สุขภาพ » การเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันและแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก 2556

การเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันและแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก 2556

27 มีนาคม 2013
3240   0

การเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันและแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก 2556

“รู้ก่อน รู้ทัน ป้องกันได้”หากเราช่วยกันรวมพลังเร่งรัดกำจัดลูกน้ำ ในช่วงนาทีทอง (ก.พ. – มิ.ย. 56)

ป่วยแล้วเราจะรับไม่ไหว จะจัดการไม่ได้ ดังนั้นเรามี นาทีทอง ไม่กี่เดือน (2 – 3เดือน คือระหว่างกุมภาพันธ์ – มิถุนายน 2556) ที่จะช่วยกันกำจัดลูกน้ำ เพื่อลดยุง  ให้มากที่สุด หากเราทำได้อย่างเต็มที่ ต่อเนื่อง จริงจัง ก็จะสามารถลดจำนวนผู้ป่วยลงได้ครึ่งต่อครึ่งเลยทีเดียว

ยุง

ยุงลายเป็นยุงสะอาดไข่ในน้ำนิ่งใส ไม่ไข่ในน้ำเน่าเสียหรือท่อระบายน้ำ ซึ่งที่เหล่านั้นเป็นที่เพาะพันธุ์ของยุงรำคาญไม่นำโรคไข้เลือดออก ยุงลายไม่ได้ไข่ในน้ำโดยตรงแต่จะไข่เหนือระดับน้ำ 1-2 เซนติเมตร เมื่อมีน้ำมาเติมท่วมจึงจะแตกตัวเป็นไข่ เป็นลูกน้ำและเป็นยุงลายตัวเต็มวัยต่อไป ใช้เวลาทั้งหมด 7-10 วัน ฉะนั้น จำเป็นต้องรณรงค์กำจัดลูกน้ำทุกสัปดาห์เพื่อตัดวงจรการเกิดยุง

วงจร ยุงลาย

กิจกรรม 5ป. 1ข. คือ “เปลี่ยน-ปิด-ปล่อย-ปรับปรุง-ปฏิบัติเป็นประจำ” และ 1 ข. ขัดไข่ยุงลาย” ซึ่ง 5 ป.ประกอบด้วย ป. ปราบยุงลาย ปิด ปิดภาชนะน้ำกินน้ำใช้ให้มิดชิดหลังการตักใช้น้ำทุกครั้งเพื่อป้องกันยุงลายลงไปวางไข่ , เปลี่ยน เปลี่ยนน้ำในแจกัน ถังเก็บน้ำ ทุก 7 วัน เพื่อตัดวงจรลูกน้ำที่จะกลายเป็นยุง, ปล่อย ปล่อยปลากินลูกน้ำในภาชนะใส่น้ำถาวร เช่น อ่างบัว ถังซีเมนต์เก็บน้ำขนาดใหญ่ , ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ปลอดโปร่ง โล่ง สะอาด ลมพัดผ่าน ไม่เป็นที่เกาะพักของยุงลาย และปฏิบัติเป็นประจำจนเป็นนิสัย ไข่ยุงลาย

ส่วน 1 ข. ขัดไข่ยุงลาย เนื่องจากยุงลายจะไข่เหนือระดับน้ำ 1-2 เซนติเมตร เมื่อมีน้ำมาเติมจนท่วมหลังไข่ จะฟักตัวเป็นลูกน้ำ แต่หากไม่มีน้ำมาเติมจนท่วมก็จะแห้งติดผนังภาชนะอย่างนั้น เมื่อมีน้ำมาท่วมเมื่อใด ไข่ก็พร้อมแตกตัวเป็นลูกน้ำภายใน 30 นาที ซึ่งยุงตัวเมีย 1 ตัวไข่ครั้งละ 50-150 ฟอง 4-6 ครั้ง ในช่วงชีวิตประมาณ 60 วันของยุง ฉะนั้น ยุงตัวหนึ่งจะมีลูกได้ราว 500 ตัว จึงจำเป็นต้องมีการขัดไข่ยุงลายในภาชนะด้วย โดยใช้ใยขัดล้าง หรือแปรงชนิดนุ่มช่วยในการขัดล้าง และทิ้งน้ำที่ขัดล้างนั้นบนพื้นดินเพื่อให้ไข่แห้งตายไปไม่ควรทิ้งลงท่อระบายน้ำ ซึ่งอาจจะเป็นแหล่งน้ำใสนิ่งทำให้ไข่บางส่วนรอดและเจริญเป็นลูกน้ำและยุงลายได้อีก

เมื่อเกิดไข้เลือดออกขึ้น เราคิดถึงอะไร เราทุกคนต้องคิดถึงยุง การควบคุม ป้องกันไข้เลือดออกเราต้องตั้งเป้าที่ยุงต้องถือว่ายุงเป็นศัตรูหลักที่สำคัญในการทำให้เกิดโรคไข้เลือดออก เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ของยุงกับการเกิดโรคไข้เลือดออก ความชุกชุมของยุงโดยเฉลี่ยจะใกล้เคียงกับการระบาดของโรค แต่ยุงจะนำมาก่อน มาเร็วกว่าการระบาด   ของโรค ๑ เดือน เราสามารถจัดการยุงได้ดีกว่า หากเรารอเวลาจนมีผู้ป่วยแล้วเราจะรับไม่ไหว จะจัดการไม่ได้ ดังนั้นเรามี นาทีทอง ไม่กี่เดือน (๒ – ๓ เดือน คือระหว่างกุมภาพันธ์ – มิถุนายน ๒๕๕๖) ที่จะช่วยกันกำจัดลูกน้ำ เพื่อลดยุง  ให้มากที่สุด หากเราทำได้อย่างเต็มที่ ต่อเนื่อง จริงจัง เราจะลดผู้ป่วยที่คาดว่าจะมากกว่าแสนได้ถึงครึ่งหนึ่งเลยทีเดียวไข่ยุงลาย

หากไม่มีการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันโรคอย่างเข้มแข็งเพียงพอในทุกระดับ อาจทำให้เกิดภาวะภัยพิบัติจากการระบาดของโรคไข้เลือดออกที่จะพบผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นทั่วประเทศ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขจะนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อกำหนดให้การป้องกันและแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกเป็นวาระแห่งชาติ ในวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๕๖      ดังนั้นเราจำเป็นต้องดำเนินการรวมพลังเร่งรัดกำจัดลูกน้ำ ในช่วงนาทีทอง ก่อนการระบาด ตั้งแต่ช่วงนี้เป็นต้นไปโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน เพราะการดำเนินการที่ทำได้ดีที่สุด คือ ทำในชุมชน และคนที่จะทำได้ คือ บ้านใคร บ้านคนนั้น   เราต้องทำเอง” ไม่ใช่ให้ อสม.ไปคว่ำไปคลอกโอ่งน้ำให้ทุกหลังคาเรือน

 

 

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

www.nakhu.com แหล่งชุมนุมของคนชอบเที่ยว โดยรูปภาพและบทความที่จัดทำขึ้นทั้งหมดในเว็บไซต์ขอสงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย ห้ามผู้ใดทำซ้ำหรือเผยแพร่เชิงพาณิชย์ในทุกสื่อ ไม่ว่าจะเป็นบางส่วนหรือทั้งหมดโดยไม่ได้รับอนุญาต