู่ในร่างกาย ซึ่งจะกระตุ้นการเจริญเติบโตของเชื้อรา Candida เพราะว่าฮอร์โมน Estrogen จะไป เพิ่มระดับของน้ำตาล ในร่างกาย ซึ่งเชื้อรา Candida ใช้เป็นอาหาร จึงเป็นสาเหตุทำให้สตรีจำนวนมากติดเชื้อราในช่องคลอดก่อนจะมีระดู เพราะในระหว่างนี้ระดับฮอร์โมน Estrogen จะขึ้นสูงสุด
  2. การตั้งครรภ์ ท่านก็มีโอกาสติดเชื้อรามากกว่าสตรีที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ เพราะระดับของ ฮอร์โมน Estrogen ระหว่างการตั้งครรภ์ เป็น “ สภาวะที่เหมาะสม ” เป็นอย่างมากต่อการเจริญเติบโตของเชื้อรา Candida
  3. หากท่านเป็น เบาหวาน ท่านก็จะติดเชื้อราได้ง่ายเช่นกัน เพราะว่า ระดับน้ำตาลในเลือดสูง จากโรคเบาหวาน จะกระตุ้นการเจริญเติบโตของเชื้อราได้เป็นอย่างดี
  4. การบาดเจ็บ หรือ การระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อบริเวณช่องคลอด ( เช่น การคลอดบุตร , การร่วมเพศ , การสอดใส่ผ้าอนามัย หรือ การใส่ห่วงคุมกำเนิด) สามารถทำได้เกิดการอักเสบของช่องคลอดได้เช่นกัน

อาการและอาการแสดง

  1. ตกขาวมากขึ้น
  2. ตกขาวเป็นเมือกขาว
  3. คันและแสบบริเวณช่องคลอด
  4. เจ็บเมื่อมีเพศสัมพันธ์
  5. การแบ่งชนิดของโรคเชื้อราในช่องคลอด

สามารถแบ่งการติดเชื้อออกเป็นการติดเชื้อที่ไม่มีโรคแทรกซ้อน และการติดเชื้อที่มีโรคแทรกซ้อน โดยมีเกณฑ์ดังต่อไปนี้

ไม่มีโรคแทรกซ้อน โรคแทรกซ้อน
1. เป็นเชื้อราที่ช่องคลอดนานๆครั้ง 1. เป็นเชื้อราในช่องคลอดบ่อย
2. มีการอักเสบไม่มาก 2. มีการอักเสบมาก
3. เกิดเชื้อ Candida albican 3. เกิดจากเชื้ออื่น
4. ผู้ป่วยไม่มีโรคประจำตัว 4. ผู้ป่วยมีโรคเบาหวาน โรคมะเร็ง ตั้งครรภ์ และโรคเอดส์

การวินิจฉัย

– จากประวัติที่มีตกขาวสีขาวและคันอวัยวะเพศ

– นำตกขาวมาละลายด้วยน้ำยา KOH จะพบใยเชื้อรา

– การเพาะเชื้อขึ้นเชื้อรา

– pH<4.5

การรักษา

ตกขาวจากเชื้อราที่ไม่มีโรคแทรกซ้อน ใช้ยาเหน็บหรือยาทาที่มีส่วนผสมของยาฆ่าเชื้อรา สำหรับผู้ที่เป็นครั้งแรกอาจจะไม่สามารถวินิจฉัย แต่หากเป็นครั้ง 2-3  ก็พอจะทราบอาการและอาจจะหายาทาเองเป็นยาในกลุ่ม miconazole หรือ clotrimazole เป็นยาเหน็บหรือยาทาก็ได้  สำหรับคู่ที่มีเพศสัมพันธ์ไม่จำเป็นต้องรักษา

การรักษาเชื้อราในช่องคลอดที่มีโรคแทรก

เป็นเชื้อราในช่องคลอดบ่อย หมายถึงเป็นเชื้อราในช่องคลอดมากกว่า 4 ครั้ง/ ปีผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีโรคประจำตัว ต้องมีการเพาะเชื้อเพื่อยืนยันการวินิจฉัย เชื้ออาจจะเป็นเชื้อราชนิดอื่นเช่น Candida glabrata การรักษาเริ่มต้นอาจจะต้องรักษาให้นานกว่าปกติ ยาทาอาจจะต้องทานาน 7-14 วัน ส่วนยารับประทานอาจจะต้องรับประทานนาน 3 วัน สำหรับผู้ที่เป็นซ้ำบ่อยๆต้องให้ยาเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำได้แก่ ยาเหน็บช่องคลอด clotrimazole (500-mg dose vaginal suppositories อาทิตย์ละครั้ง)หรือยารับประทาน ketoconazole (100-mg dose วันละครั้ง), fluconazole (100–150-mg dose สัปดาห์ละครั้ง) , หรือ itraconazole (400-mg doseเดือนละครั้ง หรือ 100-mg dose วันละครั้ง) ในรายที่เป็นรุนแรง มีการอักเสบแคมใหญ่ มีบวม เกาจนเป็นรอยพวกนี้ต้องทายาหรือสอดยานาน 7-14 วัน ส่วนยารับประทานให้รับประทาน 2 ครั้งห่างกัน 3 วัน ช่องคลอดอักเสบที่เกิดจากเชื้อราชนิดอื่น ควรจะปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวหากเป็นยาทาต้องใช้เวลา 7-14 วันและควรจะรับประทานยาร่วมด้วย

 

Plan

  1. Diagnostic

แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นเชื้อราในช่องคลอด ให้ยาไปรับประทานที่บ้านและแนะนำการดูแลอวัยวะสืบพันธุ์ เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ

  1. Therapeutic or Treatment
  2. Clotrimazole vaginal (100 mg) PV   1 x hs  6 วัน
  3. Clotrimazole cream 1% ทาบางๆ เช้า – เย็น

 

  1. Education
  2. แนะนำการใส่ชุดชั้นในควรจะเป็นชนิดที่ทำจากผ้าฝ้ายและไม่ควรจะรัดแน่นเพราะจะทำให้อากาศถ่ายเทไม่สะดวก ควรซักตากในที่อากาศถ่ายเทดี แสงแดดส่องถึง และไม่ควรใช้ชุดชั้นในร่วมกับผู้อื่น ไม่ควรสวมกางเกงชั้นในนอน
    2. แนะนำในการใช้ผ้าอนามัยแผ่นเล็กไม่มีความจำเป็นจะต้องใช้ ถ้ามีตกขาวมากควรเตรียมชุดชั้นในไปเปลี่ยน หรือซื้อหาชนิดที่มีการเสริมผ้าฝ้ายตรงเป้ากางเกงให้หนาขึ้น จะได้ซึมซับตกขาวได้ดี กลับถึงบ้านแล้วรีบซักทำความสะอาดทันทีจะชำระตกขาวออกไปได้ดีขึ้น
    3. ถ้าจะใส่ถุงน่องควรเป็นชนิดใส่ถึงแค่ต้นขาหรือหัวเข่าก็น่าจะพอแล้ว
    4. การล้างทำความสะอาดจุดซ่อนเร้น ควรทำเฉพาะภายนอกเท่านั้น น้ำสะอาดเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในการชำระล้างทำความสะอาด และถ้ามีกลิ่นอับมากจะใช้สบู่อ่อน หรือสบู่เหลวอนามัย ทำความสะอาดเฉพาะที่เพื่อเพิ่มความมั่นใจก็ไม่ว่ากัน แต่อย่าสวนล้างน้ำ หรือน้ำยาทำความสะอาดเข้าไปภายใน
    5. ไม่ควรจะใช้ยาสอดรักษาเชื้อราด้วยตนเอง เพราะอาจใช้ไม่ครบขนาดทำให้เชื้อราเกิดการดื้อยาได้ในภายหลัง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อได้รับยารักษาเชื้อราให้ครบขนาดจะดีกว่า และควรไปตรวจติดตามผลการรักษาด้วยว่าหายขาดแล้ว
    6. ยาปฏิชีวนะที่รับประทานเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นยาปฏิชีวนะรักษาอาการสิวอักเสบ หรือการรักษาการอักเสบติดเชื้อเรื้อรังบริเวณอื่นที่ต้องรับประทานยาปฏิชีวนะเป็นเวลานานๆ จะทำให้เสี่ยงติดเชื้อราได้ง่ายขึ้น เพราะยาปฏิชีวนะจะไปทำลายแบคทีเรีย “ แลคโตแบซิลลัส ” ที่เป็นมิตรและอาศัยอยู่ภายในช่องคลอดและทวารหนัก
    7. การรับประทานโยเกิร์ต หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแบคทีเรียแลคโตแบซิลลัสจะช่วยทำให้มีแบคทีเรียดังกล่าวภายในระบบทางเดินอาหาร และช่องคลอดมากขึ้น นอกจากช่วยทำให้อาหารย่อยดีแล้ว ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการป้องกันเชื้อราในระบบอวัยวะเพศด้วย
    8. การรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด เป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งของการเกิดเชื้อราในส่วนสงวน ผู้หญิงที่รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดอยู่ จึงต้องรักษาสุขอนามัยของอวัยวะเพศให้ดีเพื่อป้องกันเชื้อรา

 

สรุป

               หญิงไทย อายุ 39 ปี มารับการรักษาด้วยอาการ  มีตกขาวคล้ายแป้งเปียก ร่วมกับอาการคันช่องคลอด ไม่มีกลิ่น จากการตรวจภายใน  พบตกขาวเป็นตะกอนขาวคล้ายตะกอนนมปนตกขาวสีเหลือง ไม่มีกลิ่นเหม็น  Labia Majora  เป็นรอยแดงเล็กน้อย  แพทย์ให้การวินิจฉัย เป็นช่องคลอดอักเสบจากเชื้อรา แพทย์ให้ยาทาและยาเหน็บ และแนะนำมาตรวจซ้ำถ้าอาการไม่ดีขึ้น

 

บทเรียนจากกรณีศึกษา          

                อาการตกขาวในช่องคลอด เป็นภาวะปกติที่พบได้ในหญิงวัยเจริญพันธ์  แต่กรณีศึกษามีตกขาว

ที่ผิดปกติมีตะกอนคล้ายตะกอนนม แต่ไม่มีอาการคัน โรคไม่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง แต่จะมีอาการเป็นที่น่ารำคาญ  ไม่มีผลกระทบต่อการมีเพศสัมพันธ์ ไม่จำเป็นต้องรักษาคู่นอน ควรแนะนำให้ผู้ป่วยเปลี่ยนวิธีคุมกำเนิดและงดสวนล้างช่องคลอดด้วยน้ำยาทำความสะอาด

บทบาทของพยาบาลเวชปฏิบัติ นอกจากจะให้ความสำคัญกับการซักประวัติ การตรวจร่างกาย การให้ข้อมูลกับแพทย์ แล้ว การให้คำแนะนำในการ ปฏิบัติตัวที่ถูกต้องและเหมาะสม ทำให้ป้องกันการติดเชื้อในระบบสืบพันธุ์ได้ เพราะถ้ามีตกขาวและปล่อยไว้ หรือไม่รักษาความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ ก็มีโอกาสที่ทำให้เกิดเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้

 

 การสืบค้นเรื่องยา

  1. Cotrimazole vaginal (100 mg)  vaginal      suppro   1 x hs

ประเภท                 ยาต้านเชื้อราที่ใช้ภายนอกร่างกาย

ข้อบ่งใช้                 รักษาการติดเชื้อราหรือฝ้าขาวในช่องปาก ลดการเกิดเชื้อราในผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือด

ขาว เปลี่ยนไตที่มีภูมิ ต้านทานต่ำจากการใช้สารเคมีบำบัด รังสีรักษา สเตียรอยด์ ใช้

รักษาการติดเชื้อของผิวหนัง มีทั้งครีมและ Ointment ใช้รักษาเชื้อราในช่องคลอด

การออกฤทธิ์         ต้านเชื้อรา ออกฤทธิ์กว้าง นอกจากนี้ยังมีผลต่อแบคทีเรีย ขัดขวางการสร้าง Ergo

sterol ซึ่งมีความสำคัญในการสร้าง cell membrane ของเชื้อราทำให้การดูดซึมอาหารที่

จำเป็นของเชื้อราเสียไป ยามีทั้งครีม สารน้ำ ผล และเม็ดสำหรับสอดในช่องคลอด

ผลข้างเคียง          ผิวหนังอาจบวมแดง  แสบ  และคัน

 

  1. Cotrimazole cream

ข้อบ่งใช้

ยานี้เป็นยาปฏิชีวนะประเภทยาฆ่าเชื้อรา ใช้รักษาโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อราเป็นวง ๆ (ringworm) และการติดเชื้อกลาก (tinea infections) เช่น โรคคันในร่มผ้า (jock itch) และโรคเชื้อราตามง่ามเท้า (athletes foot)

วิธีใช้ยา

ยานี้อยู่ในรูปแบบครีม ใช้สำหรับทาภายนอกห้ามรับประทาน โดยทั่วไปให้ทายาวันละ2ครั้งเป็นเวลา2-8สัปดาห์ หรือให้ใช้ยานี้ตามวิธีใช้ที่ระบุบนฉลากอย่างเคร่งครัด โดยห้ามใช้ยาในขนาดที่มากหรือน้อยกว่าที่ระบุและหากมีข้อสงสัยให้สอบถามแพทย์หรือเภสัชกร

โดยทั่วไปทาครีมให้เป็นชั้นบาง ๆ บนผิวหนังส่วนที่เกิดโรค และควรล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังใช้ยา ยกเว้นแต่การติดเชื้อเกิดที่มือหรือเล็บให้ล้างเฉพาะก่อนใช้ยา

ไม่ควรปิดทับหรือปิดบริเวณที่ติดเชื้อด้วยผ้าพันแผลชนิดที่อากาศผ่านเข้าไม่ได้ เช่น ผ้าพันแผลพลาสติก ควรทาติดต่อกันตามแพทย์สั่งให้ครบระยะเวลาในการรักษา แม้ว่าอาการของโรคเริ่มจะดีขึ้น และควรทาให้ตรงเวลาทุกครั้ง

 

ข้อควรระวัง

1.เมื่อท่านแพ้ยา Clotrimazole และยาอื่น ๆ

2.การตั้งครรภ์ การวางแผนในการตั้งครรภ์ หรือการให้นมบุตร ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ

3.เมื่อมีการใช้ยาอื่น ๆ ทั้งยาที่แพทย์สั่งจ่ายและยาที่ใช้เอง วิตามิน อาหารเสริมและยาสมุนไพรที่ท่านใช้อยู่ในขณะนี้หรือกำลังจะใช้

4.ภูมิคุ้มกันบกพร่องจากหรือติดเชื้อไวรัส HIV

5.เป็นโรคเบาหวาน

6.เคยติดเหล้า

7.ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์เป็นประจำ

อาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา

1) อาการอันไม่พึงประสงค์ที่ต้องแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทันที

มีดังนี้ คัน แสบร้อน แดง บวม ปวดท้อง เป็นไข้

2) อาการอันไม่พึงประสงค์อื่นที่อาจเกิดระหว่างใช้ยา หากเป็นต่อเนื่อง หรือ รบกวนชีวิตประจำวัน ให้ แจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทราบ

มีดังนี้ ระคายเคืองที่ผิวหนัง ผิวหนังไหม้หรือคัน

 

 

เอกสารอ้างอิง

นงณภัทร  รุ่งเนย. (2550). การประเมินภาวะสุขภาพสำหรับพยาบาลเวชปฏิบัติ. เพชรบุรี: มุมหนึ่ง พรินติ้ง.

 

วราภรณ์ บุญเชียง. (บรรณาธิการ). (2556). การรักษาพยาบาลโรคเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงใหม่: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

 

พรรณนิภา  ธรรมวิรัช และประอรนุช  ตุลยาธร. (2546).  การพยาบาลนรีเวช. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ:   โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์.

 

เมธาพันธ์  กิจพรธีรานันท์, จิตติมา  รุจิเวชพงศธร, และภาวิน พัวพรพงษ์. (บรรณาธิการ). (2553). สูตินรีเวชวิทยาพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: ไฮเอ็ดพับลิชชิ่ง.

 

วีรศักดิ์  วงศ์ถิรพร, มณี  รัตนไชยานนท์, ประสงค์  ตันมหาสมุทร, มงคล  เบญจาภิบาล, และไอรีน  เรืองขจร.  (บรรณาธิการ). (2554). ตำรานรีเวชวิทยา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: พี. เอ. ลีพวิ่ง.

 

กำพล ศรีวัฒนกุล  และคนอื่นๆ. (2541). การใช้ยาฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสยามสปอร์ต

ชินดิเคท จำกัด.

 

สุรเกียรติ  อาชานานุภาพ. (2553). ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 1. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี

กรุงเทพฯ.

 

สุรเกียรติ  อาชานานุภาพ. (2553). ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 2. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี

กรุงเทพฯ.

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

               

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

กรณีศึกษา กรดไหลย้อน (GERD) by เจนนี่

ชื่อนักศึกษา  นาย    –       วันที่  25  มีนาคม  2558

ผู้ให้ข้อมูล  ผู้รับบริการ

ข้อมูลทั่วไป

เพศ หญิง     อายุ   55   ปี    สถานภาพสมรส คู่       อาชีพ ทำนา, เย็บผ้า

เชื้อชาติ ไทย        สัญชาติ ไทย         รายได้ครอบครัว/เดือน 15,000   บาท

แหล่งประโยชน์   สิทธิบัตร บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า

 

การประเมินภาวะสุขภาพ

Subjective

1.อาการสำคัญ (Chief complaint)

                 ไอมีเสมหะ เป็นมา  3 สัปดาห์

 

2.ประวัติการเจ็บป่วยในปัจจุบัน (Present illness)

2 เดือนก่อนมา มีอาการแสบร้อนท้องบริเวณลิ้นปี่ มีร้าวขึ้นไปที่คอในบางครั้ง เป็นๆหายๆ  มีเรอเปรี้ยวเป็นเศษอาหารบ่อยครั้ง มักเป็นหลังรับประทานอาหาร รู้สึกขมปากในตอนเช้า เป็นๆหายๆ ไปรับการรักษาที่สถานีอนามัยใกล้บ้าน ได้รับยาลดกรดมารับประทานอาการพอทุเลา

1 เดือนก่อนมา ยังมีอาการแสบร้อนท้องบริเวณลิ้นปี่ แสบร้าวขึ้นไปที่คอสลับกับจุกแน่นท้อง เป็นๆหายๆ ซื้อยาธาตุน้ำขาวมารับประทานอาการพอทุเลา

3 สัปดาห์ก่อนมา เริ่มไอมีเสมหะสีขาว ปริมาณไม่มาก เสมหะไม่มีเลือดปน ไม่มีกลิ่นเหม็นไอห่างๆ พอรำคาญ มักไอตอนกลางคืนจนต้องลุกมาดื่มน้ำถึงจะหลับต่อได้ ไปรับการรักษาที่สถานีอนามัยใกล้บ้าน ได้รับยาขับเสมหะมารับประทาน อาการไม่ดีขึ้นจึงมาโรงพยาบาล

3.ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต (Past history)

                ไม่มีประวัติการแพ้ยา  ปฏิเสธการได้รับการผ่าตัดหรืออุบัติเหตุที่ร้ายแรง  ปฏิเสธโรคทางพันธุกรรม ไม่มีโรคประจำตัวอย่างอื่นๆ เช่น  DM,  HT,  Tuberculosis, หอบหืด,  ลมชัก, ภูมิแพ้

4

-ไม่มีประวัติบุคคลทั้งครอบครัวป่วยเป็นโรคติดต่อ เช่น วัณโรค หัด ตับอักเสบ

– ในครอบครัวมีสมาชิกทั้งหมด 4 คน ทุกคนสุขภาพแข็งแรงดี ไม่มีใครเจ็บป่วย และในรอบปีที่ผ่านไม่มีบุคคลในครอบครัวหรือญาติสนิทเสียชีวิต

5.  ประวัติส่วนบุคลและด้านจิตสังคม (personal and  Psycho social history)

5.1 แบบแผนพฤติกรรมสุขภาพ

การนอนหลับ       นอนวันละ 6- 8 ชม. นอนหลับไม่สนิท บางครั้งไอจนต้องลุกมาดื่มน้ำอาการจึงทุเลา

การรับประทานอาหาร       ชอบรับประทานอาหารพื้นบ้านอีสานทั่วไป เช่น  แกงอ่อม ข้าวเหนียว ส้มตำเผ็ดๆ กล้วยทอด ไก่ทอด ยิ่งเครียด ยิ่งกิน แต่ไม่ชอบทานผัก ผู้ป่วยชอบทานจุบจิบโดยเฉพาะมื้อดึกประมาณ 2 – 3 ทุ่ม การรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา วันละ 3 – 4 มื้อ เพราะต้องรีบทำงานเย็บผ้าส่งลูกค้าให้ทันเวลา

ดื่มน้ำ  ดื่มน้ำฝนที่รองไว้เอง วันละประมาณ 5-7 แก้ว

ดื่มกาแฟวัน 1 – 2 แก้ว เป็นประจำทุกวัน

บุหรี่ เหล้า ไม่สูบบุหรี่  ไม่มีสมาชิกในครอบครัวที่สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์เป็นบางครั้งเวลามีงานเทศกาลประจำปี

ออกกำลังกาย       ไม่มีการออกกำลังกายที่เป็นรูปแบบ  ส่วนมากจะทำงานบ้าน ดายหญ้า ตัดฟืน

อุปนิสัย   พูดจาสุภาพ ยิ้มแย้มแจ่มใส มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี เป็นคนมีน้ำใจ ช่วยเหลืองานหมู่บ้านเป็นอย่างดี

5.2 การศึกษา : จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

5.3 สุขวิทยาส่วนบุคคล : อาบน้ำแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง เช้า – เย็น สระผมสัปดาห์ละ 2  วัน

5.4 การขับถ่าย : ปกติจะถ่ายอุจจาระ 2 – 3  วันต่อครั้ง  มีท้องผูกบ่อยครั้ง  ต้องเบ่งอุจจาระนาน   ปัสสาวะปกติ

5.5 ประวัติทางเพศไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ไม่เคยไปทำงานต่างถิ่น

5.6 สิ่งแวดล้อมสภาพบ้านที่อยู่อาศัยเป็นหมู่บ้านในชุมชนชนบท ลักษณะเป็นบ้านครึ่งปูน  ครึ่งไม้สอง  ชั้นมีรั้วรอบขอบชิด

5.7 อาชีพอาชีพหลักทำนา อาชีพเสริมคือเย็บผ้าแบบรับเหมาส่งลูกค้าเป็นล๊อตๆ รับงานมาแล้วต้องส่งงานให้ทันเวลา

5.8 เศรษฐกิจรายได้จากการทำนาและรับจ้างเย็บผ้าพอเลี้ยงลูกเลี้ยงครอบครัวได้ มีหนี้สิน ธกส. แต่ไม่เป็นปัญหากับครอบครัว

5.9 ค่านิยมความเชื่อ มีความเชื่อเกี่ยวการรักษาพื้นบ้านเป็นบางอย่าง เช่น การผูกแขน ส่วนใหญ่มีความเชื่อเกี่ยวกับการรักษาแผนปัจจุบันเมื่อเจ็บป่วยจะมารับการรักษาที่รพ.และ รพ.สต.ใกล้บ้าน

5.10 การเผชิญความเครียด เนื่องจากลักษณะงานที่ผู้ป่วยทำ ต้องเสร็จทันตามเวลา จึงก่อให้เกิดความเครียดประกอบกับลูกสาวและลูกชายคนเล็กอยู่ในช่วงวัยรุ่น ทำให้ผู้ป่วยเป็นห่วงโดยเฉพาะลูกชายคนเล็กที่ไม่ค่อยสนใจเรียน ได้เกรดเฉลี่ยน้อย เมื่อมีปัญหาครอบครัวผู้ป่วยจะปรึกษาหารือภายในครอบครัวกับสามีและบุตรสาวคนโต ก็สามารถแก้ปัญหาได้

5.11 ความสัมพันธ์ในครอบครัว ทุกคนในครอบครัวรักใคร่กันดีกับเพื่อนบ้านเป็นที่เคารพ นับถือของเพื่อนบ้านไม่เคยมีปัญหาทะเลาะวิวาท

5.12 ประวัติการใช้ยา  ผู้ป่วยปฏิเสธการใช้ยาใดๆอย่างต่อเนื่อง จะกินยาแก้ปวด พาราเซตามอลเมื่อมีอาการปวดศีรษะ ปวดขา เท่านั้น

การทบทวนประวัติ ( Review system )

ลักษณะทั่วไป       หญิงไทยวัยกลางคน  รูปร่างอ้วน ไม่มีเบื่ออาหาร น้ำหนักไม่ลดหรือเพิ่มจากเดิม นอนไม่ค่อยหลับ ไม่มีไข้

ผิวหนัง               ผิวแห้งตามวัย  ไม่มีผื่นหรือตุ่มหนอง  ไม่มีจุดเลือดออกหรือจ้ำเลือด

ศีรษะ                 ไม่มีร่องรอยการบาดเจ็บ  ไม่พบบาดแผล ไม่เคยได้รับอุบัติเหตุบริเวณศีรษะ  ไม่มีผลร่วงผิดปกติ ไม่ปวดศีรษะ

ตา                       ตามองเห็นชัดเจนดีทั้ง 2 ข้าง ไม่ใช้แว่นตา ตาไม่แดง    ไม่พบตามัว  ไม่มีอาการปวดหรือแสบตา ไม่มีน้ำตาไหล   ไม่พบการมองเห็นเป็นสองภาพหรือภาพบิดเบี้ยว

หู                             การได้ยินปกติ ชัดเจนเท่ากันทั้ง 2 ข้าง ไม่มีเสียงก้องในหู ไม่ปวดหู ไม่มีหูอื้อ ไม่เคยมีสารคัดหลั่งผิดปกติ

จมูก                        ได้กลิ่นปกติ  ไม่เคยได้รับบาดเจ็บ  ไม่เคยมีเลือดกำเดาไหล ไม่มีอาการคัดจมูก ไม่มีน้ำมูกไหล ไม่คันจมูก ไม่ปวดโหนกแก้ม หรือหัวคิ้ว

ช่องปาก                 ไม่เคยมีบาดแผลในช่องปาก ไม่มีเหงือกอักเสบ  ฟันไม่ผุ ลิ้นปกติ ไม่มีเลือดออกตามไรฟัน

คอ                          ไม่เคยมีก้อนที่คอ กลืนอาหารได้ปกติ ไม่เคยมีเสียงแหบ

ต่อมน้ำเหลือง     ต่อมน้ำเหลืองที่ใต้คาง คอ รักแร้และขาหนีบไม่บวมโตหรือมีก้อน

ระบบหายใจ         การหายใจปกติ ไม่หอบเหนื่อย ไม่เคยสัมผัสคนเป็นวัณโรค ไม่เคยมีประวัติพ่นยาขยายหลอดลม ไม่มีประวัติป่วยเป็นไข้หวัด คัดจมูกหรือเจ็บคอก่อนหน้านี้

ระบบหัวใจและการไหลเวียนโลหิต  ไม่เคยมีอาการบวม  ไม่เคยมีอาการเหนื่อยหอบ ใจสั่น นอนราบได้ปกติ ไม่มีอาการเจ็บหน้าอก ไม่เคยหน้ามืดเป็นลม

ระบบทางเดินอาหาร          รับประทานอาหารน้อยลง เพราะทานเยอะแล้วแสบร้อนลิ้นปี่ แน่นอึดอัดท้อง ท้องผูกบ่อยครั้ง ไม่มีตัว ตา เหลือง ไม่มีถ่ายเป็นเลือดหรือถ่ายดำ  ไม่มีคลื่นไส้อาเจียน

ระบบทางเดินปัสสาวะ      ไม่เคยมีปัสสาวะแสบขัด   ปัสสาวะปกติวันละ  3-4  ครั้ง ไม่มีหนอง ไม่มีเลือดปน

ระบบสืบพันธุ์                    ปกติ ไม่เคยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ระบบกล้ามเนื้อ  กระดูกและข้อ       ไม่เคยมีอาการบวม ไม่มีอาการผิดปกติทางกระดูกและข้อ มีอาการปวดเอว ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลังระบบประสาท ไม่เคยมีอาการแขนขาอ่อนแรง  ไม่มีอาการชา ไม่มีอาการชัก

ระบบโลหิต                          ไม่เคยได้รับเลือด  ไม่มีเลือดออกทางผิวหนัง  ไม่มีประวัติซีด

อาการทางจิตประสาท        สภาพอารมณ์ปกติ  ไม่เครียด ไม่ตื่นเต้นง่าย ไม่มีอาการสั่น ความจำปกติ

Objective

  1. การตรวจร่างกาย (Physical Examination )

                V/S : BT = 36.5 o C , P =  80 /min , R = 22 /min , BP = 110/70 mmHg.

Weight = 68 kg , Height = 165 cm. , BMI = 25 kg/m2

General  A Thai  female ,  good  consciousness ,  not pale, no jaundice, no  cyanosis.

Skin       Normal skin contour and texture.  no  echymosis. no petechiae

Hair       Normal  texture and distribution

Head     Normal  size  and  shape, no evidence of trauma

Eyes       Normal eyes contour, conjunctiva  not  pale , Sclera  no jaundice  and   not  injected  , Pupils  2  mm. react to light both eyes ,

Ears       External ears no mass  or lesion ears canal no abrasion or inflammation or tender ness tympanic membrane intact , no discharge, hearing  normal

Nose       Symmetrical nose, normal  shape, mucous membrane pink not  injected , no septum  deviation or perforation, sinus area no tenderness.

Mouth and throat    Oral cavity no stomatitis, no gingivitis, tongue normal papillae, no glossitis, tonsils  not enlarged, pharynx  not inject.

Neck      Trachea normal, not deviated, thyroid gland not enlarged, no stiff neck

Respiratory system    AP : transverse =  1 : 2 , normal  shape , normal symmetrical,  percussion normal resonance sound  bilaterally, normal  breathing  movement , normal  breath sounds, no adventitious sound.

Heart   Normal  heart  sound  , S1 S2 clear , heart  rate 80/min, regular , no   murmur , apical  impulse  at  5 th  LICS , no precordial  heave or thrills

Abdomen            No  abdominal mass, mild tenderness at epigastric  region and umbilical region, abdominal distension,  no rebound tenderness at McBurney’s point, no guarding, normal bowl sound, CVA not tenderness, no  Murphy’s sign, liver not palpable.

Lymph nodes     Not palpable lymph nodes

Extremity and muscle system   Arms and legs  symmetrical, no deformities ,muscle power good, grade V , Rt. = Lt,  no abnormal movement.

Breasts                                 –

Genitalia                             –

Nervous  system          Good consciousness, speech normal, well co-operation, sensation  normal, muscle power grade  5 all

 

  1. ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ ( Laboratory Data )

                – Chest X-Ray ผล ปกติ

                – คลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG ผล ปกติ

Assessment

  1. สรุปปัญหา ( Problem list )

Active Problem

  1. ไอมีเสมหะเรื้อรัง 3 สัปดาห์
  2. แสบร้อนท้องบริเวณลิ้นปี่, จุกแน่นท้อง
  3. เรอเปรี้ยว ขมปากในตอนเช้า

Inactive Problem

  1. ท้องผูก ถ่ายลำบาก
  2. มีภาวะอ้วนลงพุง BMI = 25 kg/m2

การวินิจฉัยแยกโรค (Differential Diagnosis)

จากอาการ อาการแสดง การตรวจร่างกายและการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ทำให้คิดถึงโรค ต่อไปนี้ ซึ่งจำเป็นต้องวินิจฉัยจำแนก (Differential Diagnosis) ได้แก่

  1. โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease)
  2. กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Myocardial infarction)
  3. โรคหอบหืด (Asthma)
  4. โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (ChronicBronchitis)
  5. วัณโรคปอด (Pulmonary Tuberculosis)
  6. โรคแผลในกระเพาะอาหาร (Peptic Ulcer)
การวินิจฉัย ลักษณะเฉพาะโรคอาการของโรคตามทฤษฎี ข้อมูลผู้ป่วยที่สัมพันธ์กับโรค 
1.โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease) 

 

 

โรคกรดไหลย้อน หมายถึงโรคที่มีอาการจากการไหลย้อนกลับของกรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารขึ้นไปในหลอดอาหารส่วนบนอย่างผิดปกติ สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน แม้ผู้ป่วยไม่ได้รับประทานอาหารก็ตามอาการ

ผู้ป่วยจะมีอาการท้องอืดท้องเฟ้อ การไหลย้อนของกรด ถ้ามีมาก อาจไหลออกนอกหลอดอาหาร อาจทำให้มีผลต่อลำคอ กล่องเสียง และ

ปอดได้ ผู้ป่วยจะมีอาการไอเรื้อรัง เจ็บคอเรื้อรัง หรือรู้สึกสำลักในเวลากลางคืน เสียงแหบเรื้อรัง หรือแหบเฉพาะตอนเช้า หรือมีเสียงผิดปกติไปจากเดิม ปวดแสบ ปวดร้อนบริเวณหน้าอกและลิ้นปี่ หรือที่เรียกว่า Heart Burnเนื่องจากกรดไปทำให้หลอดอาหารอักเสบ มีอาการจุกแน่นบริเวณหน้าอก เหมือนมีก้อนติดอยู่ในลำคอ หายใจไม่ออกเวลานอน กลืนอาหารลำบาก หรือแสบลิ้นเรื้อรัง ถ้าเป็นมาก จะเจ็บคอมาก จนอาจจะกลืนอาหารแทบไม่ได้ คลื่นไส้ มีอาการเรอเปรี้ยว หรือรู้สึกถึงรสขมของน้ำดี รสเปรี้ยวของกรดในปากหรือลำคอ มีเสมหะอยู่ในลำคอ หรือระคายคอตลอดเวลา

 

Positive Data– มีอาการแสบร้อนท้องบริเวณลิ้นปี่ มีแสบร้าวขึ้นไปที่คอ- มีเรอเปรี้ยวบ่อยครั้ง มักเป็นหลังรับประทานอาหาร

– รู้สึกขมปากในตอนเช้า

– ได้รับยาลดกรดมารับประทานอาการดีขึ้น

– ไอมีเสมหะสีขาว ไอห่างๆพอรำคาญ

– ไอตอนกลางคืนจนต้องลุกมาดื่มน้ำถึงจะหลับต่อได้

– มีประวัติชอบทานจุบจิบ โดยเฉพาะมื้อดึก ชอบทานของเผ็ด รสจัด

– ดื่มกาแฟเป็นประจำ 1-2 แก้วต่อวัน

– มีภาวะอ้วนลงพุง

– มีความเครียดจากการทำงาน

– มีประวัติท้องผูก บ่อยครั้ง อุจจาระทุก 2-3 วัน

– Mild tenderness at epigastric  region and umbilical region, abdominal distension

จากประวัติและการตรวจร่างกายพบว่าผู้ป่วยรายนี้เข้าได้กับโรคกรดไหลย้อนมากที่สุด

การวินิจฉัย ลักษณะเฉพาะโรคอาการของโรคตามทฤษฎี อาการที่เข้าได้กับผู้ป่วย 
2.กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Myocardial infarction) กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เป็นความผิดปกติที่เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลายเสียหายจากการที่เลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจส่วนนั้นไม่เพียงพอซึ่งการที่หัวใจขาดเลือดไปเลี้ยงนั้นมักเกิดจากการที่มีลิ่มเลือดไปอุดตันในหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ จนเลือดไม่สามารถไปเลี้ยงหัวใจได้ ซึ่งที่มาของลิ่มเลือดเหล่านี้เริ่มจากการที่ร่างกายมีภาวะไขมันล้นเกิน จนไปพอกเป็นตะกรัน (Plaque) เกาะอยู่ตามผนังหลอดเลือด เมื่อรวมเข้ากับเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มากัดกินก็ทำให้เกิดเป็นกลุ่มเซลล์ที่ไม่สามารถดูดกลับเข้าไปในร่างกายได้ แต่กลับฝังตัวอยู่ในผนังหลอดเลือดแทน เมื่อเวลาผ่านไป ตะกรันนี้จะแตกตัวหรือปริออก หลอดเลือดจะพยายามซ่อมแซมตัวเอง จนเกิดลิ่มเลือดไปอุดกั้นหลอดเลือด ถ้าเป็นการแตกตัวที่แขนงเล็ก ผู้ป่วยจะมีเพียงอาการเจ็บหน้าอก แต่ถ้าหากลิ่มเลือดนี้อุดตันหลอดเลือดขนาดใหญ่ ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้อาการเจ็บหน้าอกจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย1.เป็นความรู้สึกบีบรัดและแน่นอึดอัด เหมือนมีอะไรมาทับที่บริเวณกลางหน้าอก

2.อาจมีอาการปวดร้าวไปตามแขน คอ กราม อาการมักจะรุนแรงและอาจมีเหงื่อแตกร่วมด้วย  3.อาการมักจะเป็นเวลานานมากกว่า 20 นาที มักพบในคนวัยกลางคน และผู้สูงอายุส่วนใหญ่4.มักจะมีอาการ เมื่อออกกำลังกาย และรู้สึกทุเลาเมื่อได้พัก แต่ในบางครั้งก็อาจมีอาการที่แตกต่างกันไป เช่น ท้องอืด อาหารไม่ย่อย หายใจขัด หอบเหนื่อย เป็นลม เป็นต้น

Positive Data– มีอาการแสบร้อนท้องบริเวณลิ้นปี่ มีแสบร้าวขึ้นไปที่คอในบางครั้ง- ผู้ป่วยมีภาวะอ้วนลงพุง

– มีความเครียดจากการทำงาน

Negative Data

– Normal EKG

– Normal  heart  sound  , S1 S2 clear , heart  rate 80/min, regular , no murmur, no precordial  heave or thrills

– อาการแสบร้อนท้องสัมพันธ์กับมื้ออาหาร

– ไม่เคยมีอาการเหนื่อยหอบ ใจสั่น

ไม่เคยหน้ามืดเป็นลม จึงทำให้นึกถึงโรคนี้น้อยลงมา

 

การวินิจฉัย ลักษณะเฉพาะโรคอาการของโรคตามทฤษฎี อาการที่เข้าได้กับผู้ป่วย 
3.โรคหอบหืด (Asthma)   โรคหืด หรือหอบหืด (Asthma)หมายถึง โรคที่มีการตีบแคบของหลอดลมเป็นพักๆ ซึ่งเกิดจากหลอดลมมีภาวะไวเกินต่อการกระตุ้นจากสิ่งต่างๆ เมื่อมีการกระตุ้นจะทำให้กล้ามเนื้อเรียบของหลอดลมหดเกร็ง มีการบวมของเยื่อบุ และเสมหะถูกหลั่งออกมามากกว่าปกติ สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการหอบอาการ

มักมีอาการแน่นอึดอัดในหน้าอก หรือหอบเหนื่อย ร่วมกับมีเสียงดังวี้ดคล้ายเสียงนกหวีด (ระยะแรกจะได้ยินช่วงหายใจออก ถ้าเป็นมากขึ้นจะได้ยินทั้งช่วงหายใจเข้าและออก) อาจมีอาการไอ ซึ่งมักมีเสมหะใสร่วมด้วย บางรายอาจมีเพียงอาการแน่นอึดอัดในหน้าอก หรือไอเป็นหลัก โดยไม่มีอาการอื่นๆ ชัดเจนก็ได้ อาการไอดูคล้ายไข้หวัด ภูมิแพ้ หรือหลอดลมอักเสบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะแรกเริ่มของโรคนี้ ผู้ป่วยอาจมีอาการไอมากตอนกลางคืนหรือเช้ามืด ในช่วงอากาศเย็นหรืออากาศเปลี่ยน หรือวิ่งเล่นมากๆ เด็กเล็กอาจไอมาก จนอาเจียนออกมาเป็นเสมหะเหนียวๆ และรู้สึกสบายหลังอาเจียน ผู้ป่วยอาจมีอาการภูมิแพ้ เช่น คัดจมูก คันคอ เป็นหวัด จาม หรือผื่นคันร่วมด้วย หรือเคยมีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้มาก่อน

 

 

 

 

 

 

Positive Data– ไอมีเสมหะสีขาว- เสมหะไม่มีเลือดปน

– ไอตอนกลางคืน

– ผู้ป่วยมีภาวะอ้วนลงพุง

– สัมผัสฝุ่นละอองจากผ้าที่เย็บ

Negative Data

– ไม่มีอาการหอบเหนื่อย  R = 22 /min

– ไม่เคยมีประวัติเป็นโรคหืด ไม่เคยพ่นยาขยายหลอดลม

– ไม่มีประวัติญาติสายตรงเป็นโรคหืด

– ไม่มีอาการหอบเหนื่อยเมื่อมีการออกกำลังกายหรือทำงานหนัก

– ไม่มีประวัติเป็นภูมิแพ้ใดๆ

– ปฏิเสธการสัมผัสกับควันบุหรี่ จึงทำให้นึกถึงโรคนี้น้อยลง

การวินิจฉัย ลักษณะเฉพาะโรคอาการของโรคตามทฤษฎี อาการที่เข้าได้กับผู้ป่วย 
4.โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic Bronchitis) หลอดลมอักเสบเรื้อรัง หมายถึง การอักเสบของเยื่อบุผิวภายในหลอดลมเกิน 3 สัปดาห์ ทำให้ต่อมเมือกของหลอดลมโตขึ้นและหลั่งเมือก (เสมหะ) ออกมามากกว่าปกติ เกิดอาการไอมีเสมหะ บางครั้งอาจอุดกั้นให้ช่องทางเดินของหลอดลมแคบลง เกิดอาการหอบเหนื่อยได้อาการที่สำคัญคือ อาการไอบ่อย ระยะแรกอาจไอแห้งๆ 2-3 ชั่วโมง หรือ 2-3 วันต่อมา ไอมีเสมหะเล็กน้อย ต่อมาเสมหะจะมีปริมาณมากขึ้น เสมหะอาจมีลักษณะใสหรือเป็นสีขาว (ถ้าเกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือการระคายเคือง) หรือเป็นเสมหะข้นสีเหลืองหรือเขียว (ถ้ามีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย) ส่วนใหญ่มักไม่มีไข้ บางรายอาจมีไข้ต่ำๆ อยู่ 3-5 วัน ผู้ป่วยมักมีอาการเป็นไข้หวัด เจ็บคอนำมาก่อนที่จะเกิดอาการไอ บางรายอาจไม่มีอาการเหล่านี้นำมาก่อนก็ได้ อาการไอมักเป็นอยู่นาน 1-3 สัปดาห์ แต่บางรายอาจไอนานกว่านี้ อาจไอมากตอนกลางคืน (จนทำให้นอนไม่หลับ) หรือหลังตื่นนอนตอนเช้า บางรายอาจมีอาการเสียงแหบ เจ็บคอ หรือเจ็บหน้าอกเวลาไอ ในเด็กเล็กอาจไอจนอาเจียนบางรายอาจมีอาการแน่นหน้าอก หรือรู้สึกหอบเหนื่อยร่วมด้วย

 

 

 

 

 

 

Positive Data– ไอเรื้อรังมา 3 สัปดาห์- ไอมีเสมหะสีขาว

– เสมหะไม่มีเลือดปน

– มักไอตอนกลางคืน

– สัมผัสฝุ่นละอองจากผ้าที่เย็บ

Negative Data

– ไม่มีไข้  BT. = 36.5 o C

– Normal  breath sounds, no adventitious sound

– ไม่มีประวัติป่วยเป็นไข้หวัดหรือเจ็บคอก่อนหน้านี้

– ลักษณะการไอจะห่างๆ ไม่ไอถี่ จึงทำให้นึกถึงโรคนี้น้อยลง

 

การวินิจฉัย ลักษณะเฉพาะโรคอาการของโรคตามทฤษฎี อาการที่เข้าได้กับผู้ป่วย 
5.วัณโรคปอด (Tuberculosis) วัณโรค หรือเรียกย่อๆว่า T.B. (Tuberculosis) วัณโรคเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อ Mycobacterium tuberculosis ซึ่งติดต่อได้ง่ายโดยส่วนใหญ่เกิดจากการสูดละอองเสมหะที่มีเชื้อวัณโรคเข้าทางเดินระบบทางเดินหายใจ วัณโรคเป็นโรคติดต่อเรื้อรังของระบบทางเดิน หายใจที่อันตรายมาก เป็นได้กับบุคคลทุกเพศทุกวัย มักระบาดในแหล่งที่มีการสุขาภิบาลไม่ดี ประชาชนมีฐานะทางเศรษฐกิจตํ่า เช่นในชุมชนแออัดที่มีคนอาศัยอยู่รวมกันอย่างหนาแน่น ไม่มีอากาศบริสุทธิ์สำหรับหายใจ รวมทั้งผู้ที่มีสุขภาพอ่อนแอวัณโรคเป็นได้กับทุกอวัยวะของร่างกาย อาจแบ่งวัณโรคออกได้เป็น 2 ชนิดตามตำแหน่ง ที่เกิดโรค คือ วัณโรคปอด (Pulmonary Tuberculosis) และวัณโรคที่เป็นกับอวัยวะอื่น (Extrapulmonary Tuberculosis) คือเมื่อเป็นที่ใดก็เรียกว่าวัณโรคของอวัยวะนั้นๆ เช่น วัณโรคปอด วัณโรคต่อมน้ำเหลือง วัณโรคกระดูก วัณโรคลำไส้ วัณโรคผิวหนัง แต่ที่พบมาก ที่สุดคือ วัณโรคปอด

อาการ 

เมื่อติดเชื้อวัณโรค ได้แก่

1.ไข้เรื้อรัง, ผอมลง, เบื่ออาหาร, อ่อนเพลีย

2.ไอ, เสมหะ, หอบเหนื่อย, เจ็บอก

3.ไอเป็นเลือด

4.ต่อมน้ำเหลืองโต คลำได้ก้อนบริเวณรักแร้และคอ

5.ตับ ม้าม โต, คลำก้อนได้ในท้อง

6.ปวดศีรษะ, หมดสติ ชักเกร็ง

Positive Data– ไอเรื้อรังมา 3 สัปดาห์- ไอมีเสมหะสีขาว

– มักไอตอนกลางคืน

Negative Data

– ไม่มีไข้  BT = 36.5 o C

– เสมหะไม่มีเลือดปน

– ไม่มีเจ็บหน้าอก

– ไม่มีเบื่ออาหาร

– น้ำหนักไม่ลด

จึงทำให้นึกถึงโรคนี้น้อยที่สุด

การวินิจฉัย ลักษณะเฉพาะโรคอาการของโรคตามทฤษฎี อาการที่เข้าได้กับผู้ป่วย 
6.โรคแผลในกระเพาะอาหาร (Peptic  Ulcer) โรคแผลในกระเพาะอาหาร (Peptic  Ulcer)หมายถึง โรคที่มีการตรวจพบแผลในกระเพาะอาหาร (Gastric Ulcer, GU) หรือในสำไส้เล็กส่วนต้นที่ติดกับกระเพาะอาหาร (Duodenal Ulcer, DU)สาเหตุเกิดจากสาเหตุหรือปัจจัยบางอย่างทำให้มีการกัดกร่อน เยื่อบุผิวกระเพาะอาหารจนเกิดเป็นหลุมแผล โรคนี้เป็นโรคที่พบบ่อยในชีวิตประจำวัน โดยพบได้ตั้งแต่ 4-13 คนต่อกลุ่มประชากร 100 คนอาการ

สำหรับผู้ที่เป็นโรคกระเพาะนั้นจะมีอาการต่างๆที่สังเกตได้ดังนี้คือ ปวดท้องบริเวณลิ้นปี่ มักเป็นเวลาท้องว่างหรือหิว ซึ่งอาการส่วนใหญ่สัมพันธ์กับมื้ออาหาร ในบางคนอาจจะปวดมากขึ้นหลังกินอาหาร อาการปวดมักจะเป็นๆหายๆนานเป็นปี โดยอาจจะเป็นช่วงแรกไม่นานแล้วก็หายไป แล้วเป็นใหม่อีกช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซ้ำๆอย่างนี้ บางรายอาจจะไม่มีอาการปวดท้อง แต่จะมีอาการแน่นท้อง จุก เสียด ท้องอืดหรือรู้สึกไม่สบายท้องโดยเฉพาะหลังอาหาร ถ้าอาการรุนแรงมาก อาจจะอาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระดำและปวดท้องรุนแรง ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพบแพทย์ให้เร็วที่สุดอาการรุนแรงมาก อาจจะอาเจียนเป็นเลือด ถ่าย

Positive Data– มีอาการแสบร้อนท้องบริเวณลิ้นปี่ มีแสบร้าวขึ้นไปที่คอสลับกับจุกแน่นท้อง- มีเรอเปรี้ยวบ่อยครั้ง มักเป็นหลังรับประทานอาหาร

– ได้รับยาลดกรดมารับประทานอาการดีขึ้น

– มีประวัติชอบทานจุบจิบ โดยเฉพาะมื้อดึก ชอบทานของเผ็ด รสจัด

– ดื่มกาแฟเป็นประจำ 1-2 แก้วต่อวัน

– มีความเครียดจากการทำงาน

– Mild tenderness at epigastric  region and umbilical region, abdominal distension

Negative Data

– ตำแหน่งการแสบร้อนท้องจะอยู่บริเวณลิ้นปี่ด้านบน

– อาการแสบร้อนไม่ดีขึ้นหลังกินอาหาร

-ไม่เบื่ออาหาร น้ำหนักไม่ลด

– ไม่มีอาการปวดท้องตอนดึก

-ไม่มีประวัติการสูบบุหรี่

-ไม่มีการใช้ยากลุ่มNSIADs

– ไม่มีคลื่นไส้หรืออาเจียนร่วมด้วย

 

 

Impression / Diagnosis

โรคกรดไหลย้อน Gastroesophageal Reflux Disease (GERD)    

 

Discussion          

  1. ไอมีเสมหะเรื้อรังมา 3 สัปดาห์

S : ผู้ป่วยมีอาการไอเรื้อรัง มีเสมหะสีขาว เสมหะไม่มีเลือดปน ไอห่างๆพอรำคาญ มักไอตอนกลางคืนจนต้องลุกมาดื่มน้ำถึงจะหลับต่อได้ ผู้ป่วยรับประทานยาขับเสมหะ แต่ไม่ดีขึ้น ไม่มีเจ็บหน้าอก ไม่มีไข้ ไม่มีตัว ตา เหลือง ไม่มีถ่ายเป็นเลือดหรือถ่ายดำ  ไม่มีเบื่ออาหาร น้ำหนักไม่ลด ปฏิเสธการสัมผัสผู้ป่วยวัณโรค ไม่มีประวัติป่วยเป็นไข้หวัดหรือเจ็บคอก่อนหน้านี้  นอกจากนี้ผู้ป่วยไม่มีอาการหอบเหนื่อย  R = 22 /min ไม่เคยมีประวัติเป็นโรคหืด ไม่เคยพ่นยาขยายหลอดลม ไม่มีประวัติญาติสายตรงเป็นโรคหืดไม่มีอาการหอบเหนื่อยเมื่อมีการออกกำลังกาย ไม่มีประวัติเป็นภูมิแพ้ใดๆ ปฏิเสธการสัมผัสกับควันบุหรี่

O :   ตรวจร่างกายพบ Respiratory system :  normal  breathing  movement , normal  breath sounds, no adventitious sound, Nose : mucous membrane pink not  injected , no septum  deviation or perforation, sinus area no tenderness. tonsils  not enlarged, pharynx  not inject

V/S : BT = 36.5 o C , P =  80 /min , R = 22 /min , BP = 110/70 mmHg. Weight = 68 kg , Height = 165 cm. BMI = 25 kg/m2

การตรวจทางห้องปฏิบัติการพบ                 

Chest X-Ray ผล ปกติ

A : สาเหตุของอาการไอเรื้อรังในผู้ใหญ่นั้นมีหลายสาเหตุสาเหตุส่วนใหญ่ (ร้อยละ85) ของผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีปัญหาไอเรื้อรัง ซึ่งแข็งแรงดีมาก่อน (ไม่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง) ไม่สูบบุหรี่ ไม่ได้รับประทานยาangiotensin-convertingenzymeinhibitor (ACEI) และมีภาพรังสีทรวงอกปกติ มักเกิดจาก upper airway cough syndrome (UACS) หรือในสมัยก่อนเรียกว่า post-nasal drip syndrome (PNDS) รองลงมา เกิดจาก asthma syndrome (asthma, cough-variant asthma,non- asthmatic eosinophilic bronchitis) และโรคกรดไหลย้อน [gastroesophageal reflux disease (GERD)]  เมื่อประเมินจากลักษณะการไอเรื้อรังของผู้ป่วยรายนี้แล้วพบว่าการตรวจร่างกายและการตรวจทางห้องปฏิบัติการไม่พบความผิดปกติ ประกอบกับผู้ป่วยมีประวัติแสบร้อนท้องบริเวณลิ้นปี่ เป็นๆ หายๆ ทานยาลดกรดแล้วดีขึ้น จึงให้การวินิจฉัยเป็นโรคกรดไหลย้อน ซึ่งกรดไหลย้อนก็แบ่งออกได้เป็น 2 แบบคือ typical GERD ซึ่งผู้ป่วยจะมาด้วยอาการ heartburn และ/หรือเรอเปรี้ยวเป็นอาหารหลัก อีกแบบคือ atypical GERD ผู้ป่วยจะมาพบแพทย์ด้วยอาการของหลอดอาหารที่ไม่ชัดเจน แต่อาจจะมาด้วยเจ็บคอ ไอเรื้อรัง เสียงแหบเรื้อรัง อาการทางระบบทางเดินหายใจ หรืออาจเป็นได้ทั้งฟันผุ มีกลิ่นปาก ซึ่งอาการเหล่านี้ได้รับการตรวจเพิ่มเติมจากแพทย์เฉพาะทางก่อน ถ้าไม่สามารถอธิบายสาเหตุของการไอได้ชัดเจนจึงค่อยนึกถึงกรดไหลย้อน แต่ด้วยศักยภาพใน รพ.ชุมชน ไม่มีแพทย์เฉพาะทาง หู คอ จมูก จึงให้การวินิจฉัยและรักษาแบบกรดไหลย้อนดูก่อน แล้วประเมินผล 2 สัปดาห์ว่าผู้ป่วยมีอาการไอดีขึ้นหรือไม่ ทั้งนี้ผู้ป่วยต้องไม่มี alarm feature ด้วยเช่นกัน

                จากลักษณะการไอของผู้ป่วยมักจะไอตอนกลางคืนโดยเฉพาะเวลาที่ล้มตัวลงนอนจะทำให้ระดับของกระเพาะอาหารและหลอดอาหารอยู่ในระดับใกล้เคียงกันทำให้เกิดการไหลย้อนของกรดในกระเพาะอาหารมาที่หลอดอาหารได้ หากหูรูดของกระเพาะอาหารทำงานได้ไม่ดี ประกอบกับพฤติกรรมของผู้ป่วยที่ชอบกินจุบจิบตอนกลางคืน กระตุ้นให้กระเพาะอาหารมีการหลั่งกรดและย่อยอาหารแม้ในเวลาที่ร่างกายควรพักผ่อน อาหารมือสุดท้ายของผู้ป่วยห่างจากการล้มตัวนอนไม่ถึง 3 ชม. อาจทำให้มีการไหลย้อนของเศษอาหารและน้ำย่อยขึ้นมาได้

                ความอ้วนและอาการท้องผูกเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความดันในระดับทางเดินอาหารเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะบริเวณกระเพาะอาหารที่มีกรด ก๊าซที่เกิดจากกระบวนการย่อยอาหารยิ่งผู้ป่วยมีความเครียดที่ต้องเร่งทำงานเย็บผ้าส่งให้ทันเวลา รวมถึงการดื่มกาแฟเป็นประจำวันละ 1-2 แก้ว ซึ่งคาเฟอีนมีผลทำให้กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารอ่อนแอลง ล้วนเป็นตัวกระตุ้นให้กระเพาะอาหารมีการหลั่งกรดเพิ่มมากขึ้น ก๊าซในกระเพาะอาหารก็เพิ่มมากขึ้น ทำให้ดันเอากรดที่มีอยู่ในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปที่หลอดอาหาร  ก่อให้เกิดการกระตุ้นปลายประสาทเวกัสในหลอดอาหารทำให้เกิดเวกัลรีเฟลกซ์กระตุ้นการเกิดเสมหะมากขึ้นในคอ อีกทั้งไปกระตุ้นศูนย์ควบคุมการไอที่หลอดอาหารทำให้ผู้ป่วยไอมีเสมหะเรื้อรังได้

P : ในขณะนี้ผู้ป่วยมีอาการไอเรื้อรังเป็นอาการเด่น โดยที่ซักประวัติ ตรวจร่างกายและตรวจทางห้อง ปฏิบัติการแล้ว ไม่พบลักษณะเตือน(alarm feature) คืออาการที่บ่งชี้ว่าเป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคกรดไหลย้อนได้แก่ ไข้ อาเจียนรุนแรง กลืนลำบาก กลืนแล้วเจ็บ เลือดออกในทางเดินอาหาร น้ำหนักลด และมีอายุมากกว่า 45 ปี ซึ่งหากมีอาการเหล่านี้ก็ควรมีการตรวจพิเศษเพิ่มเติมเพื่อช่วยในการวินิจฉัยเช่นการส่องกล้องตรวจทางเดินอาการ การวัดกรดในหลอดอาหาร การกลืนแป้งแบเรียม ต่อไป

  1. แสบร้อนท้องบริเวณลิ้นปี่, จุกแน่นท้อง

S : ผู้ป่วยมีประวัติ แสบร้อนบริเวณลิ้นปี่แสบร้าวขึ้นไปที่คอในบางครั้ง ไม่มีอาการเหนื่อยหอบ เป็นๆ หายๆมา  2 เดือน รับประทานยาลดกรดแล้วอาการพอทุเลา

O :   ตรวจร่างกายพบ mild tenderness at epigastric  region and umbilical region, abdominal distension

V/S : BT = 36.5 o C , P =  80 /min , R = 22 /min , BP = 110/70 mmHg. Weight = 68 kg , Height = 165 cm. BMI = 25 kg/m2

การตรวจทางห้องปฏิบัติการพบ                

 – คลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG ผล ปกติ

A : จากการซักประวัติและตรวจร่างกายพบว่าผู้ป่วยมีภาวะท้องอืดเนื่องจากมีกรดก๊าซเกินในกระเพาะอาหาร เนื่องจากผู้ป่วยมีภาวะอ้วนลงพุง ไขมันในหน้าท้องเยอะ ความดันในช่องท้องสูง ประกอบกับมีอาการท้องผูกเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความดันในระดับทางเดินอาหารเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะบริเวณกระเพาะอาหารที่มีกรด ก๊าซที่เกิดจากกระบวนการย่อยอาหารยิ่งผู้ป่วยมีความเครียดที่ต้องเร่งทำงานเย็บผ้าส่งให้ทันเวลา รวมถึงการดื่มกาแฟเป็นประจำวันละ 1-2 แก้ว การกินจุบ กินจิบ รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา ล้วนเป็นตัวกระตุ้นให้กระเพาะอาหารมีการหลั่งกรดเพิ่มมากขึ้น ก๊าซในกระเพาะอาหารก็เพิ่มมากขึ้น ทำให้ดันเอากรดที่มีอยู่ในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปที่หลอดอาหาร ทำให้เซลล์เยื่อบุอาหารเกิดพยาธิสภาพ จนทำให้มีอาการแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ได้ ซึ่งสิ่งสำคัญคือต้องแยกให้ออกว่าผู้ป่วยแสบร้อนลิ้นปี่จากกรดไหลย้อนหรือเกิดจากหัวใจขาดเลือด เพราะทั้ง 2 โรคมีอาการและอาการแสดงที่คล้ายคลึงกัน แพทย์จึงทำการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ พร้อมกับซักประวัติเพิ่มเติมในส่วนของการทำกิจวัตรประจำวันว่ามีส่วนสัมพันธ์กับอาการแสบร้อนลิ้นปี่หรือไม่ มีอาการจุกแน่นเหมือนมีอะไรมาทับหน้าอกหรือไม่ มีอาการเหนื่อยหอบไหมเวลาทำกิจกรรมทั่วไป เป็นการคัดกรองเบื้องต้น ซึ่งในผู้ป่วยรายนี้ไม่พบอาการดังกล่าว และผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจก็ปกติ แต่ผู้ป่วยมีภาวะเสี่ยงคือมีภาวะอ้วนลงพุง อายุ 55 ปี เพศหญิง มีประวัติแสบร้อนลิ้นปีร้าวขึ้นไปที่คอ ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาในอนาคตได้

P : ในขณะนี้ผู้ป่วยเริ่มมีความวิตกกังวลจากการเจ็บป่วยที่เป็นๆหายๆ ส่งผลต่อการประกอบอาชีพ ประกอบกับพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม การรักษาที่ขาดความต่อเนื่อง ส่งผลให้ให้มีอาการแสบร้อนลิ้นปี่เป็นๆหายๆ จึงควรอธิบายถึงกลไกที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคให้ผู้ป่วยได้เข้าใจและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร่วมกับการรักษาด้วยยาลดกรดกลุ่มยั้บยั้งโปรตอนปั๊ม (Proton Pump Inhibitors, PPI) เพื่อยั้งยั้งกลไกการหลั่งกรด คือ omeprazoleในปัจจุบันยากลุ่มนี้เป็นยาที่ให้ผลการรักษาได้ดีที่สุด แต่ต้องรับประทานยานี้ติดต่อกันนาน 6-8 สัปดาห์หรือนานกว่า นั้น

  1. เรอเปรี้ยว ขมปากในตอนเช้า

S : ผู้ป่วยมีประวัติ มีเรอเปรี้ยวบ่อยครั้ง มักเป็นหลังรับประทานอาหาร รู้สึกขมปากในตอนเช้า เป็นๆหายๆ ไม่มีคลื่นไส้อาเจียน

O :   ตรวจร่างกายพบ mild tenderness at epigastric  region and umbilical region, abdominal distension, tonsils  not enlarged, pharynx  not inject.

V/S : BT = 36.5 o C , P =  80 /min , R = 22 /min , BP = 110/70 mmHg. Weight = 68 kg , Height = 165 cm. BMI = 25 kg/m2

A : จากการซักประวัติและตรวจร่างกายพบว่าผู้ป่วยมีอาการเรอเปรี้ยวซึ่งเป็นอาการเด่นของโรคกรดไหลย้อน มักมีอาการหลังรับประทานอาหาร ซึ่งสาเหตุของกรดไหลย้อนมักจะเกิดจากแรงบีบตัวของหูรูดหลอดอาหาร แรงที่เกิดจากกระบังลมและแรงที่เกิดจากการกดเบียดจากส่วนต้นของกระเพาะอาหารบริเวณ “angle of his” ซึ่งความผิดปกติของกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารทำให้แรงบีบตัวของหูรูดส่วนล่างลดน้อยลง ทำให้เกิดกรดไหลย้อน การคลายตัวของหูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง และการบีบตัวของหลอดอาหารที่ผิดปกติก็อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเรอเปรี้ยวได้ ซึ่งนำย่อยในกระเพาะอาหารมีฤทธิ์เป็นกรดทำให้เกิดพยาธิสภาพที่เยื่อบุผิวของหลอดอาหาร นอกจากนี้การมีลมดันในช่องท้องที่มากเกินก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้มีอาการเรอเปรี้ยวในผู้ป่วย นอกจากนี้ พฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการเรอเปรี้ยวเช่นการนั่งทำงานเย็บผ้านานๆ การมีภาวะอ้วนลงพุง การดื่มกาแฟเป็นประจำ การมีภาวะท้องผูก ไม่ค่อยออกกำลังกาย ความเครียดจากการทำงาน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้มีผลทำให้เกิดกรดเกินในกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดอาการเรอเปรี้ยวตามมา

                อาการขมปากในตอนเช้า ลักษณะขมปากส่วนใหญ่เกิดมาจากการไหลย้อนขึ้นมาของรับประทาน ซึ่งเป็นการหลั่งมาย่อยอาหารในกระเพาะอาหารและส่วนลำไส้เล็ก แต่ในผู้ป่วยรายนี้มีปัญหาที่กล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารและการเพิ่มขึ้นของความดันในช่องท้องจากภาวะอ้วนและอาการท้องผูก จึงทำให้เกิดการไหลย้อนขึ้นมาของน้ำดีได้ โดยเฉพาะเวลาล้มตัวลงนอน ที่ทำให้ระดับของกระเพาะอาหารและหลอดอาหารอยู่ในระดับเดียวกับ ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกขมปาก โดยเฉพาะช่วงเช้าหลังตื่นนอน

P : ในขณะนี้ผู้ป่วยมีปัญหาเรอเปรี้ยวบ่อยครั้งขึ้นจนรู้สึกรำคาญ ร่วมกับมีอาการแสบร้อนท้อง ซึ่งบ่งชี้ถึงภาวะการไหลย้อนของกรดในกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นปัญหาที่ยัง active อยู่ ซึ่งต้องแก้ไขด้วยยาและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเป็นสำคัญ เพราะผู้ป่วยรายนี้ล้วนมีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะกรดไหลย้อนจากพฤติกรรมการกิน การทำงาน อ้วนลงพุง ท้องผูก จึงต้องเร่งแก้ไขปัญหาตั้งแต่ต้นเหตุ เพื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพ

Inactive Problem

  1. ท้องผูก ถ่ายลำบาก

S : ผู้ป่วยมีอาการท้องผูก ถ่ายลำบากเป็นประจำ 2 – 3 วัน ถ่าย 1 ครั้ง

O :   ตรวจร่างกายพบ abdominal distension.

V/S : BT = 36.5 o C , P =  80 /min , R = 22 /min , BP = 110/70 mmHg. Weight = 68 kg , Height = 165 cm. BMI = 25 kg/m2

A : จากการซักประวัติและตรวจร่างกายพบว่าผู้ป่วยมีอาการท้องผูก ถ่ายลำบาก ต้องนั่งเบ่งอุจจาระนาน ซึ่งปัจจัยที่ก่อให้เกิดอาการท้องผูกในผู้ป่วยรายนี้คือ การนั่งเย็บผ้าเป็นเวลานานๆ มีกิจกรรมทางกายน้อย ขาดการอกกำลังกาย ทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวได้น้อย ในแต่ละวันก็ทานน้ำน้อย  ประกอบกับไม่ชอบทานผักซึ่งที่มีกากใยช่วยในการขับถ่ายจึงส่งผลให้เกิดอาการท้องผูกตามมา

P : ขณะนี้อาการท้องผูกก็ยังคงเป็นปัญหา แต่นานๆจะมีอาการหนักที่ต้องนั่งเบ่งถ่ายนานๆ แต่ก็ควรได้รับการดูแล โดยการเพิ่มการกินผัก ผลไม้ที่มีกากใย ควรมีการพักระหว่างการทำงาน ยืดเส้น ยืดสาย คลายกล้ามเนื้อเป็นช่วงๆ เพิ่มการออกกำลังกายด้วยการยืนหรือเดินแกว่งแขนวันละ 30 นาที 5 วันต่อสัปดาห์ เพิ่มการดื่มน้ำสะอาดให้ได้วันละ 8 – 10 แก้ว

  1. มีภาวะอ้วนลงพุง BMI = 25 kg/m2

S : ผู้ป่วยมีภาวะอ้วนลงพุงระดับที่ 1

O :   ตรวจร่างกายพบ abdominal distension.

V/S : BT = 36.5 o C , P =  80 /min , R = 22 /min , BP = 110/70 mmHg. Weight = 68 kg , Height = 165 cm. BMI = 25 kg/m2

A : จากการซักประวัติและตรวจร่างกายพบว่าผู้ป่วยมีภาวะอ้วนลงพุงระดับที่ 1 ซึ่งสาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมการกินและการออกกำลังกายที่ไม่เหมาะสม เพราะในเครือญาติของผู้ป่วยไม่มีคนที่อ้วนลงพุงเลย ซึ่งจากพฤติกรรมของผู้ป่วยพบว่า ชอบกินจุบจุบ โดยเฉพาะของผัดทอด เช่นกล้วยทอด ไก่ทอด กินอาหารไม่เป็นเวลา วันละ 3 – 4 ครั้ง ชอบกินมื้อดึก ผู้ป่วยบอกว่ายิ่งเครียด ยิ่งกินเยอะ อีกทั้งยังขาดการออกกำลังกาย ส่งผลให้สิ่งที่กินเข้าไปกลายไปเป็นไขมันสะสมในทุกส่วนของร่างกาย ผู้ป่วยบอกว่าเคยกินกาแฟลดความอ้วน แต่ไม่ได้ผลเพราะกินแล้วเหนื่อย ทำงานไม่ได้ จนทำให้กลับมาอ้วนกว่าเดิมอีก

P : แม้ว่าในขณะนี้ผู้ป่วยจะมีภาวะอ้วนลงพุงระดับที่ 1 แต่ผู้ป่วยก็ยังบอกว่าแข็งแรงดี ยังพอทำงานได้ ไม่อยากควบคุมอาหาร จึงต้องพยายามทำให้ผู้ป่วยรับรู้ถึงภาวะเสี่ยงและความรุนแรงของโรคอ้วนลงพึง รับรู้ถึงประโยชน์และอุปสรรค รับรู้ต่อภาวะคุมคามของโรค เพื่อให้ผู้ป่วยได้คิดและพิจารณาพฤติกรรมสุขภาพของตนเองเพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อไปในอนาคต.

     Plan                           

  1. การวางแผนเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรค ( Diagnostic plan )

ในผู้ป่วยรายนี้  เนื่องจากมีอาการที่เข้าได้กับกรดไหลย้อน   ซึ่งแพทย์ให้ยากลับไปรับประทาน พร้อมให้คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและนัดมาตรวจซ้ำ อีก  2 สัปดาห์     ถ้าอาการไม่ดีขึ้น  หรือมีอาการเตือน (alarm feature) ก็อาจมีการส่งต่อไปรพ.กาฬสินธุ์เพื่อตรวจทางห้อง ปฏิบัติการเพิ่มเติมเพื่อช่วยในการวินิจฉัย เช่น  การส่องกล้องตรวจทางเดินอาการ การวัดกรดในหลอดอาหาร การกลืนแป้งแบเรียม เป็นต้น

  1. การวางแผนเพื่อการรักษา ( Therapeutic plan )

– Omeprazole 20 mg 1 x 2 ๏ ac.  2 สัปดาห์

– Simethicone 80 mg. 1-2 x 4 ๏ pc. 2 สัปดาห์

  1. การวางแผนเพื่อให้ความรู้และข้อมูลในการดูแลสุขภาพ ( Educational plan )
           การรักษากรดไหลย้อนให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือต้องใช้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร่วมกับการใช้ยาซึ่งพฤติกรรมสุขภาพสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ถ้าผู้ป่วยมีความมุ่งมั่น ในการดูแลตนเองได้ ได้แก่พฤติกรรมการกิน โดยมีอาหารที่พึงหลีกเลี่ยง ได้แก่-                   ชา กาแฟ และน้ำอัดลมทุกชนิด

–                   อาหารทอด อาหารไขมันสูง

–                   อาหารรสจัด รสเผ็ด

–                   ผลไม้รสเปรี้ยว ส้ม มะนาว มะเขือเทศ

–                   หอมหัวใหญ่ สะระแหน่ เปปเปอร์มิ้นต์

–                   ช็อกโกแลต

กินอาหารมื้อเล็กๆ การรับประทานอิ่มเกินไปจะทำให้หูรูดหลอดอาหารเปิดง่ายขึ้นและทำให้เกิดการย้อนของกรดง่ายขึ้น ดังนั้นจึงควรแบ่งกินอาหารเป็นมื้อเล็กๆและรับประทานให้บ่อยขึ้น

ไม่ควรเข้านอนหรือเอนกายหลังอาหารทันที หลังรับประทานอาหารเสร็จควรรออย่างน้อย 3 ชั่วโมงจึงเอนตัวนอน เพื่อให้อาหารเคลื่อนตัวออกจากกระเพาะอาหารเสียก่อน

– งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำให้หูรูดเปิดออกได้ ลองหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้สังเกตถึงอาการที่ดีขึ้น

– ยกศีรษะและลำตัวให้สูง ในผู้ที่มีอาการของกรดไหลย้อนขณะนอนราบ การนอนโดยเสริมด้านหัวเตียงให้ยกสูงขึ้นประมาณ 6 – 8 นิ้ว จะช่วยป้องกันการไหลย้อนกลับของกรดในกระเพาะอาหารได้ โดยไม่ควรใช้วิธีการหนุนหมอนหลายๆ ใบเพราะอาจทำให้กล้ามเนื้อหน้าท้องเกร็งตัว ซึ่งจะทำให้แรงดันจากในท้องสูงขึ้นและดันให้กรดย้อนขึ้นไปในหลอดอาหารได้ง่ายขึ้น

– ลดแรงกดต่อกระเพาะอาหาร เสื้อผ้าและเข็มขัดที่รัดแน่นบริเวณผนังหน้าท้อง การก้มตัวไปด้านหน้า

น้ำหนักตัวที่เกินมาตรฐาน ล้วนเป็นสาเหตุที่เพิ่มแรงกดต่อกระเพาะอาหารและทำให้กรดไหลย้อนกลับ

จึงควรหลีกเลี่ยงการใส่เสื้อผ้าหรือเข็มขัดที่รัดแน่น การก้มตัว และถ้าคุณมีปัญหาน้าหนักเกินควรลดให้อยู่

ในเกณฑ์มาตรฐาน

– ลดน้ำหนัก น้ำหนักตัวที่เกินมาตรฐาน ทำให้มีไขมันในช่องท้องมาก เป็นสาเหตุที่เพิ่มแรงดันในกระเพาะ

อาหารและทำให้กรดไหลย้อนกลับ จึงควรลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานด้วยหลัก 3 อ. 2 ส.

– ผ่อนคลายความเครียด ความเครียดที่มากเกินไปจะทำให้อาการแย่ลง ดังนั้นจึงควรหาเวลาพักผ่อนและ

ออกกาลังกายให้สมดุลกับการดำเนินชีวิต

– การรักษาด้วยยา การใช้ยาเป็นวิธีการหนึ่งในการรักษาโรคกรดไหลย้อนในผู้ป่วยส่วนใหญ่อย่างได้ผล

โดยใช้ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและหลีกเลี่ยงอาหารบางอย่างดังที่กล่าวข้างต้นการรักษาด้วยยา

มีเป้าหมายต่างกันไปตามชนิดของยาและอาการของผู้ป่วย

ยาที่ผู้ป่วยได้รับเป็นยากลุ่ม ยับยั้งกลไกขั้นสุดท้ายในการหลั่งกรด จึงสามารถลดการหลั่งกรดได้สมบูรณ์

ได้แก่ omeprazole ในปัจจุบันยากลุ่มนี้เป็นยาที่ให้ผลการรักษาได้ดีที่สุด มีประสิทธิภาพสูงสุดในการลดการ

หลั่งกรดและได้ผลเร็วกว่ากลุ่มอื่นๆ ผู้ป่วยอาจต้องรับประทานยานี้ติดต่อกันนาน 6-8 สัปดาห์ หรือนานกว่านั้นขึ้นกับการวินิจฉัยของแพทย์ และเมื่ออาการดีขึ้นแพทย์อาจปรับลดขนาดยาลงทีละน้อยจนหยุดยาได้

ข้อแนะนาในการกินยากลุ่มยับยั้งในการหลั่งกรด ให้ได้ผลดีที่สุด

–                   กินยาก่อนมื้ออาหาร ½ -1 ชั่วโมง

–                   กลืนยาพร้อมน้ำ ห้ามเคี้ยวหรือบดเม็ดยา

–                   หากลืมกินยาให้รับประทานทันทีที่นึกได้ แต่ถ้าใกล้กับเวลาที่กินครั้งต่อไปให้กินครั้งต่อไปตามปกติ ไม่ต้องเพิ่มขนาดเป็น 2 เท่า

–      กินยาตามขนาดที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด และต่อเนื่องจนครบ

– เมื่อไหร่ต้องรีบไปพบแพทย์

ถึงแม้ว่าโรคกรดไหลย้อนส่วนใหญ่จะไม่มีอาการรุนแรง แต่ไม่ควรละเลยโดยไม่รักษาเพราะอาจเกิดอาการ

แทรกซ้อนที่รุนแรงขึ้นได้ทั้งนี้หากพบแพทย์เพื่อรักษาแล้ว ผู้ป่วยยังมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้น ต้องปรึกษาแพทย์ทันที

–                   อาเจียนบ่อย หรือมีเลือดปน

–                   กลืนติดหรือกลืนลาบาก

–                   อุจจาระมีสีดำเข้ม หรือมีเลือดปน

–                   อ่อนเพลีย ซีด

–                   น้ำหนักลดลงอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีสาเหตุ

–                   กินยาครบตามแพทย์สั่งแล้วอาการไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง

– เมื่อไรจึงต้องรักษาด้วยการผ่าตัด

ในรายที่มีอาการของโรคกรดไหลย้อนรุนแรงจนใช้ยาเต็มที่แล้วไม่ได้ผลหรือมีข้อห้ามในการกินยา รวมทั้งไม่ต้องการกินยานาน หรือเป็นซ้ำบ่อยๆหลังหยุดยา แพทย์อาจพิจารณาใช้การผ่าตัดเป็นทางเลือกในการรักษาซึ่งมีเพียงร้อยละ 10 ของผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน

– ควรนอนตะแคงซ้าย

การนอนตะแคงขวาอาจทำให้อาการของโรคกรดไหลย้อนกำเริบขึ้นได้บ่อยกว่าการนอนตะแคงซ้ายเนื่องจากในท่านอนตะแคงขวา กระเพาะอาหารจะอยู่เหนือหลอดอาหาร ทำให้มีแรงกดต่อหูรูดหลอดอาหารให้เปิดออกได้ง่ายขึ้น จนเกิดการไหลย้อนกลับของกรด

นอกจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าว หลักการสำคัญในการรักษาโรคกรดไหลย้อนคือ พยายามลดปริมาณกรดในกระเพาะอาหาร เพราะถ้ากระเพาะอาหารมีกรดลดลง ปริมาณของกรดที่จะไหลย้อนเข้าไปในหลอดอาหารก็จะลดลงตาม ซึ่งจะส่งผลให้อาการปวดแสบร้อนบริเวณหน้าอกของผู้ป่วยทุเลาลง เพราะหลอดอาหารได้รับความระคายเคืองจากกรดน้อยลง นอกจากนี้ การลดปริมาณกรดที่ไหลย้อนเข้าไปในหลอดอาหาร ยังเป็นการเปิดโอกาสให้ร่างกายได้สมานแผลหลอดอาหารบริเวณที่ถูกกรดทำลายได้อย่างเต็มที่ เพราะหลอดอาหารมีช่วงเวลาที่ไม่ได้สัมผัสกับกรดยาวนานขึ้น จึงควรรับประทานยาตามแผนการรักษา

การวางแผนเพื่อการติดตามการรักษาและส่งต่อ ( Follow up / Referral plan )

นัด F/U อีก 1 สัปดาห์

ผลการติดตามการรักษา วันที่ 8 เมษายน 2558 พบว่า ผู้ป่วยมีอาการไอลดลง เสมหะลดลง แต่ยังคงมีอาการไอ นานๆครั้ง ส่วนใหญ่จะกระแอมเอาเสมหะออก  อาการเรอเปรี้ยวแล้วแสบร้อนลิ้นปี่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทั้งความถี่และระดับความแสบร้อน อาการขมปากตอนเช้าหายไป ภายหลังรับประทานยาตามแพทย์สั่ง ทั้งนี้เนื่องจากผู้ป่วยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยการลดกาแฟ ลดการกินเผ็ด งดมื้อดึก เข้านอนเร็วขึ้น กินน้ำ กินผักเพิ่มขึ้น ออกกำลังกายด้วยการปั่นจักรยานรอบหมู่บ้านในตอนเช้าทุกวัน ทำให้น้ำหนักลดไปแล้วกว่าครึ่งกิโลกรัม รู้สึกว่าใส่กางเกงแล้วเอวหลวมๆ นอกจากนี้ยังให้สามีต่อขาเตียงขึ้นมา 6 นิ้ว  และพยายามนอนตะแคงซ้าย จนสามีบ่นว่าทำไมรักษาโรคแบบแปลกๆ จึงอธิบายกลไกการเกิดโรคและแนวทางการรักษาให้สามีผู้ป่วยรับทราบ  พร้อมยกย่องชมเชยให้กำลังใจผู้ป่วยที่เริ่มต้นเปลี่ยนแปลงตัวเอง แต่แพทย์ก็นัดรับยาต่อไปอีก 1 เดือน  เพื่อการรักษาที่ต่อเนื่อง ต่อไป

 

การค้นคว้ายา

  1. Omeprazole

ชื่อสามัญ  Omeprazole

ชื่อทางการค้า Losec, Miracid, Eucid, O-sid, Stomec

รูปแบบยา  ยาแค็ปซูลขนาด 20 มิลลิกรัม, ยาเม็ดขนาด 20 มิลลิกรัม, ยาฉีดขนาด 40 มิลลิกรัม

กลไกการออกฤทธิ์ ยาโอเมพราโซล จะออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ที่เรียกว่า Hydrogen-potassium Adenosinetriphosphatase ทำให้ลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร จึงทำให้อาการกรดไหลย้อน และแผลที่เกิดในกระเพาะอาหาร – ลำไส้ดีขึ้น

ข้อบ่งใช้   

1.ใช้รักษาอาการหลอดอาหารอักเสบ หรือหลอดอาหารและคอหอยอักเสบ จากการที่กรดจากกระเพาะไหล  ย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร ทําให้เยื่อบุหลอดอาหารบวม ฉีกขาดและมีอาการแสบในอก

2.ใช้รักษาโรคที่เกิดจากกรดในกระเพาะไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหารหรือเรียกย้อว่าโรคเกิรืด ซึ่งทําให้มีอาการแสบในอกและหลอดอาหารเป็นแผล

3.ใช้รักษาอาการปวดในกระเพาะอาหาร เนื่องจากอาหารไม่ย่อยและมีกรดมากเกิน

  1. ใช้รักษาแผลในกระเพาะหรือลําไส้เล็กส่วนต้น หรือใช้ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะหรือลําไส้เล็ก ในผู้ที่ต้องใช้ยากลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช้สเตอรอยด์

5.ใช้รักษาแผลในกระเพาะหรือลําไส้เล็ก ที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเทอร์พัยโรไลโดยใช้ร่วมกับยาต้านเชื้อแบคทีเรีย

  1. ใช้ป้องกันการสําลักกรดเข้าไปในปอดเช่น ใช้ก่อนการผ่าตัด

7.ใช้รักษาการมีกรดในกระเพาะมากเกินไป จากการเจริญที่ผิดปกติของตับอ่อน

ขนาดและวิธีใช้ สำหรับกรดไหลย้อน รับประทาน 20 มิลลิกรัม วันละครั้งก่อนอาหาร เป็นเวลา 4 – 8 สัปดาห์ และเมื่อป้องกันการกลับมาเป็นใหม่ให้รับประทาน ครั้งละ 10 มิลลิกรัม และเพิ่มเป็น 20 – 40 มิลลิกรัมวันละครั้ง ขนาดและระยะเวลาในการรับประทานยาต้องอยู่ภายใต้คำสั่งของแพทย์เท่านั้น

ฤทธิ์ข้างเคียงและอาการไม่พึงประสงค์

โอเมพราโซลสามารถก่อให้เกิดผลไม่พึงประสงค์ดังนี้ คือ ปวดศีรษะ ท้อง เสีย ท้องผูก ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด อาจพบผื่นคันได้บ้าง วิงเวียน ปริมาณเอนไซม์ในตับเพิ่มขึ้น(ตับอักเสบ)

ข้อควรระวัง        

ยาโอเมพราโซลมีข้อควรระวังในการใช้ยา คือ

1.ห้ามใช้ยากับผู้ที่แพ้ยาโอเมพราโซล

2.ห้ามใช้ยากับหญิงตั้งครรภ์และหญิงที่อยู่ภาวะให้นมบุตร จัดอยู่ใน Category C

3.ระวังการใช้ยากับผู้ป่วยด้วยโรคตับ

4.ระวังการใช้ยาในเด็กเล็กและผู้สูงอายุ        

2.Simethicone
ชื่อการค้า  Logastin , Airrox,Fa-x, Simcone-tDioxzye, Disflatyl forte, Siticon, Air-x
รูปแบบยา  ยาเม็ดชนิดเคี้ยว

รูปแบบการจัดจำหน่ายของยาไซเมทิโคน มีดังนี้

  • ยาผสมชนิดเม็ดขนาดความแรง 25, 30, 40, 50, 60, 100, 500, มิลลิกรัม/เม็ด
  • ยาผสมชนิดแคปซูลขนาดความแรง 300 มิลลิกรัม/แคปซูล
  • ยาผสมชนิดน้ำขนาดความแรง 60, 75, 100, 125, 150 มิลลิกรัม/15 มิลลิลิตร
  • ยาเดี่ยวชนิดเม็ดขนาดความแรง 40, 80, 120 มิลลิกรัม/เม็ด
  • ยาเดี่ยวชนิดแคปซูลนิ่มขนาดความแรง 150 มิลลิกรัม/แคปซูล
  • ยาเดี่ยวชนิดน้ำสำหรับเด็กเล็กขนาดความแรง 40 มิลลิกรัม/6 มิลลิลิตร
    กลไกการออกฤทธิ์ ไซเมทิโคนมีกลไกการออกฤทธิ์โดย จะไปลดแรงตึงผิว (Tension) ของแก๊สในระบบทางเดินอาหารทำให้ฟองแก๊สเหล่านั้นถูกขับออกจากทางเดินอาหารได้เร็วขึ้น
    ข้อบ่งใช้
    –     รักษาและบรรเทาอาการท้องอืด อันมีสาเหตุจากมีแก๊สในช่องทางเดินอาหารมากเกินไป
  • บรรเทาอาการจุกเสียดท้องจากภาวะอาหารไม่ย่อย
  • บรรเทาอาการจุกเสียดท้องเนื่องจากมีแก๊สหลังการผ่าตัดกระเพาะหรือลำไส้
  • ใช้กับผู้ป่วยก่อนทำการตรวจอัลตราซาวด์ในช่องท้อง

ขนาดและวิธีใช้ยา

  • ผู้ใหญ่ รับประทานโดยเคี้ยวก่อนกลืนครั้งละ 1 – 2เม็ด วันละ 3 – 4 ครั้งหลังอาหารและก่อน นอน
  • เด็กอายุมากกว่า 3 – 6 ขวบ รับประทานครั้งละ 40 มิลลิกรัม ทุก 6 – 8 ชั่วโมง พร้อมอา หาร
  • เด็กทารก– อายุ 3 ขวบ รับประทานครั้งละ 20 มิลลิกรัม ทุก 6 – 8 ชั่วโมง พร้อมอาหาร

อนึ่ง ขนาดรับประทานยาไซเมทิโคน รวมถึงระยะเวลาและความถี่ของการให้ยาในแต่ละวัน ควรต้องอยู่ภายใต้คำสั่งและดุลยพินิจของแพทย์ผู้ทำการรักษาเท่านั้น โดยเฉพาะในเด็กทารก และในเด็กเล็ก

ฤทธิ์ข้างเคียงและอาการที่ไม่พึงประสงค์

ยังไม่ค่อยพบผลไม่พึงประสงค์ (ผลข้างเคียง) ของยาไซเมทิโคน แต่หากหลังรับประทานแล้ว มีอาการแพ้ เช่น ผื่นคัน การหายใจติดขัด/หายใจลำบาก ให้รีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์/ไปโรงพยาบาลเพื่อทำการรักษาทันที

ข้อควรระวัง

ข้อควรระวังในการยาไซเมทิโคน ได้แก่

  • ห้ามใช้ยานี้กับผู้ที่แพ้ไซเมทิโคน
  • ห้ามใช้ยาที่หมดอายุ
  • ระวังการใช้ยากับหญิงตั้งครรภ์ ซึ่ง ไซเมทติโคนจัดอยู่ใน Category C

บรรณานุกรม

 

นงณภัทร  รุ่งเนย. (2550). การประเมินภาวะสุขภาพสำหรับพยาบาลเวชปฏิบัติ. เพชรบุรี: มุมหนึ่ง พรินติ้ง.

 

ประไพ โรจน์ประทักษ์. (2551). เวชปฏิบัติทางการพยาบาล (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: บริษัทธนาเพรส จำกัด.

 

วราภรณ์ บุญเชียง. (บรรณาธิการ). (2556). การรักษาพยาบาลโรคเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงใหม่: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

 

สถาพร มนัสสถิตย์ สุพจน์ พงศ์ประสบชัย และอุดม คชินทร. (2553). Clinical Practice in Gastroenterology. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: กรุงเทพเวชสาร.

 

สุเทพ กลชาญวิทย์. (2553). โรคกรดไหลย้อน. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

 

กำพล ศรีวัฒนกุล  และคนอื่นๆ. (2541). การใช้ยาฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสยามสปอร์ต

ชินดิเคท จำกัด.

 

ธิดา นสานนท์, ปรีชา มนทกานติกุล และสุวัฒนา จุฬาวัฒนทล. (2552). คู่มือการใช้ยาสำหรับบุคลากรสาธารณสุข (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: บริษัท ประชาชน จำกัด.

 

ปราณี ทู้ไพเราะ. (2548). คู่มือยา Handbook  of  drug. กรุงเทพมหานคร: แอล ที เพรส จำกัด.

 

สุรเกียรติ  อาชานานุภาพ. (2553). ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 1 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี

กรุงเทพฯ.

สุรเกียรติ  อาชานานุภาพ. (2553). ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 2. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี

กรุงเทพฯ.

กรณีศึกษา Cystitis by เจนนี่

ชื่อนักศึกษา  นาย-                                   วันที่  31  มีนาคม  2558

ผู้ให้ข้อมูล  ผู้รับบริการ

ข้อมูลทั่วไป    ผู้ป่วยหญิงไทย   อายุ   40    ปี

สถานภาพสมรส     สมรส    อาชีพ   เกษตรกรรม       รายได้ครอบครัว/เดือน    15,000  บาท

แหล่งประโยชน์  บัตรประกันสุขภาพประเภท  เสียค่าธรรมเนียม

 

การประเมินภาวะสุขภาพ

Subjective

1.อาการสำคัญ

ปัสสาวะแสบขัด เป็นมา 2 วัน

 

2.ประวัติการเจ็บป่วยในปัจจุบัน

2 วัน ก่อนมา มีอาการปวดหน่วงท้องน้อย ปัสสาวะกะปริดกะปรอย  ปัสสาวะแสบขัดตอนถ่ายสุด ปัสสาวะไม่มีเลือดปน ไม่มีไข้ ซื้อยาหญ้าหนวดแมวมารับประทานเพื่อขับปัสสาวะ อาการไม่ดีขึ้น จึงมา รพ.

 

3.ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต

         มีเจ็บป่วยเล็กๆน้อย ส่วนใหญ่จะเป็นเป็นไข้ ปวด ศีรษะ มีน้ำมูกใส ซื้อยามารับประทานเอง  จะมีปัญหาบ้างเรื่องกระเพาะปัสสาวะอักเสบ  แต่ไม่เคยมีปัสสาวะ เป็นลักษณะคล้ายกรวดทรายปนออกมา

ปฏิเสธการเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงหรือการเจ็บป่วยหนักที่ต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล   ปฏิเสธการผ่าตัด ไม่มีประวัติ แพ้ยา แพ้อาหาร

1

 

  1. ประวัติส่วนบุคคลและจิตสังคม (personal and Psycho social history)

      อุปนิสัย  :       รื่นเริง  สนุกสนาน   ใจเย็น

อารมณ์   :     อารมณ์ดี ไม่ค่อยหงุดหงิด ไม่เคยปัญหาทะเลาะเบาะแว้งกับใคร

การพักผ่อน :  นอนหลับสบายทุกคืน  เข้านอนเวลาประมาณ 23-22.00 น.  ตื่นนอนประมาณ

04.30  น.

      การรับประทานอาหาร :  ส่วนใหญ่ชอบรับประทานอาหารพื้นบ้านทั่วไป   ส่วนใหญ่

รับประทานอาหารจืด เนื่องจากปู่และย่าป่วยเป็นโรคเบาหวาน ส่วนมากประกอบ

อาหารรับประทานเอง   รับประทานอาหารตรงเวลา

         การออกกำลังกาย : ไม่เป็นรูปแบบที่แน่นอน  ส่วนใหญ่จะทำงานบ้าน ทำนา รับจ้าง

ทั่วไป  และดูแลปู่และย่า ที่มีโรคประจำตัวทั้งคู่

   อาบน้ำ :  วันละ 1 ครั้ง  ตอนเย็น

        การขับถ่าย  ปัสสาวะวันละ  3 – 5   ครั้ง ผู้ป่วยชอบอั้นปัสสาวะ อุจจาระ  1- 2 วัน/ ครั้ง  มีท้องผูกเป็นและแสบร้อนท้องเป็นบางครั้ง ผู้ป่วยชอบใช้ไม้พันสำลีแคะหูเป็นประจำ

ยา  :  ให้ประวัติเมื่อมีการเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆ จะเข้ารับการรักษาที่สถานีอนามัยใกล้บ้าน

งานอดิเรก                :  เมื่อมีเวลาว่างจะดูโทรทัศน์

กิจกรรมทางศาสนา  :  ร่วมทำบุญในช่วงเทศกาลงานบุญต่างๆ

การศึกษา  :  จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ประวัติทางเพศ  :  ไม่เคยเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

 

 

 ความเชื่อเกี่ยวกับการรักษาและการเจ็บป่วย :  มีความเชื่อทั้งทางด้านการรักษาแพทย์แผน

โบราณ บางครั้งใช้สมุนไพรในการรักษาโรค   และแพทย์แผนปัจจุบัน  เวลา

เจ็บป่วยจะไปหาหมอที่คลินิก  หรือ โรงพยาบาล

          ความสัมพันธ์ในครอบครัวและสังคม  เป็นที่รักของครอบครัวและญาติพี่น้อง  ช่วยเหลืองาน

ในสังคมเป็นอย่างดี

          สบร้อนท้องเป็นลานเป็นโรคเบาหวาน และย่างรับระทานงแคะออกให้ หลังจากนั้น 1 วันการเผชิญความเครียด  มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเจ็บป่วย เนื่องจากไม่เคยเจ็บป่วยเจ็บ

มาก่อน กลัวจะหูหนวก  ลดความวิตกกังวลโดยการใช้ การพูดคุยกับสามี ญาติพี่

น้องและเพื่อนบ้าน เพื่อขอคำปรึกษา และบางครั้งก็เครียดเรื่องการดูแลปู่กับย่าที่

ชรา และมีโรคประจำตัว

 

  1. การทบทวนประวัติ (Review of system )

ลักษณะทั่วไป:  ไม่มีเบื่ออาหาร น้ำหนักไม่ลดหรือเพิ่มจากเดิม นอนไม่ค่อยหลับ ไม่มีไข้            ผิวหนัง    : ผิวคล้ำ  ไม่มีบาดแผล ไม่มีจ้ำเลือด ไม่มีรอยแผลเป็น ไม่มีก้อน  มีความยืดหยุ่นดี

ไม่บวม  เล็บและขนปกติ

         ศีรษะ            : รูปทรงโครงสร้างของศีรษะและใบหน้าปกติ  สมมาตรดี ไม่มีก้อน  ไม่มีร่องรอย

บาดเจ็บ  ไม่พบบาดแผล  ผมดำ

                          ตา                 : ตามองเห็นชัดเจนทั้งสองข้าง  ไม่เคยเป็นโรคตาแดง หรือโรคเกี่ยวกับตา

          หู   : ใบหูสมมาตรทั้งสองข้าง ไม่เคยได้รับอุบัติเหตุทางหู ไม่บวม ดึงใบหูไม่เจ็บ ไม่มี

สิ่งคัดหลั่งออกจากหู ไม่เคยเป็นโรคหูน้ำหนวก หูข้างขวาได้ยินไม่ค่อยชัดเท่าที่ควร  หูข้างซ้ายได้ยินชัดเจน

                          คอ                : ไม่มีต่อมน้ำเหลืองที่คอโต  ไม่มีก้อนในลำคอ

          จมูก              :  การได้กลิ่นปกติ  ไม่มีเลือดกำเดาออก  ไม่มีน้ำมูก  รูปร่างปกติ

          ปากและฟัน : ไม่มีฟันผุ  ไม่เคยมีเลือดออกตามไรฟัน

ระบบทางเดินหายใจ : การหายใจปกติ ไม่หอบเหนื่อย

          ระบบไหลเวียนเลือด : ไม่มีอาการตัวเขียว เล็บเขียว หรือบวม  ไม่เจ็บแน่นหน้าอก

          ระบบทางเดินอาหาร  :  ไม่ปวดท้อง  ไม่มีถ่ายดำ  ไม่มีกดเจ็บ  ไม่มีก้อน ไม่มีบาดแผล

          ระบบทางเดินปัสสาวะ: ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม ไม่มีเลือดปน

          ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ไม่เคยมีกระดูกหัก หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรงไม่มีปวดบวม

ตามข้อไม่เคยประสบอุบัติเหตุจนทำให้ข้อเคลื่อนหรือกระดูกหัก

          ระบบประสาทและทางจิต :  ไม่มีประวัติแขนขาอ่อนแรง ไม่มีอาการชาตามใบหน้าหรือแขน

ขา  ไม่มีอาการชักไม่มีอาการทางระบบประสาท

 

 

 

 

Objective

  1. การตรวจร่างกาย (physical Examination )

vital  Sign  :        T. 37.2 C  PR  86 /min  RR  22 /min, BP=110/65 mmHg.

Nutrition  status : BW  55 kg.  BH  158 cm.  BMI  22.04

General  appearance  :  A Thai female ,   look  weak.

Skin  :  normal  color, no  rash , no lesion  

Head  :  normal  shape  and  size  no  mass

Eyes  :  normal  vision  conjunctiva  not  pale, No  scleral  icterus. Pupils round and equal

R = L. 3  mm. React  to light.

Ears  :  canal  normal shape  and  size,  no discharge

Nose  :  septum  midline   external  configuration  normal  no  discharge

Mouth  :  mucosa  membrane  pink , tonsil  not  enlarge , Pharynx  not  injected

Neck  :  Trachea  not  deviated ,Thyroid  not  enlarge,   not  stiff  neck, Lymph nodes  no palpable

Chest   :  lung  clear  normal  breath  sound

Heart    ;  heart  sound  normal  no  murmur , PMI  at 5th ICS

Musculoskeletal  no  joint  deformities

Neurological  :  good  consciousness, muscle  power  good

Abdomen : mild  tenderness  at  LLQ , no  guarding & rigidity 

Anus and Rectum :  ไม่ได้ตรวจ

 

  1. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ / การตรวจพิเศษ ( Laboratory data )  

ผลตรวจ  Urine  Analysis

–   WBC      10-20  cells/HPF

–   Squamous  epithelial  cell   1-2   cells/HPF

–   Bacteria     numerous

 

Assessment

 

  1. สรุปปัญหา ( problem list  )
  2. ปัสสาวะบ่อย แสบขัด
  3. ปวดท้องน้อย

 

การวินิจฉัยแยกโรค (Differential Diagnosis)

จากอาการ อาการแสดง การตรวจร่างกายและการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ทำให้คิดถึงโรค ต่อไปนี้ ซึ่งจำเป็นต้องวินิจฉัยจำแนก (Differential Diagnosis) ได้แก่

  1. Cystitis (กระเพาะปัสสาวะอักเสบ)

เกิดจากเชื้อแบคทีเรียโดยเข้าไปทางท่อปัสสาวะ  พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายเนื่องจากท่อปัสสาวะสั้นและอยู่ใกล้ทวารหนัก  อาการมีปัสสาวะกะปริบกะปรอย  ปวดขัดหรือแสบร้อนเวลาถ่ายปัสสาวะ  อาจมีอาการปวดท้องน้อยร่วมด้วย  ปัสสาวะกลิ่นเหม็น  สีใส บางครั้งอาจขุ่น

พยาธิสรีรวิทยา

เมื่อเกิดการติดเชื้อขึ้น  จะมีการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะเฉพาะชั้น  มิวโคซา  และสับมิวโคซา เท่านั้น  เนื้อเยื่อชั้นมิวโคซาจะบวมแดงทั่วไปหรืบวมเป็นหย่อมๆ  บางแห่งอาจมีเลือดออกชั้นมิวโคซาและสับมิวโคซา  เนื่องจากการฉีกขาดของเนื้อเยื่อที่ขยายตัวมากเมื่อมีการบวมถ้ามีการอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะส่วนล่างร่วมด้วย  และไม่ได้รับการบำบัด  จะทำให้มีการลุกลามไปถึงกล้ามเนื้อรอบๆกระเพาะปัสสาวะด้านนอก  มีพังผืดเกิดขึ้น  ทำให้กระเพาะปัสสาวะหดเล็กลง  ความจุของกระเพาะปัสสาวะก็จะเล็กลงด้วย

 

อาการและอาการแสดง

ประมาณร้อยละ  10  ไม่มีอาการแสดง  ส่วนมากจะมีอาการปัสสาวะลำบาก  ปัสสาวะแสบขัด  ปัสสาวะบ่อยแต่ออกกะปริดกะปรอย  ปวดท้องน้อย  สีของปัสสาวะขุ่น  มีเลือดปน  มีกลิ่นเหม็น  ผู้ป่วยอาจมีไข้หรือไม่มีไข้ก็ได้

ผู้ป่วยรายนี้มาด้วยอาการปัสสาวะ  กะปริดกะปรอย แต่ไม่มีอาการปัสสาวะสะดุด มีอาการปวดแสบเวลาสุด  ไม่มีไข้  มีอาการปวดท้องน้อยเล็กน้อยผล U/A  WBC = 10-20  cells/HPF จึงน่าจะเป็น    Cystitis (กระเพาะปัสสาวะอักเสบ) มากที่สุด

 

  1. 2. Urethral stricture  (ท่อปัสสาวะตีบ)

มีสาเหตุจากการได้รับบาดเจ็บที่ท่อปัสสาวะ  หรือจากการติดเชื้อ  ทำให้ท่อปัสสาวะมีการอักเสบและกลายเป็นแผลเป็น  จนทำให้ท่อปัสสาวะตีบ  ผู้ป่วยมีอาการปัสสาวะลำบาก  ออกทีละน้อย  ออกเป็นหยด  หรือถ่ายไม่ออกเลย  ส่วนมากเกิดในผู้ชาย

ผู้ป่วยรายนี้มาด้วยอาการปัสสาวะบ่อย  กระปริดกระปรอย  ปวดแสบเวลาสุด  จึงไม่นึกถึงโรคนี้

 

  1. Vesicular stone ( นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ )

พบบ่อยในคนทุกอายุ จำแนกเป็นสาเหตุภายในและภายนอกร่างกาย

  1. สาเหตุภายในได้แก่  พันธุกรรม  ร่างกายสร้างกรดยูริคมากกว่าปกติ  หรือบริโภคอาหารที่มี

พิวรีนมาก  ภาวะที่ร่างกายขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะมากผิดปกติ  โรคเก๊าท์  โรคที่เกิดจากการอักเสบติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ   ภาวะที่ร่างกายไดรับเคมีบำบัด

  1. สาเหตุภายนอกได้แก่  อาหารที่ขาดสารโปรตีน  ขาดตัวยับยั้งการเกิดนิ่วเช่น  ซิเตรท  ไพโรฟอสเฟต   การดื่มน้ำน้อย

อาการ  

ปัสสาวะครั้งแรกพุ่งแรง  ยังไม่ทันสุด  สายปัสสาวะก็หยุดชะงักทันที  มีอาการปวดร้าวไปที่หัว-

เหน่าอย่างมาก  ปวดร้าวไปยังเรคตัม  ฝีเย็บ  นอกจากนี้ยังมีอาการปัสสาวะบ่อยเพราะมีการรบกวนโดยก้อนนิ่ว

ผู้ป่วยรายนี้มาด้วยอาการปัสสาวะบ่อย  กระปริดกระปรอย แต่ไม่มีอาการปัสสาวะสะดุด ปวดแสบเวลาสุด  จึงไม่นึกถึงโรคนี้

 

  1. Pelvic Inflammatory  Disease ( PID )

คือการอักเสบติดเชื้อของเยื่อบุโพรงมดลูก  ท่อนำไข่พารามีเตรียม เยื่อบุช่องท้องเส้นอุ้งเชิงกราน  และอวัยวะที่ติดอยู่กับอวัยวะสืบพันธุ์ภายใน  ตลอดจนลำไส้ใหญ่ส่วน  rectum, cecum,sigmoid  พบได้ในระยะเฉียบพลันและเรื้อรัง

สาเหตุ  ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผ่านช่องคลอด  เข้าไปทางปากมดลูกขึ้นไปในโพรงมดลูก  ทำให้มดลูกอักเสบและลุกลามไปในท่อรังไข่ ทำให้กลายเป็นปีกมดลูกอักเสบ ส่วนใหญ่พบในหญิงวัยเจริญพันธุ์  15 – 45  ปี

อาการและอาการแสดง  ในรายที่เป็นเฉียบพลัน  จะมีอาการไข้สูงหนาวสั่น  ปวดท้องน้อยเฉียบพลัน  เจ็บบริเวณปีกมดลูกทั้งสองข้าง  แต่อาจเป็นข้างเดียวก็ได้  จะมีอาการปวดมากเวลาเคลื่อนไหว  ผู้ป่วยมักจะนอนในท่าชันเข่า  มักมีอาการคลื่นไส้อาเจียน  และท้องเสียร่วมด้วย  อาจมีปัสสาวะขัด  ตกขาวมีกลิ่นเหม็น  และมีเลือดปนหนองออกทางช่องคลอดได้  กรณีเป็นเรื้อรัง  อาจมีอาการปวดหน่วงท้องน้อย  เป็นๆหายๆเรื้อรัง  อาจมีไข้ต่ำๆหรือไม่มีไข้ได้

สำหรับผู้ป่วยรายนี้ มาด้วยอาการปวดท้องน้อยด้านเดียวคือด้านซ้าย  ปัสสาวะแสบขัด  ไม่มีไข้  ไม่มีคลื่นไส้อาเจียน  และไม่มีตกขาว  จึงไม่น่าจะเป็นโรคนี้

 

 

Impression/ Diagnosis

  Cystitis

 

Discussion

1.ปัสสาวะบ่อย  แสบขัด ปวดท้องน้อย

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ส่วนมากเกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดเดียวกับที่อยู่ในลำไส้ของคน
เราโดยเข้าไปทางท่อปัสสาวะ โรคนี้พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายหลายเท่า เนื่องจากท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้น และอยู่ใกล้ทวารหนักซึ่งเป็นแหล่งที่มีเชื้อโรคมาก เชื้อโรคจึงเข้าทางท่อปัสสาวะของผู้หญิงได้ง่ายกว่าผู้ชาย
ผู้หญิงแทบทุกคนมีโอกาสเป็นโรคนี้ ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยสูงอายุ พบมากในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์(โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 2-3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์) หรือผู้หญิงที่ชอบอั้นปัสสาวะนาน ๆอาจพบเป็นโรคแทรกของผู้ป่วยเบาหวาน นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมากโต หรือพบภายหลังการสวนปัสสาวะ ผู้หญิงที่แต่งงานใหม่ หรือหลังร่วมเพศ อาจมีอาการขัดเบาแบบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ แพทย์เรียกว่า โรค ฮันนีมูน (Honeymoon’s cystitis) สาเหตุเกิดจากการฟกช้ำจากการร่วมเพศ แล้วทำให้มีอาการอักเสบของท่อปัสาวะ ผู้ชายมีโอกาสเป็นโรคนี้น้อยมาก ถ้าพบมักมีความผิดปกติอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น ต่อมลูกหมากโตหรือมีก้อนเนื้องอกในกระเพาะปัสสาวะ หรือมีความผิดปกติทาง โครงสร้างของทางเดินปัสสาวะ

กระเพาะปัสสาวะอักเสบเป็นได้ทุกวัย ส่วนใหญ่จะเกิดเฉพาะเพศหญิง เกิดจากการกลั้นปัสสาวะ ปวดปัสสาวะแล้วไม่สามารถเข้าห้องน้ำได้ ทำให้แบคทีเรียเอาชนะกลไกการป้องกันเชื้อโรคบริเวณเยื่อบุผิวของกระเพาะปัสสาวะ คือการปริแตกของสารที่ชื่อว่า Glycoaminoglycan (GAG ) และเชื้อส่วนใหญ่ คือเชื้อ E.coli ชนิดเดียวกับที่พบในระบบทางเดินอาหาร  เดินทางจากทวารหนักเข้าสู่ท่อปัสสาวะ ท่อปัสสาวะในผู้หญิงมีความยาวเพียง 4 ซม. จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมจึงไม่พบโรคนี้ในเพศชาย หรืออาจพบได้ในคนที่มีลักษณะนิสัยชอบดื่มน้ำน้อย ทำให้ระยะเวลาในการปวดปัสสาวะห่างขึ้น แบคทีเรียจึงมีเวลาในการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนขึ้น มีมากพอที่จะก่อโรคได้ ทำให้เกิดอาการแสบขัดในเวลาปัสสาวะ และมีการปัสสาวะบ่อยมากกว่าปกติ ซึ่งเป็นกลไกธรรมชาติของร่างกายในการขับเอาเชื้อโรคที่มีอยู่ในระบบทางเดินปัสสาวะ

 

Plan

  1. การวางแผนเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรค ( Diagnostic plan )

  1. การวางแผนเพื่อการรักษา ( Therapeutic plan )

–  Norfloxacin  400  mg.  1×2  จำนวน  3 วัน  เพื่อรักษาการติดเชื้อ  ใช้เวลาสั้นเพื่อไม่ให้ยากด normal   Flora  ของผู้ป่วย

–  Paracetamol  500 mg  1 tab. prn.

– Hyoscine 1×3 ๏ tid pc.

  1. การวางแผนเพื่อให้ความรู้และข้อมูลในการดูแลสุขภาพ ( Educational plan )

–     แนะนำให้ดื่มน้ำต้มสุก  > 3000 cc/day

–    ให้ความรู้เรื่องโรคและอาการแสดงของโรค

–     ควรถ่ายปัสสาวะทันทีเมื่อปวด  เพื่อจะได้มีแบคทีเรียในปัสสาวะลดลง

–     หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำชา  กาแฟ  โกโก้  น้ำอัดลม  เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์  เพราะสารในเครื่อง

ดื่มเหล่านี้จะกระคุ้นให้ปัสสาวะบ่อยขึ้น

  • แนะนำวิธีป้องกันไม่ให้เป็นซ้ำอีกโดยการทำความสะอาดก้นหลังถ่ายอุจจาระควรเช็ดด้านหน้าไปด้านหลัง ไม่ใช้  bubble  bath  ให้ระคายเคือง    vagina  และฝีเย็บ  หลีกเลี่ยงการสวมใส่ชุดชั้นในที่ทำจากไนล่อน  เพื่อไม่ให้ก้น อบ  และเกิดความชื้น  ควรสวมใส่เสื้อผ้าหลวมๆ

 

4. การวางแผนเพื่อติดตามการรักษาและการส่งต่อ ( Follow up /  Referral  plan )

นัด  Follow  up  3  วัน  เพื่อติดตามการรักษา  และการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย

 

 

การค้นคว้ายา

Norfloxacin

 

รูปแบบ                                  ยาเม็ดขนาด  100,200  และ  400  มก.

 

กลไกการออกฤทธิ์              ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย  โดยยาจะยับยั้งเอนไซม์  DNA  gyrase  ทำให้มีผลต่อการแบ่งตัวของ  DNA  ยามีผลทำลายเชื้อในทางเดินปัสสาวะ  และมีผลทำลายเชื้อแกรมบวก  เช่น  เชื้อ  Mycoplasma,  legionella  และ  Mycrobacterium  แต่ไม่ค่อยได้ผลในการทำลายเชื้อ  Pseudomonas  ยากลุ่มนี้ดูดซึมได้ดีเมื่อให้โดยวิธีรับประทาน  ยาสามารถกระจายได้ดีในเนื้อเยื่อต่างๆ  ทั่วร่างกาย  ยาบางส่วนถูกขับออกทางไต  ในสภาพที่ยังมีฤทธิ์  แต่บางส่วนจะถูกทำลายโดยตับ

ข้อบ่งใช้                               1.รักษาโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ

2.รักษาโรคหนองในและแผลริมอ่อน

3.รักษาโรคติดเชื้อในทางเดินอาหาร  เช่น  อุจจาระร่วง

 

ขนาดและวิธีใช้                   1.รักษาโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะชนิดเฉียบพลัน  และไม่มีภาวะแทรกซ้อน  ให้ขนาด  200 –  400  มก. วันละ  2  ครั้ง  เป็นเวลา  7 – 10  วัน

2.การรักษาโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะชนิดเรื้อรัง  หรือเป็นๆ หายๆ  หรือมีภาวะแทรกซ้อน  ให้ขนาด  400  มก.  วันละ  2  ครั้ง  เป็นเวลา  10 – 21  วัน  ยานี้ควรให้  1  ชั่วโมง  ก่อนอาหาร  หรือ  2  ชั่วโมงหลังอาหาร  และควรลดขนาดยาลงครึ่งหนึ่งในผู้ป่วยที่เป็นโรคไตอย่างรุนแรง

3.การรักษาโรคหนองในชนิดไม่มีภาวะแทรกซ้อนและแผลริมอ่อน  ให้ขนาด  800  มก. เพียงครั้งเดียว

4.การรักษาโรคติดเชื้อทางเดินอาหาร  ให้ขนาด  400  มก.  วันละ  2  ครั้ง  เป็นเวลา  3 – 5  วัน

 

ฤทธิ์ข้างเคียงและอาการไม่พึงประสงค์         กล้ามเนื้ออ่อนแรง  คลื่นไส้  อาเจียน  ปวดศีรษะ  เวียนศีรษะ  และทำให้เกิดความผิดปกติในการเจริญเติบโตของกระดูก  ดังนั้น  จึงไม่ควรใช้ในเด็กที่ยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่

 

ข้อควรระวัง                         ไม่ควรใช้ยานี้กับเด็ก  หญิงมีครรภ์  หญิงให้นมบุตร  ผู้ป่วยโรคลมชัก  ผู้ป่วยโรคตับและผู้ป่วยโรคไต

 

ปฏิกิริยาต่อกันระหว่างยา                

1.การให้ร่วมกับยาลดกรดในกระเพาะอาหาร  จะทำให้การดูดซึมของ  Norfloxacin ลดลง

2.การให้  probenecid  ร่วมกับ  Norfloxacin  จะทำให้การขจัดยา  Norfloxacin  ลดลงครึ่งหนึ่ง

3.มีรายงานว่าการให้  Theophyline, Phenytoin  ร่วมกับ  Norfloxacin  จะทำให้ความเข้มข้นของ  Theophyline, Phenytoin  ในเลือดสูงขึ้น  จึงควรระวังเมื่อให้ร่วมกัน

 

Paracetamol

 

รูปแบบ                                  1. ยาเม็ด  325  มก., 500 มก.

  1. ยาน้ำเชื่อม 120 มก./ 5 มล.
  2. ยาฉีด 300  มก. / 2 มล.

 

การออกฤทธิ์                         ตำแหน่งและกลไกการออกฤทธิ์ระงับปวดยังไม่ทราบแน่ชัด  แต่ลดไข้โดยไปออกฤทธิ์โดยตรงต่อศูนย์ควบคุมความร้อนในHypothalamus ทำให้ขยายหลอดเลือดที่ผิวหนัง และขับเหงื่อ  ซึ่งมีผลเพิ่มการระบายความร้อนออกจากร่างกาย  และมีฤทธิ์ยับยั้งฤทธิ์ของ  Endogenous pyrogen ที่ศูนย์ควบคุมความร้อนด้วย

 

ผลข้างเคียง                         ไม่มีอาการข้างเคียงหรืออาการพิษที่รุนแรง  อาจมีอาการผื่นขึ้น  และมีอาการแพ้ได้บ้าง  แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจเกิดภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ  เกร็ดเลือดต่ำ  หรือเกิดภาวะขาดเม็ดเลือดทุกชนิด  อาการพิษจะเกิดขึ้นเมื่อได้รับยาเกินขนาด  โดยมีความสัมพันธ์กับขนาดยาที่ได้รับ  อาจทำให้ถึงแก่ชีวิต  เนื่องจากตับถูกทำลาย  มีผลทำลายไต  และทำให้เกิดโคม่าเนื่องจากน้ำตาลในเลือดต่ำ  อาการพิษต่อตับจะเกิดขึ้น  เมื่อได้รับยาครั้งเดียว   10 – 15 กรัม ในขนาด 20 – 25 กรัม หรือมากกว่า ทำให้ถึงตายได้ อาการพิษเริ่มต้นภายในเวลา 24 ชม. โดยมีอาการคลื่นไส้  อาเจียน  ปวดเกร็งกล้ามเนื้อท้อง ท้องเดิน

 

ข้อควรระวัง                         1. ไม่ควรใช้ยาเกินขนาดและวิธีใช้รักษา หรือใช้ยาติดต่อกันนานเกิน 10 วัน

  1. ควรใช้ยาอย่างระมัดระวังในผู้ป่วยโรคตับ หรือไตทำงานไม่ปกติ
  2. ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่แพ้ยานี้

 

Hyoscine [butylbromide]

ชื่อสามัญ  Hyoscine [butylbromide]
รูปแบบยา  ยาฉีด 20 มิลลิกรัม/1 มิลลิลิตร, ยาเม็ด 10 มิลลิกรัม/เม็ด, ยาน้ำ 5mg/5ml.
ยานี้ใช้สำหรับ

  1. ยานี้ใช้บรรเทาอาการปวดเกร็งช่องท้อง ซึ่งมีสาเหตุจากการหดเกร็งกล้ามเนื้อที่บริเวณกระเพาะอาหารหรือกระเพาะปัสสาวะ
  2. ยานี้ใช้รักษากลุ่มอาการลำไส้แปรปรวน (Irritable bowel syndrome: IBS)
  3. ยานี้ใช้เพื่อลดการหลั่งของเหลวในปอด

วิธีใช้ยา

  1. ยานี้อยู่ในรูปแบบยาเม็ด ใช้สำหรับรับประทาน โดยให้ใช้ยานี้ตามวิธีใช้ที่ระบุบนฉลากยาอย่างเคร่งครัด โดยห้ามใช้ยาในขนาดที่มากหรือน้อยกว่าที่ระบุ และหากมีข้อสงสัยให้สอบถามแพทย์หรือเภสัชกร
  2. ให้กลืนยาทั้งเม็ด ห้ามบดหรือเคี้ยวเม็ดยา
    สิ่งที่ควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทราบ

1.การแพ้ยาไฮออสซีน (Hyoscine) หรือแพ้ยาอื่นๆ

  1. ยาอื่นๆ ทั้งยาที่แพทย์สั่งจ่ายและยาที่ใช้เอง วิตามิน อาหารเสริม และยาสมุนไพรที่ท่านใช้อยู่ในขณะนี้หรือกำลังจะใช้
  2. มีหรือเคยมีภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ หรืออุณหภูมิในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น
  3. การตั้งครรภ์ การวางแผนในการตั้งครรภ์ หรือการให้นมบุตร
  4. มีหรือเคยมีประวัติโรคตับ โรคไต โรค Porphyria (โรคเลือดชนิดหนึ่ง) โรคลมชัก โรคต้อหิน โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ( Myasthenia gravis) โรคกระเพาะอาหาร หรือ ต่อมลูกหมากโต
    อาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา
    1) อาการอันไม่พึงประสงค์ที่ต้องแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทันที
    มีดังนี้ ปวดตา ตาแดง หรือการมองเห็นผิดปกติ หัวใจเต้นเร็ว หรือช้าผิดปกติ ถ่ายปัสสาวะลำบาก หรือเจ็บเมื่อถ่ายปัสสาวะ

2) อาการอันไม่พึงประสงค์อื่นที่อาจเกิดระหว่างใช้ยา หากเป็นต่อเนื่อง หรือ รบกวนชีวิตประจำวัน ให้ แจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทราบ
มีดังนี้ ปากแห้ง ผิวแห้ง ท้องผูก ตาสู้แสงไม่ได้

 

บรรณานุกรม

 

โครงการสวัสดิการ  สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข. (2541). การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุเล่ม 1.  นนทบุรี:  บริษัท  ยุทธรินทร์ การพิมพ์ จำกัด.

 

บัญชา สถิระพจน์, ประเจษฎ์ เรืองกาญจนเศรษฐ์, อินทรีย์ กาญจนกูล, อำนาจ ชัยประเสริฐ, อุปถัมภ์

ศุภสินธิ์ และพรรณบุปผา ชูวิเชียร. (2555). ESENTAL NEPHROLOGY. กรุงเทพฯ: นำอักษร การพิมพ์.

 

อมร เปรมกมล. (2554). อีสานรวมมิตร ระบาดวิทยาและการควบคุมโรค. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

 

พงศธร คชเสนี, ธนันดา ตระการวนิช, สิริภา ช้างศิริกุลชัย และทวีพงษ์ ปาจรีย์. (2555). Nephrology Board Review 2012. กรุงเทพฯ: เท็กซ์แอนด์เจอร์นอล พับลิเคชั่น จำกัด.

 

จำนง นพรัตน์. (2555). ระบบขับถ่ายปัสสาวะและการตรวจปัสสาวะ. สงขลา: คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

 

ธิดา นสานนท์, ปรีชา มนทกานติกุล และสุวัฒนา จุฬาวัฒนทล. (2552). คู่มือการใช้ยาสำหรับบุคลากรสาธารณสุข. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: บริษัท ประชาชน จำกัด.

 

สุรเกียรติ  อาชานานุภาพ. (2553). ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 1. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี

กรุงเทพฯ.

 

สุรเกียรติ  อาชานานุภาพ. (2553). ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 2. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี

กรุงเทพฯ.

 

ดูพี่จา พนม พูดภาษาอังกฤษแล้ว ผมนี่ลุกขึ้นยืนปรบมือให้เลย

หลังจากดูคลิปนี้แล้ว และดูการให้สัมภาษณ์ของพี่จา พนม ทำให้ผมยิ้มได้และทำให้ผมรู้ว่า ภาษาอังกฤษนั้นไม่ยากถ้าเราตั้งใจที่จะเรียนรู้มัน ยิ่งกำลังฝึกลูกให้เป็นเด็ก 2 ภาษา ยิ่งมีฮึด สำเนียงอาจจะไม่ถูก แต่ผมก็กล้าที่จะสอนลูก สอนแบบสำเนียงไทยๆนี่แหละ

2015-04-03_104239

ถึงพูดไม่เก่ง แต่ก็มั่นใจ ความมั่นใจ มาเป็นอันดับแรก เดี๋ยวฝรั่งเค้าก็พยายามฟังที่เราพูดแล้วเค้าก็เข้าใจเอง แค่เราพูดได้นิดหน่อย เค้าก็ถือว่าเราให้เกียรติ ในการพูดภาษาเค้าแล้ว เพราะฝรั่งส่วนใหญ่เค้าพูดภาษาเราไม่ได้ด้วยซ้ำ

 

และในบทความนี้ผมจะพาไปดูการให้สัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษของ Tony Jaa (ทัชชกร ยีรัมย์) หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ “จา พนมด้วยความมั่นใจในการพูดที่เต็มร้อยของพี่จา น่าจะทำให้เพื่อนๆมีกำลังใจในการพูดภาษาอังกฤษเพิ่มมากขึ้นนะครับ

ผมคิดว่าพูดไปเหอะครับ ฝรั่งเขาไม่ได้ขำ broken english ของเราเหมือนคนไทย ที่ขำคนต่างชาติที่หัดพูดไท

ดูถูกคนไทยที่พูดสำเนียงฝรั่ง ดูถูกคนไทยที่ใช้ภาษาอังกฤษผิดๆ ถูกๆ

แต่ฝรั่งเค้าไม่คิดอะไรเลยจริงๆ พูดไปเถอะครับ ขอเป็นกำลังใจให้คนที่กำลังฝึกพูดภาษาอังกฤษนะครับ

Diarrhea ต่างจาก gastroenteritis อย่างไร ที่นี่มีคำตอบ.

หลายท่านเคยสงสัยบ้างไหมครับว่า ท้องร่วงกับลำไส้อักเสบมันแตกต่างกันอย่างไร ทั้งๆที่อาการก็คือถ่ายเหลวเหมือนกัน นั่นสิครับ วันนี้ผมจึงไปหาคำตอบมาให้diarrhea1

องคการอนามัยโลกไดกําหนดคําจํากัดความของ “โรคอุจจาระรวง” วาเปนภาวะที่มีการถาย อุจจาระมากกวาหรือเทากับ 3 ครั้ง/วัน หรือถายเปนมูกเลือดอยางนอย 1 ครั้ง/วัน หรือถายเปนน้ํามาก ๆ เพียง ครั้งเดียว/วัน

images

Diarrhea หรือท้องร่วง เป็นลักษณะของกลุ่มอาการท้องร่วง เกิดจากได้หลายสาเหตุ ซึ่งยังไม่ใช่โรค อาจเกิดจากการติดเชื้อหรือไม่ใช่การติดเชื้อก็ได้ มีคำจำกัดความคือถ่ายเหลวเปนน้ำมากกว่า 3 ครั้งหรือถ่ายเปนมูกเลือด 1 คร้ังต่อวัน

diarrhea

Gastroenteritis หรือลำไส้อักเสบบางคนเรียกไวรัสลงกระเพาะ เป็นชื่อโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสซะส่วนใหญ่(โรต้าไวรัส) ทำให้ปวดท้องถ่ายเหลวเปนน้ำอาเจียนพบบ่อยในเด็กเล็กๆ

เป็นอย่างไรบ้างครับ พอจะทำให้กระจ่างขึ้นนิดนึงเนาะ อันนี้ผมก็ไม่ใช่แพทย์นะ หวังแค่ว่าจะเป็นประโยชน์กับคนที่กำลังหาคำตอบไม่มากก็น้อย ขอบคุณครับ